การจากไปไม่ใช่เรื่องน่ากลัว คนเป็นต่างหากที่ต้องปฏิบัติให้ถูก!! เผยบทความอาจารย์แพทย์ศิริราช ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ข้อควรทำในวาระสุดท้าย
เรื่องนี้หลายคนอาจจะเคยได้อ่านผ่านหูผ่านตากันมาบ้างแล้ว สำหรับบทความของ อาจารย์สุมาลี ซึ่งเป็นอาจารย์แพทย์ศิริราช ที่ได้เสียชีวิตอย่างสงบไปหลายปีแล้ว แต่คุณงามความดี เกียรติประวัติพร้อมชื่อเสียงก็ไม่ได้เลือนหายไปตามร่างกาย เพราะได้ทิ้งสมบัติล้ำค้าคือความรู้ สติให้กับคนรุ่นหลัง โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ Namo Phonganank Khaophaug ได้นำบทความของอาจารย์สุมาลีมาเผยแพร่อีกครั้งระบุว่า...
อาจารย์สุมาลีเป็นอาจารย์แพทย์ศิริราชที่มีความสามารถและมีความรู้สูงมาก น่าเสียดายอายุสั้น.......อาจารย์เสียชีวิตไปหลายปีแล้วอย่างสงบจริง ๆตอนจากไปอาจารย์ยังได้เป็นตัวอย่างและสอนเรื่องสุดท้ายเพื่อเป็นวิธีจากโลกไปอย่างสงบ....."ร่างกาย และ จิตใจ ในภาวะใกล้ตาย"
"ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย" เมื่อใกล้ตาย ความอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่ควรยอมรับ ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ สำหรับความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น เพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี ควรให้ผู้ป่วยในระยะนี้ได้พักผ่อนให้เต็มที่ คนใกล้ตาย จะเบื่ออาหาร และกินอาหารน้อยลง จากการศึกษาพบว่า ความเบื่ออาหารที่เกิดขึ้นเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เพราะทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น สารคีโตนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น และบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ คนใกล้ตาย จะดื่มน้ำน้อยลง หรืองดดื่มเลย ภาวะขาดน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อใกล้ตายไม่ทำให้ผู้ป่วยทรมานมากขึ้น ตรงกันข้ามกลับกระตุ้น ให้มีการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้น
หากปาก ริมฝีปากแห้ง จมูกแห้ง และตาแห้ง ให้หมั่นทำความสะอาด และรักษาความชื้นไว้ โดยอาจใช้สำลีหรือผ้าสะอาดชุบน้ำแตะที่ปากริมฝีปาก หรือใช้สีผึ้งทาริมฝีปาก สำหรับตาก็ให้หยอดน้ำตาเทียม คนใกล้ตาย จะรู้สึกง่วงและอาจนอนหลับตลอดเวลา ผู้ดูแลควรให้ผู้ป่วยหลับ ไม่ควรพยายามปลุกให้ตื่น
เมื่อคนใกล้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่ควรคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้ หรือได้ยินสิ่งที่มีคนพูดกันอยู่ข้างๆ เพราะเขาอาจจะยังได้ยินและรับรู้ได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ จึงไม่ควรพูดคุยกัน ในสิ่งที่จะทำให้เขาไม่สบายใจหรือเป็นกังวล การร้องครวญคราง หรือมีหน้าตาบิดเบี้ยวอาจไม่ได้เกิดความเจ็บปวดเสมอไป
แต่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ซึ่งแพทย์สามารถให้ยาระงับอาการเหล่านี้ได้ คนใกล้ตาย อาจมีเสมหะมาก ควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะ ซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานเพิ่มขึ้นด้วย (เฉพาะคนที่ใกล้ตายเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ป่วยอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ) "ความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ" โดยทั่วไปเมื่อกายป่วย ใจจะป่วยด้วยเสมอ ยิ่งคนที่ป่วยหนักใกล้ตายด้วยแล้ว ยิ่งต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่างมาก
สิ่งที่คนใกล้ตายกลัวที่สุด คือ การถูกทอดทิ้ง การอยู่โดดเดี่ยวและสิ่งที่คนใกล้ตายต้องการ คือ ใครสักคนที่เข้าใจ และอยู่ข้างๆ เขาเมื่อเขาต้องการ แต่ละคนก็อาจมีความรู้สึก และความต้องการต่างกันไป ฉะนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ก็ควรให้โอกาสคนใกล้ตาย ได้แสดงความรู้สึกและความต้องการ โดยการพูดคุยและเป็นผู้รับฟังที่ดี และควรปฏิบัติตามความต้องการของคนใกล้ตาย ซึ่ง หมายรวมถึง ความต้องการในด้านการรักษา ต้องประเมินก่อนว่าความต้องการนั้น เกิดจากการตัดสินใจบนพื้นฐานใด หากเป็นการตัดสินใจบนพื้นฐานของอารมณ์ไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง ก็ควรชะลอการปฏิบัติไว้ก่อน และควรให้การประคับประคองใจจนสบายใจขึ้น กับทั้งให้โอกาสผู้ใกล้ตาย เปลี่ยนความต้องการ และความตั้งใจได้เสมอ ความตายได้กลายเป็นปัญหาสังคมขึ้นแล้ว วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีด้านการแพทย์ ทำให้มนุษย์มีโอกาสตายตาม ธรรมชาติได้น้อยลง ความตายอย่างสงบจึงไม่เกิดขึ้น ไม่มีโอกาสได้ตายอย่างสงบที่บ้าน แต่ตายอย่างโดดเดี่ยวและทรมานในโรงพยาบาล โดยตายกับสายระโยงระยาง ที่เข้า-ออกจากร่างกาย และเครื่องมืออุปกรณ์ที่อยู่รอบตัว
Cr : ศ.พญ.สุมาลี นิมมานนิตย์
ขอบคุณ : Namo Phonganank Khaophaug
เรียบเรียงโดย
เมื่อคนใกล้ตายไม่รู้สึกตัว ไม่ควรคิดว่าเขาไม่สามารถรับรู้ หรือได้ยินสิ่งที่มีคนพูดกันอยู่ข้างๆ เพราะเขาอาจจะยังได้ยินและรับรู้ได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารให้ผู้อื่นทราบได้ จึงไม่ควรพูดคุยกัน ในสิ่งที่จะทำให้เขาไม่สบายใจหรือเป็นกังวล การร้องครวญคราง หรือมีหน้าตาบิดเบี้ยวอาจไม่ได้เกิดความเจ็บปวดเสมอไป
แต่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ซึ่งแพทย์สามารถให้ยาระงับอาการเหล่านี้ได้ คนใกล้ตาย อาจมีเสมหะมาก ควรให้ยาลดเสมหะแทนการดูดเสมหะ ซึ่งนอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกทรมานเพิ่มขึ้นด้วย (เฉพาะคนที่ใกล้ตายเท่านั้น ไม่รวมถึงผู้ป่วยอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูดเสมหะ) "ความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ" โดยทั่วไปเมื่อกายป่วย ใจจะป่วยด้วยเสมอ ยิ่งคนที่ป่วยหนักใกล้ตายด้วยแล้ว ยิ่งต้องการการดูแลประคับประคองใจอย่างมาก
Cr : ศ.พญ.สุมาลี นิมมานนิตย์
เรียบเรียงโดย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น