วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565

อยู่กับ " ความรู้สึกตัว " ความหลงไม่มี

เราจะไปหาธรรมะ 
จะไปหานอกตัวเรา ก็เลย..ไม่รู้ของจริง

หลวงพ่อรู้อันนี้ พอรู้อันนี้

เราก็มาอยู่กับ " ความรู้สึกตัว " อันนี้

แต่.." ตัวคิด ..อยู่กับมันไม่ได้ "

มันเป็น..ภัยแก่เรา
ความคิด นี่ มัน...เล่นงานเรา

มันดีใจ ~ เสียใจ...มันก็ตัวคิดนี่ 
ตัวรูปอันนี้ ~ มันไม่รู้

เมื่อมันมี..ความรู้สึก อันนี้
มันก็ไม่รู้ว่า..ความคิด จะมาเมื่อใด
เพียงแต่เราอยู่กับ. "ความรู้สึกตัว " อันนี้

พอดีมันคิดจะว่า..ทุกข์ 
เราก็..เห็นแล้วบัดนี้
ทุกข์..มันก็ไม่เกิดขึ้น

พอดีเรา..เห็นมันจะว่า..สุข 
เรา..เห็นมัน มันก็เลยไม่ได้ว่า..สุข

อ้อเบื้องแรก 
คำว่าไม่รู้ , คำว่ารู้
ไม่ว่าทุกข์ , ไม่ว่าสุข
หมายถึง...ความไม่หลง นั่นเอง

ท่านจึงว่า

๐ ทุกข์ต้องกำหนดรู้ รู้ตัว นี้

๐ สมุทัยต้องละ สมุทัยก็..ตัวคิด นั่นเอง

" อย่าไปอยู่กับความคิด "
ท่านว่าอย่างนั้น
ให้อยู่กับรูปอันนี้

๐ มรรคต้องเจริญ 
ต้องทำ...ความรู้สึกตัว นี้

๐ นิโรธทำให้แจ้ง
ตัวนี้มัน.." ตัวรู้ " นะ
จะทำให้..แจ้งเอง

ตัวที่มัน..รู้  
ไม่ใช่...ความคิดรู้ นะ

ตัวที่มัน...รู้ความคิด 
....เห็นความคิด นี่นะ
มันจะ..แจ้งของมันเอง 
มันจะ..เป็นเอง

เมื่อ..รู้ตัวนี้ เข้าไปปุ๊บ 
โทสะ โมหะ โลภะ มันจะ...ไม่มี

มันจะมีกับ..ตัวคิด นั่นเอง 

ตัวคิด..มันจับมาเอง

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"ข้าตายแล้ว ต้องลงนรก" หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

#ข้าตายแล้วต้องลงนรก
วันหนึ่ง หลวงปู่ดู่ท่านมองไปที่ลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งแล้วเอ่ยขึ้นว่า "ข้าตายแล้วต้องลงนรก" พอลูกศิษย์ได้ยินเช่นนั้นก็ตกใจเรียนถามท่านในทันทีว่า"หลวงปู่จะตกนรกได้อย่างไร ในเมื่อหลวงปู่บำเพ็ญคุณงามความดีมามากออกอย่างนี้"

หลวงปู่ตอบกลับไปว่า "ข้าก็จะลงนรก เพื่อไปเตะพวกแกขึ้นมาน่ะสิ"

คำเตือนของหลวงปู่นั้น ชวนให้ศิษย์ทั้งหลายต้องมานึกทบทวนตัวเองว่าการที่ได้มีโอกาสอยู่ใกล้ครูบา อาจารย์นั้นก็มิใช่เป็นหลักประกันว่าจะไม่ลงนรก ตรงกันข้าม หลวงปู่ท่านได้พูดเตือนทำนองเดียวกันนี้หลายครั้งหลายหน เพราะช่องทางทำบาปของคนเรามีมากเหลือเกิน จนท่านเอ่ยว่า คนเราเป็นอยู่โดยบาปทั้งนั้น เพียงแต่ผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ก็บาปน้อยหน่อย

หลวงปู่ท่านเป็นแบบอย่างที่หาได้ยากในเรื่องความระมัดระวัง ไม่ให้เป็นหนี้สงฆ์ ถึงขนาดว่าก่อนที่ท่านจะมรณภาพไม่กี่วัน ท่านได้บอกช่องลับกับโยมอุปัฏฐากให้ทราบ เพื่อว่าจะได้สามารถเปิดประตูเข้ากุฏิท่านในกรณีฉุกเฉินได้ โดยไม่ต้องไปงัดประตู อันเป็นการทำลายของสงฆ์ ซึ่งในที่สุดก็มีเหตุให้ได้เปิดประตูกุฏิท่านผ่านทางช่องลับนั้นจริงๆ ในเช้าตรู่ของวันอังคารที่ 17 มกราคม 2533 อันเป็นวันที่ท่านละสังขาร

นอกจากนี้ ท่านยังได้พูดเตือนอีกหลายๆ เรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราอาจมองข้าม เป็นต้นว่า เอ่ยปากใช้พระหยิบโน่นหยิบนี่ ไม่ยกเว้นแม้กรณีขอให้พระท่านหยิบซองให้เพื่อจะใส่ปัจจัยถวาย การหยิบฉวยของสงฆ์ไปใช้ส่วนตัว การพูดชักไปในทางโลกในขณะที่ผู้อื่นกำลังสนทนาธรรม การส่งเสียงรบกวนผู้ที่กำลังปฏิบัติภาวนา การขายพระกิน ซึ่งเรื่องหลังนี้ ท่านพูดเอาไว้ค่อยข้างรุนแรงว่า ใครขายพระกิน จะฉิบหาย สมัยท่านยังมีชีวิต ท่านจะพูดกระหนาบบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเวลารับประทานอาหาร ทานไม่ให้พูดคุยกัน จะทำกิจอันใดอยู่ ก็ให้มีสติ พยายามบริกรรมภาวนาไว้เรื่อยๆ เรียกว่าเกลี่ยจิตไว้ให้ได้ทั้งวัน เมื่อถึงคราวนั่งภาวนา จิตจะได้เป็นสมาธิได้เร็ว เวลาจิตจะโลภ จะโกรธ จะหลง ก็จะได้รู้ได้เท่าทัน

ดังที่หลวงปู่สอนว่า การตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเท่านั้น จึงจะช่วยให้เราห่างจากนรกได้ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องคอยสอบทานตัวเองอยู่เสมอๆ ว่าเราเข้าวัดเพื่ออะไร เพื่อความเด่นความดัง หวังลาภสักการะ หวังเป็นผู้จัดการพระ ผู้จัดการวัด ฯลฯ หรือเพื่อมุ่งละโลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นตัวก่อทุกข์ก่อโทษข้ามภพข้ามชาติไม่รู้จักจบจักสิ้นที่มีอยู่ในใจ เรานี้

ปฏิปทาที่จะช่วยให้เราปลอดภัย และห่างไกลจากนรกคือ การเกรงกลัวและละอายใจในการทำบาปกรรม หรือสิ่งที่จะทำจิตใจเราให้เศร้าหมองขุ่นมัว ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับหมู่คณะโดยไม่จำเป็น หากแต่ควรมุ่งเน้นการปฏิบัติภาวนาเป็นหลัก เป็นผู้พร้อมรับฟังคำตักเตือนของผู้อื่น โดยเฉพาะคำตักเตือนจากครูบาอาจารย์ อย่างที่ทางพระท่านสอนว่า ให้อดทนในคำสั่งสอน คิดเสียว่าท่านกำลังดุด่ากิเลสของเราอยู่

ท่อนซุงทั้งท่อน ถ้าไม่ได้ขวานช่วยสับช่วยบาก ไม่ได้กบไสไม้ ช่วยทำพื้นไม้หยาบๆ ให้เกลี้ยงเกลาขึ้น ไม่ได้กระดาษทรายช่วยขัดให้ไม้เรียบเนียน ไม่ถูกดัดถูกประกอบ ก็คงไม่กลายมาเป็นเครื่องเรือนเครื่องใช้ที่มีประโยชน์ ฉันใดก็ฉันนั้น จิตใจของเราที่หยาบอยู่ หากไม่ได้รับการขัดเกลาหรืออบรมจากครูอาจารย์ไม่ได้รับการอบรมด้วยธรรมของ พระพุทธเจ้า จิตใจนั้นก็ย่อมเอาเป็นที่พึ่งไม่ได้

ครั้งหนึ่ง มีลูกศิษย์ได้โอกาสเรียนถามหลวงปู่ว่า "หลวงพ่อครับ ที่ว่าธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมนั้น ธรรมที่ว่านั้นท่านหมายถึงธรรมเรื่องใดครับ" เมื่อสิ้นเสียงคำถาม หลวงพ่อท่านก็ตอบในทันทีว่า "กายสุจริต วาจาสุจริต และมโนสุจริต"

ซึ่งคำสอนของท่านข้างต้น ก็เป็นการตอบให้ชัดอีกครั้งว่า อานิสงส์แห่งการประพฤติความดีทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจนี้แหละ จะกลับมารักษาเราไม่ให้ตกไปสู่โลกที่ชั่ว จึงเป็นหลักประกันที่ช่วยให้เราห่างไกลจากนรก อีกทั้งยังช่วยให้เราสามารถเข้าใกล้หลวงพ่อด้วยการเพิ่มพูนคุณธรรมความดีให้ ยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อว่าในที่สุดจะได้ไม่ต้องรบกวนหลวงปู่ให้ต้องลำบากลงนรกมาสงเคราะห์ ศิษย์ ดังที่ท่านปรารภด้วยความห่วงใย ตั้งแต่ครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่..

พระผู้จุดประทีปกลางดวงใจ
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2565

.อัจฉริยลักษณะและอดีตชาติของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

"...ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นผู้มีอัจฉริยลักษณะและอัจฉริยนิสัยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์ มีปฏิปทามักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลีระคนด้วยหมู่ แสวงหาวิเวก ปรารภความเพียร ตั้งแต่วันอุปสมบทมา จนกระทั่งวาระสุดท้าย

ธุดงควัตร ที่ท่านปฏิบัติเป็นประจำตลอดชีวิต คือ บิณฑบาตเป็นวัตร

ฉันในบาตรเป็นวัตร

ใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

อยู่ในป่าเป็นวัตร

ถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร

ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเป็นผู้ที่มีลักษณะสมบูรณ์แบบทั้งภายนอกและภายใน ท่านเกิดมาเพื่อเป็นปรมาจารย์ แม้รูปกายและกิริยาของท่านก็เป็นลักษณะของท่านผู้มีบุญใหญ่ คือ

“คิ้ว” ของท่านมีไฝตรงกลางระหว่างคิ้ว ลักษณะคล้ายกับอุณาโลมของพระพุทธเจ้า ไฝนี้เป็นจุดดำเล็ก ๆไม่ได้นูนขึ้นมา มีขนอ่อน ๓ เส้น ไม่ยาวมาก เป็นเส้นละเอียดอ่อนมาก ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะไม่เห็น

“หู” ของท่านมีลักษณะหูยาน เป็นหูของนักปราชญ์

“จมูก” โด่งรับกับใบหน้า เข้ารูปลักษณะชายชาติอาชาไนย

“ตา” ของท่านแหลมคมเหมือนตาไก่ป่า คือ ตาดี รวดเร็ว คือ มีแววตาเป็นวงแหวนในตาดำ เป็นตาของจอมปราชญ์

“นิ้วมือ” ของท่านนิ้วชี้จะยาวกว่า แล้วไล่ลงมาถึงนิ้วก้อย

“นิ้วเท้า” ก็เหมือนกัน นิ้วชี้จะยาวกว่า แล้วไล่ลงมาถึงนิ้วก้อย

“ฝ่าเท้า” ของท่านจะเป็นลายก้นหอยสองอัน และมีรอยอยู่กลางฝ่าเท้าเหมือนกากบาท

เวลาท่านเดินไปไหน ท่านเดินก่อน สานุศิษย์ไม่เหยียบรอยท่าน พอท่านเดินผ่านไปแล้ว ชาวบ้านจะไปยืนมุงมองดูจะเห็นเป็นลายตารางปรากฏอยู่ทั้งสองฝ่าเท้า

“รอยนิ้วเท้า” ก็เป็นก้นหอยเหมือนกัน จะเรียกก้นหอยหรือวงจักรก็ได้ มีอันใหญ่กับอันเล็ก ๒ อัน เป็นลักษณะพิเศษของท่าน

“ฝ่ามือ” ของท่านเวลาสานุศิษย์นวดเส้นถวาย ได้พลิกฝ่ามือของท่านดูปรากฏว่า มีเส้นกากบาทเต็มฝ่ามือทั้งสองข้าง

“เสียง” ของท่านเสียงกังวาน ไพเราะ ฟังเพลิน ฟังเหมือนเสียงฟ้าดินถล่ม ผู้ฟังไม่อิ่มไม่เบื่อ แรงแต่ไม่เป็นอันตราย

“คำพูด” ของท่านเหมือนถอดจากหัวใจดวงหนึ่งไปสู่หัวใจอีกดวงหนึ่ง แม้ท่านเทศน์จบแล้วผู้ฟังก็ยังอยากฟังต่อไปอีก แม้คนละเชื้อชาติภาษาท่านก็สามารถสอนให้เข้าใจได้

“วาจา” ของท่านเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีลาภ ยศ อามิสเจือวาจาของท่าน เทศน์จึงขลังดี พูดถูกธรรม ตรงไป ตรงมา ไม่เห็นแก่หน้าบุคคลและอามิส

“ฤทธิ์” ท่านไม่ชอบแสดงฤทธิ์ ท่านชอบภาวนาให้สิ้นกิเลส ฤทธิ์ทั้งหลายเกิดด้วยกำลังสมถะ ฌานสมาบัติทั้งนั้น ใช้วิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีฤทธิ์สำเร็จอรหันต์

ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเล่าเรื่อง ในอดีตชาติท่านได้พิจารณาร่างกระดูกมาถึง ๕๐๐ ชาติ ได้พิจารณาวัฏฏะอีกถึง ๕๐๐ ชาติ

เริ่มตั้งแต่เกิดเป็นเสนาบดีเมืองกุรุรัฐ ชมพูทวีป ประเทศอินเดีย ผู้เกี่ยวข้องในครั้งนั้น คือ ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) คือ พระปทุมราชา ผู้ครองแคว้นกุรุ เป็นพี่ชาย

ในชาตินั้นท่านได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเฉพาะพระพักตร์ ปฏิญาณตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัย ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพักตร์ แต่ยังไม่ได้รับพุทธทำนาย

ท่านพระอาจารย์มั่น เล่าว่า พระพุทธองค์ตรัสธรรมแก่ท่านซึ่งเป็นอุบาสกในครั้งนั้นว่า....

....อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง น่าเกลียด คือ 
อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ 
เป็นผู้ทุศีล ๑ 
เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑ 
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ 
ทำการสนับสนุนในที่นอกศาสนานั้น ๑ 
ส่วนอุบาสกแก้วก็มีนัยตรงกันข้ามกับอุบาสกเลวนี้ 
ท่านบอกว่าจิตท่านมั่นคงในพระรัตนตรัย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

อีกชาติหนึ่งท่านเกิดที่ลังกาทวีป ประเทศศรีลังกา ได้บวชเป็นพระ ได้เข้าร่วมสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๔ ปรารภให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป มีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะเป็นศาสนูปถัมภ์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ

จากนั้นท่านได้มาเกิดที่มณฑลยูนานประเทศจีน ในตระกูลขายผ้าขาว มีน้องสาวคนหนึ่งเคยช่วยเหลือกัน มาชาตินี้ คือ นางนุ่ม ชุวานนท์ คหปตานีชาวสกลนคร ผู้สร้างวัดป่าสุทธาวาสถวายและท่านก็ได้สงเคราะห์ด้วยธรรมแก่เธอมาโดยตลอด

ชาติหนึ่งท่านไปเกิดที่โยนกประเทศ ปัจจุบันคือเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า ในตระกูลช่างทำเสื่อลำแพน ท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นนายช่างใหญ่ ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้จัดการ ส่วนพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธฺโล) เป็นคนเดินตลาด

ท่านพระอาจารย์มั่น สอนท่านพ่อลี ต่อไปอีกว่า ผู้ปฏิบัติต้องรู้ที่จะแก้จิตของตน ให้รู้จักภพของตนที่จะไปเกิด ต้องผ่านความผิดมาเสียก่อน จึงปฏิบัติถูก 
ความผิดเป็นเหตุ ความถูกเป็นผลของความดีทั้งหลาย

ต้องเดินมรรค ๘ ให้ถูกจึงจะแก้ได้ เดินตามสายหนทางของพระอริยเจ้า ใช้ตบะอย่างยิ่งคือความเพียร จึงจะสอนตนได้ โลกีย์ โลกุตระ ๒ อย่าง ประจำอยู่ในโลก ๓ ภพ และท่านพระอาจารย์มั่น ได้แสดงธรรมโดยยกธรรมชาติมาเปรียบเทียบให้ฟังในหลายคราว มีใจความย่อดังนี้ว่า

“....ธรรมะ หรือ ธัมโม ต้องเรียนเอามาจากธรรมชาติ เห็นความเกิด ความแปรปรวน ของสังขารประกอบด้วยไตรลักษณ์ เป็นนักปฏิบัติกรรมฐานอย่าเชื่อหมอมากนัก ให้เชื่อธรรม เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม จึงจะดี ธรรมะทั้งหมดชี้เข้าที่กายกับจิต เพราะกายและจิตนั่นแหละ เป็นคัมภีร์เดิม เป็นคัมภีร์ธรรมะที่แท้จริง

ภูเขา ทะเล สายน้ำ แผ่นดิน แผ่นฟ้า เห็นไปดูไปก็ไม่มีความหมาย ให้เห็นแต่ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ เท่านั้นแล ทิฐิมานะนั่นแหละ เป็นภูเขาสูงหาที่ประมาณมิได้ โลกสันนิวาส มีความแปรปรวนตั้งเที่ยงอยู่เช่นนั้น แต่จิตของเรารักษาไว้ให้ดี อย่าให้ติด ถ้าไม่ติดก็ได้ชื่อว่าเป็นสุข 
พิจารณาค้นกาย ตรวจกายถูกดีแล้ว ค้นดูกายถึงหลัก แลเห็นอริยสัจของจริงแล้ว เดินตามมรรคเห็นตัวสมุทัย เห็นทุกขสัจ ต้องทำจิตให้เป็นเอก ต้องสงเคราะห์ธรรมให้เป็นเอกเสมอ พระอรหันต์มีคุณอนันต์นับหาประมาณมิได้ พระอรหันต์ตรัสรู้ในตัวเห็นในตัว มีญาณแจ่มแจ้งดี ล้วนแต่เล่าเรียนธรรมชาติทั้งนั้น...”

คัดลอกจากหนังสือชีวประวัติและปฏิปทา “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร พระอริยเจ้าผู้มีพลังจิตแก่กล้า”

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2565

อยากไปพระนิพพานเป็นตัณหาไหม

⚜️ #นักปฏิบัติหลายท่านคงสงสัย #การที่อยากไปพระนิพพานเป็นตัณหาไหม⚜️ 
🙏"#ถ้าเสียงธรรมะนี่พระพุทธเจ้าท่านไม่เรียกว่ากามฉันทะ ท่านเรียกว่า #ธรรมฉันทะ #ว่ามีความพอใจในธรรม ถ้าหากว่าถ้าเขาถามว่า คนเรามุ่งพระนิพพานนี่เป็นตัณหาไหม ก็มีพระนักเทศน์หลายองค์เคยมาถาม เทศน์ด้วยกันอยากได้ไอ้นั่นก็ตัณหา อยากได้ไอ้นี่ก็ตัณหา อยากมีผัวก็ตัณหา อยากมีเมียก็ตัณหา อยากมีลูกมีเต้า อยากรวยอยากสวย เป็นอาการของตัณหาทั้งหมด 

🙏#คำว่าตัณหานี่แปลว่า #ความทะยานอยากลงเบื้องต่ำ เกาะโลก มีอุปาทานเป็นเชื้อนำหรือเป็นผู้บัญชาการ และมีอวิชชาความโง่เป็นผู้สนับสนุน นี่ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ ๙๙% ที่ตอบว่า คำว่าอยาก แปลว่า ตัณหา ในเมื่ออยากไปนิพพาน ก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน ก็เลยตอบว่า นี่แกเทศน์แล้วแกก็เดินลงนรกไปเลยนะ แกเทศน์แบบนี้แกเลิกเทศน์ แล้วก็เดินย่องไปนรกเลยสบาย ไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก ถามเป็นอย่างไร บอกว่า 
#ถ้าต้องการไปนิพพานเขาเรียกว่า "#ธรรมฉันทะ" ไม่ใช่กามฉันทะ #เรียกว่ามีความพอใจในธรรม #เป็นอาการซึ่งทรงไว้ซึี่งความดี"

🖋️📚หนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม ๑ หน้า ๑๑๖- ๑๑๗
⚜️พระราชพรหมยานเถระ⚜️
🙏หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง🙏

🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย⚜️
🧘จิตหนึ่งประภัสสรสุดยอดคือพระนิพพาน

ปุชฉา- มรรคตามหลักธรรมอริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง?

วิสัชนา- มรรค
ทาง/หนทาง/ข้อฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 
เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ 8 ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ 8 มัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ได้แก่

1.สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ
 ได้แก่ แนวความคิดที่ถูกต้อง ความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

2.สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ 
ได้แก่ ความนึกคิดที่ปราศจากโลภะ ปลอดโปร่งจากกาม ปราศจากความเห็นแก่ตัว มีความเสียสละ /ความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ ไม่พยาบาทเคียดแค้นชิงชัง 
มีความเมตตากรุณา/ความนึกคิดที่ปราศจากโมหะ ความคิดไม่เบียดเบียน ไม่คิดทำร้ายผู้อื่น

3.สัมมาวาจา- เจรจาชอบ 
ได้แก่ วจีสุจริต การละเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
4.สัมมากัมมันตะ-กระทำชอบ ได้แก่ การกระทำที่เว้นจากการกระทำชั่วทาง กาย 3 อย่าง คือการละเว้นจากการฆ่าสัตว์เบียดเบียนสัตว์ การละเว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ และการละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
5.สัมมาอาชีวะ- เลี้ยงชีพชอบ 
ได้แก่ การประกอบอาชีพสุจริต
6.สัมมาวายามะ-ความเพียรชอบ 
ได้แก่ ความเพียรตามหลักธรรม ปธาน 4 ได้แก่
   1.)สังวรปธาน
เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด 
มิให้เกิดขึ้น
   2.)ปหานปธาน
เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
   3.)ภาวนาปธาน
เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
   4.)อนุรักขนาปธาน
เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น 
และ ให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์

7.สัมมาสติ - ระลึกชอบ 
ได้แก่ การมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่เป็นนิจ/ การกำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในขณะปัจจุบัน โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน /การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง มีสติกำกับดูสิ่งต่างๆและความเป็นไปทั้งหลายโดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมันตามหลักธรรมสติปัฏฐาน 4(การตั้งสติกำหนดพิจารณาทางกาย เวทนา จิตและธรรม)

8.สัมมาสมาธิ-ตั้งจิตมั่นชอบ 
ได้แก่ ความตั้งใจมั่น โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว เข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน รวมเรียกว่าฌาน 4

มรรคมีองค์ 8(มัชฌิมาปฏิปทา) ทางสายกลางเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อันเป็นทางสู่จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือพระนิพพาน

ที่มา: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม/ประมวลศัพท์ ป.อ.ปยุตโต

นิมิตก่อนตาย ในงานวิจัย

“นิมิตก่อนตาย” 
 คนเราเมื่อใกล้เสียชีวิต จะระลึกถึงภาพความทรงจำเก่าๆขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นการบีบอัดข้อมูลในภพชาติปัจจุบัน เพื่อบันทึกเข้าสู่ภวังค์จิต ก่อนที่จะสู่จุติจิต ก่อนที่กายหยาบอันคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นี้จะสูญสลายไป 
   มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Frontiers in Aging Neuroscience วารสารเกี่ยวกับสมองชั้นนำของโลก ฉบับ 22 กุมภาพันธ์ 2022 โดยทีมนักวิจัยจาก สหรัฐ แคนาดา และจีน ถึง 13 ท่าน ทำการทดลองร่วมกัน พบว่า ก่อนและหลังหัวใจหยุดเต้น 30 วินาที สมองจะประมวลผลความทรงจำของชีวิตอีกครั้ง

    ดร. อัจมาล เซมมาร์ (Ajmal Zemmar) แห่งมหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ หนึ่งในทีมนักวิจัย บอกว่า เป็นความบังเอิญที่เราค้นพบเรื่องนี้ ในตอนแรกของการทดลอง ไม่มีใครคิดว่า คนใกล้ตายจะมีสัญญาณของคลื่นสมองที่เหมือนกับคนกำลังทำสมาธิหรือฝันอยู่

   ในทางพุทธบอกว่า ความทรงจำเหล่านั้น อาจเป็นการกระทำเก่าๆ เช่น เคยฆ่าสัตว์ ภาพของสัตว์ที่กำลังถูกฆ่าจะปรากฏอย่างชัดเจน หรือปรากฏในรูปสัญลักษณ์เช่น เห็นมีด ปืน ที่ใช้ในการสร้างกรรม ส่วนบุญก็จะปรากฏตามที่สร้างมา ภาพของการถือศีล ทำทาน สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร ปรากฏให้เห็น ดังนั้นภาพนิมิตที่เกิดขึ้น จะเป็นไปตามกรรมเก่าที่เคยทำ

   กระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากภายในไม่กี่วินาที แต่เนื่องจากจิตในขณะนั้นมีความไวสูงกว่าแสง ทำให้เวลาจิตยืดยาวขึ้น พอที่จะรับรู้เหตุการณ์ในชีวิตที่ผ่านมามากมาย

    ภาพยนตร์ความยาวสองชั่วโมง เรายังสามารถ download ทั้งเรื่องเสร็จภายในเวลาไม่กี่วินาที แต่จิตทำงานเร็วกว่าระบบดิจิตอลเป็นล้านเท่า ดังนั้น กระบวนการบันทึกกรรม จะเกิดขึ้นทันทีทันใด แม้เสียชีวิตแบบกะทันหัน ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการ download เรื่องราวของชีวิตทั้งหมด

    หลังจากนั้นจะเกิด “คตินิมิต” ตามมา คือ ลักษณะของภพที่จะไปเกิดใหม่ ปรากฏให้เห็น ผ่านทวารหก ทางใดทางหนึ่ง เช่นได้กลิ่นหอม เสียงอันไพเราะ ภาพวิมานแก้ว หรือ กลิ่นเหม็น เสียงโหยหวน เปลวเพลิง   

           
    ดร.ปีเตอร์ โนเบิล (Peter Noble) แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน พบว่า หลังเสียชีวิต ยีนและดีเอ็นเอในร่างกายส่วนหนึ่ง กลับทำงานอย่างหนักขึ้นต่อไปอีก 24 ชั่วโมง ทั้งที่มันควรจะหยุดทำงานไปแล้ว ตั้งแต่สมองตาย
 
    ดร.พีจอท กาจาเจฟ ( Dr.Pjotr Garjajev ) นักชีวโมเลกุล ที่ศึกษาเรื่องดีเอ็นเอมาอย่างยาวนาน บอกว่า ดีเอ็นเอมีความสามารถในการส่งต่อข้อมูลเข้าไปในมิติที่ห้าได้ นั่นหมายความว่า ขณะเสียชีวิต ร่างกายพยายามถ่ายทอดข้อมูลของชีวิต ผ่านทางดีเอ็นเอด้วย และระหว่างมีชีวิตอยู่ DNA นี่แหละคือตัว download พลังแห่งกรรมเข้ามาจากอีกมิติ และเหนี่ยวนำตัวเจ้าของดีเอ็นเอนั้นให้เกิดบุคลิกภาพ ความรู้สึก โรคภัยไข้เจ็บ ไปตามกรรมเก่าที่สะสมมา วิบากกรรมกับพันธุกรรม จึงมีความสัมพันธ์กันผ่านช่องทางนี้ ดร.พีจอท กาจาเจฟ บอกว่า DNA ส่วนที่ทำหน้าที่รับพลังแห่งวิบากกรรมคือ DNAส่วนที่ไม่ได้กลายเป็นยีน (Junk DNA)

    ปกติคนเราก็มีความทรงจำเก่าๆผุดขึ้นมาอยู่ทุกวัน ในรูปของความฝัน นิมิตตอนใกล้เสียชีวิตแบ่งออกได้ เป็นสี่แบบคล้ายกับความฝัน คือ บุพพนิมิต จิตอาวรณ์ เทพสังหรณ์ และธาตุกำเริบ ซึ่งบุพพนิมิตกับเทพสังหรณ์ ถ้าเกิดขึ้นกับผู้ใด จะทำให้รู้ถึงภพภูมิที่จะไปหลังจากเสียชีวิต ส่วนจิตอาวรณ์ และ ธาตุกำเริบ เป็นเพียงภาพหลอน ที่เกิดจากความแปรปรวนของกายและจิต ขณะป่วยหนัก        

   คนที่ฝึกเจริญสติสมาธิ จนถึงในระดับที่คุมนิมิตได้ จะสามารถเลือกให้ภาพสุดท้ายก่อนเสียชีวิต เป็นไปตามที่ปรารถนา พระพุทธองค์จึงทรงบอกว่า ถ้ามีสติ กรรมเก่าก็ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นควรฝึกภาวนาด้วย นอกจากการทำบุญ ทำทาน ถือศีล 

    ความรู้สึกสุดท้ายก่อนเสียชีวิตสำคัญมาก แต่ถ้าไม่เคยฝึกสมาธิ เจริญสติมาเลย ยากที่จะคุมความรู้สึกในช่วงนี้ได้ เพราะขณะนั้นสภาพร่างกายอ่อนแอเต็มที ระบบร่างกายแปรปรวนด้วยฤทธิ์ยา มีความเจ็บปวด จิตใจว้าวุ่น สับสน ห่วงใย ไม่อยากตาย ต้องใช้กำลังสมาธิสติมากกว่าปกติหลายเท่า จึงจะคุมจิตอยู่

    ฝึกนั่งสมาธิถึง ฌาน 2 ก็เห็นนิมิตแล้ว ทำบ่อยๆ จนคุ้นเคยกับมัน ในที่สุดจะควบคุมมันได้ และไม่กลัวตายอีกเลย นั่นเพราะเราสามารถเลือกไปในภพภูมิใหม่ที่ดีกว่าเดิมได้ แม้ว่าจะเคยสร้างกรรมมาบ้างก็ตาม อย่างน้อย ขอไปเกิดในภพที่สูงไว้ก่อน ส่วนบุญจากการให้ทาน ถือศีล จะส่งผล หลังจากที่ได้ถือกำเนิดในภพใหม่แล้ว

    ไม่สงสัยเลยว่า ทำไมไอน์สไตน์ ถึงบอกว่า ในอนาคต จะเหลือศาสนาแห่งจักรวาลเพียงศาสนาเดียว นั่นก็เพราะการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับสิ่งที่พุทธศาสนาบอกมาก่อนตั้งสองพันห้าร้อยปี ไม่ว่าเรื่อง เวลายืดหด ปรมาณู มิติต่างๆ เรื่องจักรวาล การทำงานของสมอง ฯลฯ

             -------------------------------------------------

19 สิ่งที่ควรเข้าใจแล้วจะมีความสุข


1. หมอดูที่เก่งกาจที่สุดในโลก คือ
กฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ทำอะไรไว้จะดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม 
ย้อนกลับมาหาเราเสมอไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า

2. พิธีสะเดาะเคราะห์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก 
คือการสำนึกผิด และ ขอขมากรรม 
แล้วปล่อยวางอดีต อยู่กับปัจจุบัน

3. วิธีต่ออายุที่ได้ผลดีที่สุดในโลก คือ
การละเว้นจากชีวิตผู้อื่น งดเว้นจากการเบียดเบียน
ไม่ทำให้ตนเอง และ ผู้อื่นต้องเดือดร้อน 
เป็นผู้มีศีล มีความเป็นปกติของกาย วาจา ใจ

4. วิธีเรียกทรัพย์ที่แม่นยำที่สุดในโลก 
คือการทำบุญให้ทาน ผู้ให้ย่อมได้รับ

5. วิธีเสริมสวยที่ได้ผลดีที่สุดในโลก 
คือรอยยิ้ม 

6. ความสุขที่ราคาถูกที่สุดในโลก 
คือการปล่อยวาง ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นมา
ด้วยความบังเอิญ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป 
เหมือนที่มันเคยผ่านมา

7. ความดีที่ประเสริฐที่สุดในโลก 
คือ ความกตัญญู 

8. การปลดปล่อยตัวเองที่เร็วที่สุดในโลก 
คือปล่อยวางจากตัวตน ปล่อยวางจากอดีต
ปล่อยวางจากอนาคต อยู่กับปัจจุบันอย่างตื่นรู้

9. การทำลายคุณธรรมแห่งตนที่เร็วที่สุดในโลก 
คือ ความเห็นแก่ตัว

10. ความสูญเสียที่สาหัสที่สุดในโลก 
คือการไม่ศึกษาธรรมะ ไม่ปฎิบัติธรรม 

11. บ่อที่ถมยากที่สุดในโลก 
คือบ่อแห่งความโลภ

12. ไฟที่ยากดับที่สุดในโลก 
คือไฟแห่งโทสะ ความโกรธ

13. สิ่งที่ทำให้คนมัวเมายิ่งกว่าการดื่มสุราที่มีฤทธิ์
แรงที่สุดในโลก คือ ความหลง

14. ความมืดที่จุดแสงไฟให้สว่างได้ยากที่สุดในโลก
คือ กาม 

15. ความงมงายที่ฝังแน่นที่สุดในโลก 
คือ อัตตาตัวตน ยึดมั่นถือมั่น ว่านั่นคือตัวเรา
นั่นคือของๆเรา 

16. ความผันผวนที่ยากคำนวนที่สุดในโลก 
คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่มีสิ่งใดแน่นอน 

17. ภัยพิบัติที่ยาวนานที่สุดในโลก 
คือการเวียนว่ายตายเกิด

18. ความสุขอันยาวนานที่สุดในโลก 
คือ การหลุดพ้นคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
คือ พระนิพพาน 

19. สันติภาพที่เกิดขึ้นเร็วที่สุดในโลก 
คือ การให้อภัย

#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

#อยู่บ้านเจริญกรรมฐานต้องสมาทานไหม

⚜️ #อยู่บ้านเจริญกรรมฐานต้องสมาทานไหม⚜️
🙎ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ #พอเวลาเราเจริญพระกรรมฐานที่บ้าน #เราต้องสมาทานพระกรรมฐานทุกครั้ง ใช่ไหมคะ

🙏หลวงพ่อ : ก็ตามใจ #เวลามีก็สมาทาน #ถ้ามีความมั่นคงดีก็ไม่เป็นไนะ #ก็ไม่แน่นักบางคนที่มีความคล่องตัวไม่ทันจะสมาทาน #จิตเป็นสมาธิเลย นี่ใช้ได้แน่นอนนะ

⚜️ #ถ้าทางที่ดีใหม่ๆยังไม่มั่นคง #ตอนเช้าก็สมาทานเสียก่อน #สมาทานครั้งเดียวในวันนั้น ทำกี่ครั้งก็ได้ ไม่ต้องทำไม่ต้องสมาทานบ่อยๆนะ #ทางที่ดีเช้าว่าเสียก่อนเลย ถ้าไม่รีบเกินไป

⚜️เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน #ตอนตื่นถ้าไม่สายเกินไป #ก็สมาทานเลย #คุ้มไปยันถึงวันพรุ่งนี้ สมาทานครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่ต้อง ตลอดวันตลอดคืนนะ สมาทานนะ

⚜️ #สมาทานในตอนต้นว่ามอบกาย #ถวายชีวิต #นั่นก็หมายความว่าคำสั่งสอนใดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ #จะไม่ฝืน #ให้เป็นไปตามขั้นตอนนะ

⚜️ #อันดับแรกเราก็จับอารมณ์ #พระโสดาบันก่อน #พยายามเอาให้ได้ พระโสดาบัน มีความสำคัญที่ศีล 5 เท่านั้นเอง ถ้าทรงศีล 5 ได้อย่างเดียว อารมณ์ตั้งใจ พระนิพพาน เป็นของไม่ยากใช่ไหม เพราะมีอยู่แล้ว เท่านั้นแหละ

🖋️📚หนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 10 หน้า 513
⚜️พระราชพรหมยานเถระ⚜️
🙏หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง🙏

🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย⚜️
🧘จิตหนึ่งประภัสสรสุดยอดคือพระนิพพาน

หลวงปู่มั่นฯ...มีบุคคลิกพิเศษ

*สารพัดธรรม(ทำ)*
"หลวงปู่มั่นฯ...มีบุคคลิกพิเศษที่ทำให้ท่านกลายเป็นสาวกที่สมบูรณ์แบบของพระพุทธเจ้า"
     》สำหรับเกร็ดประวัติและปกิณกธรรมของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จากหนังสือ "รำลึกวันวาน" โดยหลวงตาทองคำ จารุวัณโณ (ลูกศิษย์รับใช้ใกล้ชิดอีกท่านหนึ่ง) ได้บันทึกไว้ว่า "หลวงปู่มั่น เกิดมาพร้อมบุคลิกพิเศษที่ทำให้ท่านกลายเป็นสาวกที่สมบูรณ์แบบของพระพุทธเจ้า"
       หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คือหนึ่งในวิปัสสนาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย ท่านเป็นผู้ที่มีปฏิปทาสันโดษ มักน้อย แสวงหาความวิเวก และปรารภความเพียรตั้งแต่วันแรกบรรพชา - อุปสมบท จวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ชนิดที่เรียกได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์แบบ
       วัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของหลวงปู่มั่นก็คือ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร และใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร หากผู้ใดต้องการถวายจีวร ผ้าสบง ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเล็กๆ น้อยๆ ใดๆ ให้แก่ท่าน ก็เป็นอันรู้กันว่าจะต้องนำไปวางที่บันไดบ้าง วางไว้ใกล้ๆ กุฏิของท่านบ้าง วางไว้ตรงทางเดินไปห้องน้ำบ้าง เมื่อท่านเห็นท่านก็จะบังสุกุลเอา บางผืนท่านก็ใช้ บางผืนก็ไม่ได้ใช้ ใครไม่รู้อัธยาศัยแล้วนำไปถวายกับมือ ท่านจะไม่รับ
       หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระนักปฏิบัติ ท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่มีความสมบูรณ์แบบ ด้วยบุคลิกลักษณะทั้งภายนอกและภายใน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเกียรติคุณของท่านจึงขจรขจายจนถึงทุกวันนี้ แทนที่ความศรัทธาในตัวท่านจะเลือนหายไปเมื่อท่านละสังขาร ก็กลายเป็นว่าศรัทธานั้นกลับเจริญงอกงามขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
       หลวงปู่มั่นมีไฝอยู่ตรงระหว่างคิ้ว ลักษณะคล้ายกับพระอุณาโลมของพระพุทธเจ้า ไฝเม็ดนี้เป็นจุดดำเล็กๆ มีขนสามเส้น ไม่ยาวมากนักโค้งหักเป็นตัวอักษร ก. และเป็นเส้นละเอียดอ่อนมาก ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็น เวลาท่านปลงผมจะปลงขนที่ว่านี้ออกด้วย แต่ไม่นานก็งอกขึ้นใหม่ในลักษณะเดิมอีก
       หูของหลวงปู่มั่นมีลักษณะยาน จมูกโด่ง แววตาของท่านก็จะเหมือนแววตาของไก่ป่า (คือเป็นวงแหวนในตาดำ) ส่วนที่มือของท่านนั้น นิ้วชี้จะยาวกว่านิ้วอื่น แล้วไล่ลงมาจนถึงนิ้วก้อย นิ้วเท้าก็เหมือนกัน
       ตลอดชีวิตของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านเดินทางธุดงค์ข้ามภูเขาไปไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูกจนเท้าพองไปหมด ศิษย์ท่านหนึ่งคือ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เคยเล่าว่า เวลาล้างเท้าให้หลวงปู่มั่นจะเห็นฝ่าเท้าของท่านเป็นรอยก้นหอยสองอัน และมีรอยอยู่กลางฝ่าเท้าเหมือนกากบาท เวลาท่านเดินไปไหนแล้วนำไปก่อน สานุศิษย์จะไม่เดินเหยียบรอยเท้าของท่าน และเมื่อท่านเดินผ่านไปแล้ว ชาวบ้านไปส่องดูก็จะเห็นเป็นลาย "ตารางหมากรุก" ปรากฎอยู่ที่รอยฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ส่วนรอยนิ้วเท้าก็เป็นลายก้นหอยเหมือนกัน จะเรียกก้นหอยหรือวงจักรก็ได้ มีอันใหญ่กับอันเล็กสองอัน สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะพิเศษทางกายภาพของหลวงปู่มั่น《
            
             "หลวงปู่มั่น องค์ท่านนั้น นั่นพิเศษ
             หว่างคิ้วเนตร จะมีใฝ ให้มองเห็น
             อีกฝ่าเท้า ลายก้นหอย รอยดูเด่น
             นี่จึงเป็น ลักษณะ ประจำกาย"
               
     ***ขออนุโมทนา ขอขอบคุณเจ้าของภาพและข้อความ ภาพนี้ตัดแต่งใหม่ ขออนุญาตเผยแผ่เป็นธรรมทานให้แก่ผู้ที่มีความศรัทธา ข้อความข้างบนนี้เป็นส่วนหนึ่ง จากหนังสือ"มุตโตทัย ยอดธรรมะพระอริยสงฆ์ ๑๕๐ ปีชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระพุทธศักราช ๒๔๑๓ - ๒๕๑๓" หน้าคำนำ ที่ ๒ - ๔ สาธุๆๆ***

วิธีนั่งสมาธิ

#ท่านพ่อลี ธัมมธโร
🍀…วิธีนั่งสมาธินั้นต้องทำความรู้สึกเหมือนกับเรากำลังนั่งอยู่บนก้อนเมม หรือศาลากลางน้ำ หรือกลางทุ่งนา ปล่อยลมออกไปให้เย็นโล่ง ใจไม่เกาะเกี่ยวกับสัญญาอดีต อนาคต ทั้งดีไม่ดี ทำใจให้เงียบ แล้วกำหนดดูลมหายใจเข้า "พุท" ออก "โธ" เบื้องต้นทำแค่นี้ก็พอ

ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทรงเครื่องฤดูร้อน

เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานี และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้มีการอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐานในพระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรง พุทธศักราช 2327 ในสมัยนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงถวายพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรสำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน อย่างละสำรับ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดูกาล ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องทรงสำหรับฤดูหนาวถวายอีกสำรับหนึ่ง พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จึงทรงเครื่องทรง 3 อย่าง ตามฤดูกาลมาจนถึงทุกวันนี้

เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์ ทำด้วยทองคำลงยาประดับเพชรและมณีต่างๆ มงกุฎที่ทรงเป็นเทริด ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่

สำหรับเครื่องทรงที่จัดสร้างขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ถอดเก็บรักษา ใช้อัญมณีในการจัดสร้างรวมทั้งหมด 6,297 เม็ด น้ำหนัก 2,132.81 กะรัต น้ำหนัก 426.56 กรัม น้ำหนักลงยา 166.24 กรัม น้ำหนักทองสุทธิ 7,145.00 กรัม รวมน้ำหนัก 7,737.80 กรัม

วันสงกรานปีใหม่ไทย#อย่าลืม #ขอขมาพระรัตนตรัย #ถอนคำสาปแช่ง

#วันสงกรานปีใหม่ไทย
#อย่าลืม #ขอขมาพระรัตนตรัย #ถอนคำสาปแช่ง 
        *คาถาบทต่อไปนี้ เป็นคาถาที่ใช้สำหรับขอขมาพระรัตนตรัย และใช้เพื่อถอนคำสาปแช่ง ในอดีตชาติ ที่ติดตามมา เพราะเราไม่รู้ว่าเคยได้ ล่วงเกินปรามาสใครไปบ้างก็ไม่รู้ ไม่เว้นแม้กระทั้งพระพุทธองค์ พระอรหันต์ พ่อ แม่ เป็นต้น เพราะบางคนทำการใดๆ มักมีอุปสรรค หรือมักมีคนไม่ชอบหน้า

        เริ่มต้นโดยการขอขมาและอธิษฐานจิต อธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอนก็ได้

        (ตั้ง นะโม 3 จบ)

        สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

        หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้าตลอด จนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา ขออนุญาตมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร 

        ขอบุญบารมี ในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติ ปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆ โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลก ทางธรรมตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพานเทอญ หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาต และคำสาปแช่งในทุกชาติทุกภพ ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรมนายเวร

        ต่อมาให้ระลึกถึง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

        (ตั้งนะโม 3 จบ)

        ชินะปัญชะระ ปะริตตังมัง รักขะตุ สัพพะทา หรือ วิญญาณสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ ( ท่อง 9 จบ )

        (ขอพระอนันตชินเจ้าในบัญชรแวดวงกงล้อม พระโมรปริตรและพระขันธปริตร อรหันต์เจ้า จงคุ้มครองรักษาข้าพเจ้าให้พ้นจากภยันตรายสรรพสิ่งทั้งปวง ตลอดเวลาทุกเมื่อ)

        บทอธิฐานขออโหสิกรรม

        กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัญจิจจะกัมมังอะสัญจิจจะกัมมัง ขะมันตุ เม อะโหสิกัมมัง ภะวะตุ เม

        กรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้ทำล่วงเกินแก่ผู้ใด ทั้งโดยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ในภพชาติใดก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโปรดยกโทษ ให้เป็นอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อกันอีกเลย แม้แต่กรรมใดที่ใคร ๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน ขอจงดลใจให้เขาเหล่านั้นกลับมีเมตตาจิต คิดเป็นมิตรกับข้าพเจ้า เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อกันตลอดไป
 
        ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้า พร้อมทั้งครอบครัว ตลอดจนวงศาคณาญาติ ผู้่มีอุปการคุณของข้าพเจ้าพ้นจากความทุกข์ยากลำบากเข็ญใจ ความทุกข์อย่าได้ใกล้ ความเจ็บไข้อย่าได้มี ขอให้มีความสุขสวัสดีมีชัย เสนียดจัญไร และอุปัทวันตรายทั้งหลาย จงเสื่อมสิ้นหายไป นึกคิดปรารถนาสิ่งใด ที่เป็นไปโดยชอบ ประกอบด้วยธรรมด้วย ขอให้สิ่งนั้น จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จ จงพลันสำเร็จเทอญ

*เรื่องบุญกรรม การกระทำของเราทุกๆอย่าง มักเป็นตัวกำหนดชีวิตของเรา ควรมีสติและดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท เราเชื่อว่าทุกๆ คนก็จะมีความสุขกับทุกๆเรื่องได้

#ธรรมะ #อมตะธรรม #ธรรมะสอนใจ

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2565

เรื่อง.* สมเด็จองค์ปฐม ทรงเป็นพระบรมครู ของพระพุทธเจ้า ทุก ๆ พระองค์ *


..." สมเด็จเด็จองค์ปฐม ท่านเป็น พระพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลก  ทรงพระนาม.. "สมเด็จพระพุทธสิกขี"

~ เนื่องจาก พระพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แล้วมากมาย นับได้แสนองค์  ฉะนั้นพระนามของพระองค์จึงซ้ำกัน  โดยเฉพาะพระนาม "สมเด็จพระพุทธสิกขี"  มีด้วยกัน ๕ พระองค์

~ จึงได้ขนานนามของ สมเด็จองค์ปฐมว่า.. สมเด็จพระพุทธสิกขีที่ ๑  จึงนับได้ว่า พระพุทธองค์ ทรงเป็น สมเด็จองค์ปฐมบรมครู อย่างแท้จริง

* สมัยที่พระพุทธองค์ ได้ทรงอุบัติในโลกมนุษย์ ซึ่งขณะนั้น.. คนมีอายุขัยประมาณ ๘ หมื่นปี  

~ พระพุทธองค์ ทรงผนวชออกมหา ภิเนษกรมณ์ เมื่อพระชนมายุได้ ๔ หมื่นปี 

~ หลังจากผนวชได้ ๒ หมื่นปี  จึงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ  ตรัสรู้เป็นองค์สม เด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์แรกของโลก 

~ พระพุทธองค์ทรงโปรดเวไนยสัตว์ ประมาณ ๒ หมื่นปี  จึงได้เสด็จ ดับขันธ์ ปรินิพาน

~ พระพุทธองค์ ทรงใช้เวลาอันยาวนานถึง ๔๐ อสงไขยกัป เศษ  ในการบำเพ็ญพระบารมี เพื่อแสวงหาพระโพธิญาณ  ด้วยพระองค์เองทรงใช้เวลาอันยาวนานในการบำเพ็ญพระบารมี  

~ เนื่องจากพระพุทธองค์เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรก  จึงไม่มีแบบอย่างที่จะให้พระพุทธองค์ ได้ศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุ พระโพธิญาณ

* ระยะเวลาที่บำเพ็ญพระบารมี จึงใช้ ถึง ๔๐ อสงไขยกัป เศษ..."

( จากหนังสือ  *ประวัติการสร้างสมเด็จองค์ปฐม* หน้าที่ ๑๗ ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )

อดีต ปล่อยไว้ตามอดีต

สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ควรทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้กระทำความผูกพันและหมายมั่นให้สิ่งนั้น
กลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้
ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว
โดยความไม่สมหวังตลอดไป
อนาคต ที่ยังมาไม่ถึงนั้น
เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน
อดีต ปล่อยไว้ตามอดีต
อนาคต ปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย
.
หลวงปุ่มั่น ภูริทัตโต

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565

ปรับปรุงใจตน

      คนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลสตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรมนี่ไม่มีทางคืนตัวได้
    
      ความเป็นอยู่ของเขาในสมัยปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมอง เพราะกิเลสมันทำให้เศร้าหมอง #ตัณหา สร้างจิตใจให้เร่าร้อน #อุปาทาน มีอาการเกาะความชั่วเป็นปกติ #อกุศลกรรม ทำความชั่วตลอดเวลา คนที่เป็นทาสของกิเลส ตายแล้วไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคน แม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ

    นี่ถ้าบุคคลใดทำใจของเราให้เร่าร้อน ด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วยวาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คนเขาคือ #สัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราก็คิดว่าถ้าเราไปต่อล้อต่อเถียงจะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตใจเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจ #ขันติหรืออุเบกขา
    
    นี่ #อุเบกขา เราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียวเราไม่ยอมเลวด้วย ถ้าเราทุกคนปรับปรุงใจตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อน ในการที่จะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป

     นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมาก จนกระทั่งขังไว้ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหลออกมาทางวาจา ไหลออกมาทางกาย นี่แสดงว่า #ความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ #อย่าทะนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้ว #ปากไม่เสีย #กายไม่เสีย #ถ้าปากเสีย #กายเสีย #ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้ #จงอย่าติดในโลกธรรม
    
 ⚜ “พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นโลกธรรมถ้าเราติดเรามีความทุกข์”

    ลาภที่เรามีมา ได้แล้วมันก็หมด เสื่อมไปได้ ถ้าเรายินดีในการได้ลากไม่ช้ากำลังใจก็ต้องเสีย สลดใจเมื่อลาภหมดไป
    
   คำสรรเสริญก็เช่นเดียวกัน คำสรรเสริญไม่ใช่ของดี ถ้าเราติดในคำสรรเสริญ เราก็จะมีแต่ความทุกข์เพราะว่าไม่มีใครเขามาตั้งหน้าตั้งตานั่ง
สรรเสริญเราตลอดวัน คนที่เขาสรรเสริเราได้ เขาก็ติเราได้ ฉะนั้นจงจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า “นินทา ปสังสา" เป็นธรรมดาของชาวโลก ชาวโลกทั้งหมดเกิดมาต้องพบนิพพานและสรรเสริญ นี่ท่านมาติดลาภ ติดสรรเสริญ ก็ถือว่าเป็นอุปกิเลสอย่างหนัก

    จงจำไว้ อารมณ์ใดที่ประกอบไปด้วยความรัก ประกอบไปด้วยความโลภ ประกอบไปด้วยความโกรธ ประกอบไปด้วยความหลง พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เป็นอารมณ์ของ #ติรัจฉาน คือมันขวางจากความดี
   
    ฉะนั้น อาการของเดรัจฉานทั้งหมดอันพึงจะมีทางจิตก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางกายก็ดี จงอย่ามี จงระมัดระวังกำลังใจเป็นสำคัญ อย่าเอาอารมณ์ของเดรัจฉานเข้ามาใช้ในจิต และก็จงอย่าเพ่งเล็งบุคคลอื่น จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของบุคคลอื่น จงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่นให้พยายามปรับปรุงใจตนเองเป็นสำคัญ และให้ #ทรงพรหมวิหาร๔ #มีอิทธิบาท๔ #ฟังแล้วก็ต้องจำ #จำแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติ #ถ้าทำไม่ได้จงรู้ตัวว่าเลวเกินไป #คนเลวเขาไม่เรียกว่าคนเขาเรียกว่าสัตว์ในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น

    ความรักที่มันเกิด เราเข้าใจว่ามันดี เข้าใจว่ามันสวย เข้าใจว่ามันสะอาดอารมณ์อย่างนี้ เป็นอารมณ์ของ #ตัณหา ดึงไปอบายภูมิ มีนรก เป็นต้น
    
    นี่พระทุกองค์ เณรทุกองค์ ฆราวาสทุกท่าน จงดูตัวไว้เสมอว่าเรามีจุดบกพร่องขนาดไหน อย่าปล่อยให้กิเลสมันล้นจากใจ ถ้าจะเลว ให้เลวอยู่แค่ใจ
อย่าให้มันไหลมาทางตา อย่าให้มันไหลมาทางปาก อย่าให้มันไหลมาทางกาย
    
    อย่าถือเหตุภายนอกที่เข้ามาว่ากวนใจเรา เหตุภายนอกนี่ห้ามเขาไม่ได้ความวุ่นวายในกิจการงาน กิจที่เหตุที่จะต้องแบกภาระต่างๆ เป็นเรื่องของการ
เกิด ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา งานมันเหนื่อยเท่าไร เราต้องเข้าใจ มันเป็นเรื่องของงาน เพราะว่าเราเสือกเกิดมาทำไม ถ้ารู้ว่างานมันยุ่งแล้วเราเสือกเกิดมาทำไม เรามันเสือกเกิดมาแล้วนี่ เราก็ต้องยุ่งแบบนี้ เมื่อยุ่งมาแล้ว ก็ต้องยุ่งเพื่อใช้หนี้มัน เพื่อไม่ให้ยุ่งต่อไป ทำทุกสิ่งทุกอย่างให้ครบถ้วน อย่าทำจิตใจให้มันเข้าไปกวนประสาทตัวเอง ถือว่าภาระหน้าที่มีอย่างไร ทำไปเพื่อความอยู่เป็นสุข เราชำระหนี้ส่วนที่เป็นอกุศลเพราะการอดทนต่อความทุกข์ นี่เป็นภารกิจของเรา

    ถ้าหากว่าท่านผู้ใดสามารถจะทำจิตให้สงบจากอารมณ์ของความชั่ว คือในด้านของอกุศล จิตน้อมไปในด้านของความดี มีกรรมฐาน ๔๐ หรือมหาสติปัฏฐานสูตร ข้อใดข้อหนึ่ง ในขณะที่ปฏิบัติครั้งหนึ่ง ชั่ว ๑ นาที ๒ นาที ๓ นาที ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ตาม ก็จงภูมิใจว่า เวลานี้เราได้มีโอกาสชนะความชั่ว คือนิวรณ์ ๕ หรือกิเลสได้แล้ว แต่ทว่าเราไม่ประมาทในชีวิต คิดว่าครั้งหนึ่งเราชนะได้ ๑ นาที ๒ นาที หรือ ๓ นาที เดือนหนึ่งมี ๓๐ วัน ปีหนึ่งนี้ ๓๖๕ วัน ถ้าเราปฏิบัติระงับจิตได้อย่างนั้นครั้งละ ๒-๓ นาที ถ้า ๑๐ ครั้ง ก็ ๓๐ นาที เป็นต้น คิดว่าโอกาสของเรายังน้อมเข้าไปด้านของกุศล

    ขณะใดที่จิตสงัดจากติเลสคือความชั่วของจิต จิตน้อมเข้าไปในด้านของความดี มีกรรมฐาน ๔๐ หรือมหาสติปัฏฐานสูตรข้อใด ข้อหนึ่ง ก็ควรจะภูมิใจว่า เรามีโอกาสชนะกิเลสได้บางตอนบางจุด ถ้าเราสามารถทำให้ชนะได้เรื่อยๆ ไป ไม่ช้ากิเลสก็จะสลายตัวเหมือนกับเราขัดสนิมวัตถุที่มีสภาพใหญ่ เราขัดได้ครั้งละน้อยๆ แต่ขัดบ่อยๆ สนิมก็หมด
   
   ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามว่าเราเลว มันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของเราชั่ว เขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน
   
    นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจเป็นสำคัญว่า ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้ แล้วมันก็ดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราต้องดี เพราะรอให้ชาวบ้านเขาสรรเสริญนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว

    เราต้องการความเมตตาปรานีจากคนอื่นฉันใด บุคคลทั้งหลายก็ต้องการความเมตตาปรานีจากเราเหมือนกัน ฉะนั้น อารมณ์ใจของเราก็คิดไว้เสมอว่า
เราจะรักคนและสัตว์ นอกจากตัวเรา เหมือนกับเรารักตัวเรา เราจะสงสารเขาเหมือนกับที่เราต้องการให้คนอื่นสงสารเรา เราจะไม่อิจฉาริษยาใคร เมื่อบุคคลอื่นใดได้ดี สมมติว่าถ้าเรามีลาภสักการะเรามีความดี ถ้าคนอื่นมาแสดงความยินดีด้วยเราก็พอใจ ฉะนั้น เวลาที่ใครเขาได้ดี แทนที่เราจะอิจฉาริษยาเราก็พลอยยินดีกับความดีของเขา ทำใจให้มันสบายอย่างนี้

    ตราบใดที่เราเป็นคน เราจะสร้างคนอื่นให้รอดพ้นจากความเป็นคนไม่ได้ เมื่อไหร่เราเลิกเป็นคน ทำใจตนให้เป็นพระ เมื่อนั้นแหละเราก็สามารถจะเปลี่ยนแปลงสร้างสรรค์ให้คนอื่นเลิกเป็นคนได้ แต่ถ้าเรายังเป็นคนอยู่ และเข้าไปยุ่งกับคนอื่น บางทีคน ๆ นั้นเขามีส่วนเป็นคนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้วเมื่อเราเข้าไปยุ่งอีกราย จะกลายเป็นการเพิ่มเติมเปอร์เซ็นต์ในการเป็นคนให้แก่เขามากขึ้น แทนที่จะช่วยให้เขาพ้นจากความเป็นคน ก็กลายเป็นการเพิ่มความเป็นคนให้แก่เขา เรื่องมันก็จะไปกันใหญ่

     คนที่ทรงศีลบริสุทธิจะไปรู้เรื่องของสมาบัติไม่ได้ ถ้าขืนไปสู่รู้สู่เห็นเข้าเมื่อไร ก็ผิดเมื่อนั้นแหละ เมื่อทำถึงฌานสมาบัติแล้ว จึงจะเข้าใจว่าความรู้สึกเดิมของเรานั้น ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ต้องเป็นอารมณ์เข้าใจ
     
    เมื่อเป็นผู้ทรงฌานสมาบัติแล้ว จะคิดว่ามีความเข้าใจเรื่องพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ก็ไม่ได้อีก ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะกำลังใจละเอียดไม่พอ 
     
    ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า จงยับยั้งชั่งใจในตัวเองอย่ามีความประมาทในตัวเอง #คิดว่าอะไรเราอ่านหนังสือแล้วเรารู้นะ #นั่นน่ะชวนลงนรกดีมากที่สุด เพราะว่าการเข้าใจผิดที่เรียกว่า “มิจฉาทิฐิ” มีความเห็นผิด ถ้ามีความเห็นผิด มีความเข้าใจผิด มันก็ปฏิบัติผิด ถ้าคนที่ปฏิบัติผิด มีความเข้าใจผิด เขามีที่เก็บมีที่อยู่ คือมี #สำนักพญายม ควบคุมอยู่

     ทุกท่านที่ปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยความจริงใจ ตั้งใจจริงมีศีลบริสุทธิ์ ตั้งใจทรงสมาธิให้ตั้งมั่น ตั้งใจรักษาปัญญาให้แจ่มใส รู้เท่าทันความเป็นจริง แต่ว่ายังไม่ถึงพระโสดาปัตติมรรค ก็ควรจะภูมิใจว่าเข้าอยู่ในเขตของความดี คือ เราอยู่ในเขตของคนดี แต่ว่าเราจะดีมากจะดีน้อยนั้น ประมาทไม่ได้ #ถ้ารู้ตัวว่าดีเมื่อไรก็เสดงว่าเราแล้วเมื่อนั้น

    จงจำพระพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อัตตนา โจทยัตตานัง” #จงกล่าวโทษโจทย์ความผิดของตนไว้เสมอ คือให้มีความรู้สึกว่าเรายังชั่วอยู่ เรามันชั่วตรงไหน ไปนั่งดูนิวรณ์ ๕ ว่านิวรณ์ ๕ ประการยังมีอาการสิงใจเราอยู่บ้างหรือเปล่า ถ้านิวรณ์ ๕ ประการ ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือในเวลาใดเวลาหนึ่ง มันเข้ามากวนใจเราได้ แสดงว่าเรายังมีช่องโหว่แห่งความชั่วในด้านฌานโลกีย์ ถ้านิวรณ์ ๕ ไม่สามารถจะสิงใจเราได้ แสดงว่าเราดีขึ้นถึงระดับของผู้ทรงฌาน

🙏🏻พระธรรมคำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
📖หนังสือพ่อสอนลูก หน้าที่ ๒๐~๒๔
📍เพจ:คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
       (ธรรมทาน)

🖊พิมพ์โดย นภา อิน

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2565

#ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก เราควรกำหนดรู้ เราได้รู้แล้ว

#ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก เราควรกำหนดรู้ เราได้รู้แล้ว
#สมุทัย คือ แดนเกิดทุกข์ เป็นสภาพที่ควรละ เราได้ละแล้ว
#นิโรธ การกระทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจ เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
#มรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปฏิปทา ควรเจริญ เราได้เจริญแล้ว
.
• พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต •.....//....สร้างเหตุ ผลตามมาเอง
.
“ถ้าใครตั้งสติไม่ค่อยได้ ภูเขาที่ไหนมันลำบากจะจัดให้ไปเลย อยู่ที่ไหนมันมีเทวดา มีภูติผีปีศาจมากๆ จะจัดให้ไปอยู่เลย ให้ไปเพียงคนเดียวไม่ไปด้วยกันหลายคน ถ้าอยู่ตามธรรมดามันสนุกสนานเพลิดเพลินไปตามอารมณ์การนอน ห้ามไม่ให้นอนฟูกนอนเบาะจนเกินไป มันนอนดีเกินไป นอนอย่างไร มันก็นอนได้ นั่งอยู่มันยังนอนได้ เรื่องของจิตแต่มันหาวิธีอยากให้นอน นอนจิตนอนใจ แม้ไม่นอนสักครั้งทำงานอยู่ตลอดวันเวลา 
.
ถ้าหากมีสติมันก็ตื่นอยู่อย่างนั้นแหละ อยากตื่นตอนไหนก็ได้ ไม่อยากตื่นก็ได้ ไม่นอนสักครั้งก็ไม่หิว รสชาติธรรมะมันเป็นของเลิศ แต่เราต้องประพฤติปฏิบัติจนได้ประสบการณ์ ถ้าหากมีศรัทธาเร่งในการประพฤติปฏิบัติอยู่ตลอด มันจะต้องเกิดขึ้นวันใดวันหนึ่งเพราะมันเต็มรอบ มันได้ปรารถนา เราไม่ได้อ้อนวอน มีการกระทำอย่างเดียวถึงระยะมันก็เต็มของมัน คล้ายๆ กับเทน้ำใส่ขวดถึงระยะมันก็เต็มเอง คล้ายๆ กับผลหมากรากไม้ จะเป็นฟักทอง แตงไทย ก็ตามว่าแต่เราบำรุงเหตุ คือ เอาใส่ดินที่มีปุ๋ย แล้วก็มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดหนักเข้ามันเป็นของมันเอง ผลิดอกออกผลมาเอง แล้วก็ใหญ่ โตไปตามลักษณะอาการของ จะมีดอก มีผล ผลเล็ก ผลใหญ่ ตลอดจน ถึงสุเป็นเรื่องของเขาเอง เราไม่ได้ไปดึงไปถอดขึ้น อันนี้ฉันใดก็ดี
.
การประพฤติปฏิบัติ บำรุงแต่เหตุอย่างเดียว คือมีการกระทำผลมันไปเอง เราปลูกฟักแฟงแตงไทย ใครได้ไปแต่งดอกแต่งใบ มันไปของมันเอง ว่าแต่มีเหตุได้สัดส่วนของมัน มันงามเองเลย ลักษณะของจิตของสติก็เหมือนกัน ไม่ใช่จะอยากได้ไวๆ ร้อนๆ เอาเลย อยากให้เป็นไวๆ คิดคาดคะเนไว้ก่อนว่าอยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างนั้นทุกข์ใหญ่เลย เราจะไปแต่งเขาไม่ได้หรอกมีแต่สร้างเหตุ มันจะไปของมันเอง บางคนนั่งไปบ้างก็อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากเห็นนั่นเห็นนี่ ก็แล้วเท่านั้นแหละ ตัวนี้แหละเป็นกิเลสบังไว้ ขวางอยู่อย่างนั้น ตั้งไม่ได้สร้างแต่เหตุอย่างเดียว มันจะเป็นอะไร ไปเป็นอะไร ไม่ได้รับรู้ ข้ามีหน้าที่ทำ ส่วนจะเกิดขึ้นมันเป็นเรื่องของเขา 
.
การประพฤติปฏิบัติศีลธรรม จะไปคาดคะเนไว้ก่อนล่วงหน้า ตั้งความอยากไปข้างหน้ามันจะขวางไว้เลย เหมือนกับเขากันรั้วไว้ ทำไปเลย เรามีหน้าที่ทำ ทำมากเท่าไหร่ก็ไม่ว่า พยายามทำ ทำให้มากๆ ไม่ต้องท้อถอย ผลมันหาเกิดขึ้นเองหรอก”
.
• พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต •
#ที่มา พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)

เรียนสุตตะ-เรียนกัมมัฏฐานพระโปฐิละ(เถรใบลานเปล่า)



"การปฏิบัติเป็นกิจของสาวกทั้งหลาย"

พระโปฐิละนั้นคิดว่า "เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนืองๆ ว่า "คุณใบลานเปล่า" พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้.

 "บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า เพราะการ
กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘." 

   .......................................................................

                        ๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ 
               ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โยคา เว" เป็นต้น.

               รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด               
               ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดาทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน เราจักยังเธอให้สังเวช." 
               จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า "มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า "คุณใบลานเปล่าไปแล้ว." 
               พระโปฐิละนั้นคิดว่า "เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนืองๆ ว่า "คุณใบลานเปล่า" พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." 
               ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า "บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเองทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนดท่านว่า "อาจารย์." พระเถระไปสิ้น ๑๒๐ โยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม." 
               พระสังฆเถระ. "ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก สิ่งอะไรชื่อว่าอันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉน ท่านจึงพูดอย่างนี้?" 
               พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.

               วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ               
               ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น พระมหาเถระส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า "ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่งท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน. พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

               พระโปฐิละหมดมานะ               
               พระโปฐิละนั้นมีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม." 
               สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต เหตุอะไรๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน. 
               พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้. 
               สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้ ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน. 
               พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า "จงเข้าไปสู่ไฟ" ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.

               พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร               
               ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า "ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้." 
               จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า "พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. 
               แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น. 
               ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า "มาเถิด ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่องๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง, บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม๑- นี้ไว้ในมโนทวาร." 
               ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. 
               พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลงในกรชกาย๒- ปรารภสมณธรรม. 
____________________________ 
๑-๑. คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ บริกรรม หรือกัมมัฏฐาน. 
๒-๒. แปลว่า ในกายบังเกิดด้วยธุลี มีในสรีระ.

               ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา               
               พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า "ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง) ดุจแผ่นดินด้วยประการใดแล, การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น 
               ตรัสพระคาถานี้ว่า :- 
               ๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
                เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
                ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
                          ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่ง
                ปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความ
                เจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญา
                จะเจริญขึ้นได้.

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า เพราะการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘. 
               คำว่า "ภูริ" นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน. ความพินาศ ชื่อว่าความสิ้นไป. 
               สองบทว่า เอตํ เทวฺธา ปถํ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่ประกอบนั่น. 
               บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและความไม่เจริญ. 
               บทว่า ตถตฺตานํ ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญา กล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้. 
               ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้.

               เรื่องพระโปฐิลเถระ จบ

"การปฏิบัติเป็นกิจของสาวกทั้งหลาย"

บทว่า กตํ โว ตํ มยา ความว่า ศาสดาเมื่อแสดงอสังขตะและทางแห่งอสังขตะนี้ ชื่อว่าทำกิจแก่เธอทั้งหลายแล้ว กิจคือการแสดงธรรมไม่วิปริตของศาสดาผู้อนุเคราะห์ ก็เพียงนี้เท่านั้น. 

         

   บทว่า ฌายถ ความว่า จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๓๘ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นด้วยลักขณูปนิชฌาน โดยเป็นอนิจจลักษณะเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า จงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา

  ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใดที่คล้อยตามจริตของกุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานที่กุลบุตรนั้นควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ 

อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน.

          อรรถกถาวรรคที่ ๑               
               บทว่า อสํขตํ ได้แก่ อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว. 
               บทว่า หิเตสินา แปลว่า ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. 
               บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า อนุเคราะห์อยู่. 
               บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ความว่า กำหนดด้วยจิตคิดช่วยเหลือ. ท่านอธิบายว่า อาศัย ดังนี้ก็มี. 
               บทว่า กตํ โว ตํ มยา ความว่า ศาสดาเมื่อแสดงอสังขตะและทางแห่งอสังขตะนี้ ชื่อว่าทำกิจแก่เธอทั้งหลายแล้ว กิจคือการแสดงธรรมไม่วิปริตของศาสดาผู้อนุเคราะห์ ก็เพียงนี้เท่านั้น. 
               ส่วนการปฏิบัติต่อจากนี้ เป็นกิจของสาวกทั้งหลาย. 
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอตานิ ภิกฺขเว รุกฺขมูลานิ ฯเปฯ อมฺหากํ อนุสาสนี ดังนี้ ด้วยบทนี้ ทรงแสดงเสนาสนะคือโคนไม้. 
               ด้วยบทว่า สุญฺญาคารานิ นี้ ทรงแสดงสถานที่ที่สงัดจากชนและด้วยบททั้งสองทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางกายและใจ ชื่อว่าทรงมอบมรดกให้. 
               บทว่า ฌายถ ความว่า จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๓๘ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นด้วยลักขณูปนิชฌาน โดยเป็นอนิจจลักษณะเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า จงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา. 
               บทว่า มา ปมาทตฺถ แปลว่า อย่าประมาท. 
               บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ความว่า ชนเหล่าใด เมื่อก่อนเวลาเป็นหนุ่มไม่มีโรค สมบูรณ์ด้วยความสบาย ๗ อย่างเป็นต้น ทั้งศาสดาก็อยู่พร้อมหน้า ละเว้นโยนิโสมนสิการเสีย เสวยสุขในการหลับนอน ทำตัวเป็นอาหารของเรือดทั้งคืนทั้งวัน ประมาทอยู่ ชนเหล่านั้น ภายหลัง เวลาชรา มีโรค ตาย วิบัติ ทั้งศาสดาก็ปรินิพพานแล้ว นึกถึงการอยู่อย่างประมาทก่อนๆ นั้น และพิจารณาเห็นความตายที่มีปฏิสนธิว่าเป็นเรื่องหนัก ย่อมเดือดร้อน แต่เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นเช่นนั้น 
               พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงดังนี้ จึงตรัสว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ ดังนี้. 
               บทว่า อยํ โว อมฺหากํ อนุสาสนี มีอธิบายว่า นี้เป็นอนุศาสนีคือโอวาทแต่สำนักของเราเพื่อเธอทั้งหลายว่า ฌายถ มา ปมาทตฺถ จงเพ่ง อย่าประมาท ดังนี้.

                    จบอรรถกถาวรรคที่ ๑     

[กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]       
        
               กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐานมีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควรบริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้นที่ชื่อว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน ได้แก่เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้นและมรณัสสติ (การระลึกถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง. 
               จริงอยู่ ภิกษุผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไปในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา, ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่าสรรพสัตว์กระทั่งถึงชาวบ้านในโคจรคามนั้น. 
               แท้จริง ภิกษุนั้นทำพวกชนผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะมีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลายผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตาในอิรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตาในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูกอะไรๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์. 
               อนึ่ง เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควรเสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา. 
               เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑) นั้นของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่าสัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่าเป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือพึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐานแห่งการหมั่นประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้. 
               ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใดที่คล้อยตามจริตของกุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน เพราะเป็นกรรมฐานที่กุลบุตรนั้นควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน. 
               ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้. 
               ส่วนความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่าด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

               [ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]

               อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี, เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา. 
               จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น. ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น.

อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท

พระพุทธสิหิงค์

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปหล่อหุ้มทอง ปางสมาธิ ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้ากรุงลังกาองค์หนึ่งได้สร้างขึ้นไว้ ต่อมาเจ้านครศรีธรรมราช ได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
• เมื่อพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่กรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่ เมืองกำแพงเพชร และที่เชียงราย

• เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่ พร้อมกับพระแก้วมรกต

• เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา ๑๐๕ ปี

• เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ข้างพม่า ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่
• เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท จึงได้โปรดให้อัญเชิญลงมายังกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๘ โดยประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบวรราชวัง

อารมณ์ของจิตมีจริตอยู่ ๖ อย่าง

..=>คำสอนหลวงพ่อเรื่อง "สุดแต่กำลังใจ"<=.. 

     .. ต่อนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัท
ทั้งหลายฟังคำแนะนำในการเจริญ
กรรมฐานสักครู่หนึ่ง (๓๑ พ.ค. ๒๕๒๙)
สำหรับการเจริญพระกรรมฐานทั้งหมด
ตามแบบนั้นมีอยู่มาก 

     แต่ละแบบก็มีความมุ่งหมายอย่าง
เดียวกัน คือต้องการให้บรรดาท่านพุทธ
บริษัทได้บรรลุมรรคผล อันดับต้นก็เป็น
ฌานโลกีย์เหมือนกัน ต่อมาก็เป็นพระ
โสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี 
พระอรหันต์ 

     นี่การปฏิบัติพระกรรมฐาน บางท่าน
ก็คิดว่าสำนักโน้นทำแบบนั้น สำนักนี้ทำ
แบบนี้ แต่ความจริง "พระพุทธเจ้าตรัสวิธี
ปฏิบัติไว้มาก ทั้งนี้ ก็เพราะว่าสุดแล้วแต่
อัธยาศัยของบรรดาท่านพุทธบริษัท" 

     คำว่า "อัธยาศัย" ก็หมายถึงว่า 
"บุญเก่า" บุญเก่าแต่ละคนปฏิบัติมาไม่
เหมือนกัน ในเมื่อการปฏิบัติมาไม่เหมือน
กัน อัธยาศัยหรือความต้องการก็ไม่เหมือน
กัน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า 
คนที่เกิดมาในโลกนี้ อารมณ์ของจิต
มีจริตอยู่ ๖ อย่าง 
     ๑."ราคะจริต" รักสวยรักงาม
     ๒."โทสะจริต" โกรธง่าย
     ๓."โมหะจริต" ซึม
     ๔."วิตกจริต" นี่ก็ซึมเหมือนกัน
     ๕."ศรัทธาจริต" เชื่อง่าย
     ๖."พุทธจริต" มีความฉลาด

     ความจริงจริตทั้ง ๖ ตัวนี้มีด้วยกัน
ทุกคน แต่ว่าท่านผู้ใดที่จะมีจริตอย่างไหน
หนักนำหน้า อย่างบางท่านมี "ราคะจริต" 
นำ คนประเภทนี้ใครจะทำอะไรก็ตาม 
ปกติต้องสวยสดงดงามอยู่เสมอ 

     คำว่า "ราคะจริต" ไม่ได้หมายความว่า
มักมากในกามคุณ หมายถึงการรักสวย
รักงาม รักความมีระเบียบ 

     ถ้า "โทสะจริต" นำหน้า มีอะไรนิดอะไร
หน่อยก็มักจะโกรธ 

     ถ้ามี "โมหะจริต" นำหน้า หรือ 
"วิตกจริต" นำหน้า สองอย่างนี้มีอาการ
ซึม คิดอะไรไม่ออก 

     ถ้ามี "ศรัทธาจริต" นำหน้า เขาพูด
อะไรก็เชื่อ ลืมพิจารณาเหตุผล 

     ถ้ามี "พุทธจริต" นำหน้า เป็นคน
ฉลาดมาก 

     รวมความว่าจริตทั้ง ๖ ก็มีในคนทุกคน 
บางคราวจะมีความรักสวยรักงาม บาง
คราวก็ใจเย็น บางคราวก็โมโหโทโสง่าย 
บางครั้งคิดอะไรไม่ออก บางคราวก็เชื่อง่าย
ไร้เหตุผล บางครั้งก็มีความเปรื่องปราด
ในสมอง ใครพูดอะไรมาก็เข้าใจ 

     รวมความว่าจริตของคนจริงๆ มี 
๖ อย่าง แต่ว่าใครจะมีจริตใดนำหน้า 
พระพุทธเจ้าให้ทำลายจริตนั้นก่อน ถ้าจริต
ที่มีกำลังสูงมากอับปางลงหรือสิ้นกำลังลง 
จริตที่เหลืออยู่ทั้งหมดก็ไม่สามารถทรงตัว
อยู่ได้ 

     ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำ
กรรมฐานไว้ถึง ๔๐ อย่าง ๔๐ นี่ก็หมาย
ถึงว่า ท่านตรัสเฉพาะจริต และเกินกว่า
จริตใน ๔๐ อย่างนี่ 

     สำหรับ "ราคะจริต" ทรงให้ตัดด้วย
กรรมฐาน ๑๑ อย่าง มี "อสุภ ๑๐ ประการ" 
และ "กายคตานุสสติ" 

     สำหรับ "โทสะจริต" ให้ตัดด้วย
กรรมฐาน ๘ อย่าง คือ "พรหมวิหาร ๔" 
กับ "วรรณกสิณ ๔" 

     "โมหะจริต" กับ "วิตกจริต" ใช้ 
"อานาปานุสสติ" อย่างเดียว 

     "ศรัทธาจริต" ใช้ "อนุสสติ ๖ อย่าง" 

     แล้วก็ "พุทธจริต" ใช้ "กรรมฐาน ๔ 
อย่าง" 

     รวมแล้วกรรมฐานเฉพาะจริตนี่
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ๓๐ อย่าง เหลืออีก ๑๐ 
อย่าง เป็นกรรมฐานกลาง กรรมฐานกลาง
นี่คนจะมีจริตแบบไหนก็ตามทำได้ทุกอย่าง 
ทำได้ทุกคน มีผลเท่ากัน 

     รวมความว่ากรรมฐานที่พระพุทธเจ้า
ทรงสอนไม่ใช่มีอย่างเดียว ต้นใหญ่จริงๆ 
มี ๔๐ เมื่อต้นไม้มี ๔๐ ต้น ต้นไม้ที่งาม 
ก็ต้องพิจารณาว่า กิ่งมีกี่กิ่ง ก้านมีกี่ก้าน 
ใบมีกี่ใบ 

     พระพุทธเจ้าทรงแนะนำว่า ถ้าบุคคล
ใดที่อารมณ์หนักมาก ก็ต้องสอนกรรมฐาน
ต้น ถ้ามีบุญวาสนาบารมีดีขึ้น ใกล้จะบรรลุ
มรรคผลก็สอนแค่เบาๆ แค่ใบหรือก้าน
เล็กน้อย 

     อย่าง "ท่านวักกลิ" พระพุทธเจ้าสอน
คำเดียวว่า "วักกลิ บุคคลใดเห็นธรรม 
บุคคลนั้นชื่อว่าเห็นตถาคต" เพียงเท่านี้ 
"ท่านวักกลิ" ก็บรรลุพระอรหันต์

     หรือว่า "ท่านพาหิยะ" พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า "พาหิยะ เธอจงอย่าสนใจในรูป" 
แค่นี้ท่านบรรลุอรหันต์ 

     แค่ใบเดียวใบเล็กๆ นะ เห็นไหม

     อย่างกับท่านปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ 
อาศัยที่เป็นนักปราชญ์เป็นคณาจารย์อยู่
มาก ต้องสอนกรรมฐานไม่ใช่แค่ต้น ต้อง
ขุดรากมาเลย ล่อธรรมจักรทั้งหมด แค่
ธรรมจักรเราสวดกันไม่ต้องคุยก็เหนื่อย
แล้วนะจนจบ 

     เมื่อสอนธรรมจักรทั้งหมดนี่ยาวมาก 
เพราะเป็นคณาจารย์มาก ถึงอย่างนั้นก็ดี
เมื่อสอนจบแล้วมี "ท่านอัญญาโกณ
ฑัญญะ" องค์เดียวเป็นพระโสดาบัน 
อีก ๔ องค์ยังไม่ได้อะไรเลย 

     ต้องสอนปกิณกะเล็กๆ น้อยๆ ไปอีก
ตั้งหลายวันจึงบรรลุมรรคผลเป็นพระ
อรหันต์ทั้งหมด รวมความว่ากำลังของคน
ไม่เสมอกัน พระพุทธเจ้าจึงจำเป็นต้องสอน
กรรมฐานไว้มาก 

     ทีนี้บังเอิญเราไปเห็นใครเขาปฏิบัติ
ไม่เหมือนของเรา ก็จงอย่าคิดว่าสำนักนั้น
สอนผิด หรือใครเขาเห็นเราไม่เหมือนเขา 
เขาหาว่าเราผิดบ้าง ก็เป็นเรื่องของเขา 
ใช่ไหม 

     รวมความว่า จงอย่าถือว่าใครผิดใคร
ถูก ให้ถือว่ากรรมฐานทุกกองพระพุทธเจ้า
สอนมุ่งหวัง 

     ๑.ฌานโลกีย์เป็นอันดับแรก แล้วก็
     ๒. มุ่งหวังความเป็นพระอริยเจ้า ตั้งแต่
พระโสดาบันขึ้นไป จนถึงพระอรหันต์ ..

(พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
ที่มาจาก.. ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๔๒๗ หน้าที่ ๘๒-๘๔

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ อย่าง

🚩🚩อภิณหปัจจเวกขณ์
#ธรรมที่พระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติ มันดีเราก็ปฏิบัติตาม ถ้าทำได้อย่าง
นี้ก็เดินเข้าไปหาความเป็นผู้วิเศษ วิเศษตรงไหน
#วิเศษที่กายไม่เลว #วิเศษที่วาจาไม่เลว #วิเศษที่ใจไม่เลว

#วันนี้ว่ากันถึงอภิณหปัจจเวกขณ์ ๕ อย่าง ที่ท่านบอกให้พิจารณา
เนื่อง ๆ ทุกวันไป แต่จะไม่ว่าบาลี มันเกะกะ เป็นภาษาไทยๆ สบายกว่า อภิณห
ปัจจุเวกขณ์นี้ท่านบอกว่ามี ๕ อย่าง คือ
✨๑. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า "เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
ความแก่ไปได้" อันนี้เป็นวิปัสสนาญาณนะ
✨๒. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า "เรามีความเจ็บคือการป่วยไข้ไม่สบาย
เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้"
✨๓.​ ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า "เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
ความตายไปได้"
✨๔.​ ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า "เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของ
ชอบใจทั้งสิ้น"
✨๕. ควรพิจารณาทุกๆ วันว่า "เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี
ทำชั่วจักได้ชั่ว"

#ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เราควรพิจารณาทุก ๆ วัน อยากจะเติมอีก
สักนิดว่า #ทุกลมหายใจเข้าออก ดีไหม?

#ถ้าจะให้ดีนะ เอาตามแบบที่เขาปฏิบัติกัน เขาพิจารณากันแบบนี้
๑.​ พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา ก็มานั่งดูใจของเรา ใจมันคิดอย่างไร มัน
อยากสงบก็จับอานาปาเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปมันพอใจกรรมฐานกองไหนที่จะ
ภาวนาควบกับอานาปา หรือว่าต้องการทรงเฉยๆ ก็ตามใจ พอใจอย่างไรทำ
อย่างนั้นให้จิตสงบถึงที่สุด อารมณ์ทรงตัวเป็นฌานสูงดี จิตว่างจากนิวรณ์
จิตว่างจากกิเลส ใช้ได้

#บางวันพอทำไปจิตมันสบาย อารมณ์มันอยากจะคิด เราก็คิดในเรื่อง
#อภิณหปัจจเวกขณ์" บางทีพอตื่นจิตมันอยากจะคิดเลย ก็คิดเลย อารมณ์ที่
คิดอยู่ถึงเรื่องนั้นๆ โดยไม่มีเรื่องอื่นเข้ามาแทรก ท่านเรียกว่า #เอกัคคตารมณ์
เป็นอารมณ์ของฌาน คือ #ปฐมฌาน

#บางทีคิดๆ ไป พิจารณาไป อารมณ์สมาธิมันรัดตัวเข้ามาทุกที่ ในที่สุดมันหยุดคิด ทรงอารมณ์เฉย ถ้าหยุดคิดทรงอารมณ์เฉยนั้น​ หมายความว่า จิตของท่านเข้าถึงฌาน #ตั้งแต่ทุติยฌานขึ้นไป

#หรือบางคราวพอตั้งอารมณ์สงบแล้วจิตอยากคิด ก็คิดใคร่ครวญพิจารณา พออารมณ์ซ่าน ทิ้งอารมณ์คิดมาจับอานาปาใหม่ให้จิตทรงตัว​ สลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ความเป็นอรหันต์จะมาถึงท่านไม่ช้าเลยนี่ขอยืนยัน​ มันเป็นของไม่ยาก

#กาย ร่างกายทั้งหมดมันสกปรกทั้งหมด มันเป็นอนิจจัง หาความเที่ยงไม่ได้ มันเป็นทุกขัง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ช้ามันก็พัง
✨๑. เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ แก่มันอยู่ตรงไหน แก่ที่เวลามันสิ้นไปหนึ่งวินาทีแก่หนึ่งวินาที ผ่านไปหนึ่งนาทีก็แก่ไปหนึ่งนาที มันเดินเข้าไปหาความตาย แก่ไปเสื่อมไปทุกวันเวลา สร้างความรู้สึกให้
เป็นสภาพอย่างนี้เป็นปกติ

#โดยมากปุถุชนคนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส ตนเองจะแก่หงำเหงือก
เท่าไรก็มองไม่เห็นแก่ แก่บนแก่ล่าง กลางไม่แก่ คือ ใจไม่แก่ นึกว่าเป็น
หนุ่มเป็นสาวอยู่เสมอ นี้มันจอมบรมโง่ เขาจึงเรียกปุถุชน สัญญามันก็ไม่ดีอย่า
ว่าแต่ปัญญาเลย คนประเภทนี้เกิดอีกหลายแสนชาติก็ไม่พ้นอบายภูมิ ไม่พ้น
จากความทุกข์ ปัญญาไม่มีไม่ว่า แถมสัญญาความจำก็ยังไม่มี
ควรจะจำว่าเกิดมาใหม่ ๆ ตัวมันโตเท่าไร สภาพเป็นยังไง เป็นเด็กขึ้นมาหน่อยเด็กใหญ่วิ่งได้ ต่อมาเป็นหนุ่มเป็นสาว กลายจากความเป็นหนุ่มสาวก็เริ่มทรุดโทรม ถ้าไม่เห็นตัวเองก็มองคนอื่นเป็นครู
#นี่มันตัวสัญญา #ความจำ

#แต่ความรู้สึกอย่างนี้ไม่มี มันยังจำไม่ได้ก็แสดงว่าบรมโง่แล้ว​ จอมโง่​ ยอดโง่ เป็นแชมป์โง่ แชมป์นี้เขาแปลว่าอะไรนะ สมัยพระพุทธเจ้าตามบาลีว่า
#เอกทัคคะ​ #ผู้เป็นเลิศในทางความโง่

✨๒. เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา อาการของเจ็บมันอย่างหนึ่ง โรคมันอย่างหนึ่ง โรคนิทธัง เป็นรังของโรค โรค" เขาถือว่ามีอาการเสียดแทง​ เมื่อยโน่นปวดนี้ หนาวที่นั่น ร้อนที่นี่ คันที่โน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าโรคนี้มีทุกวัน #ชิคัจฉา #ปรมา #โรคา​ #ความหิวเป็นโรคอย่างหนึ่ง นี่เอาเฉพาะกายนะ

#ถ้าอารมณ์มันหิว เป็นบ้าเลย บางทีหลับแล้วยังหิวคือฝัน กายนี้มันหิวทั้งวัน กินเช้า กินสาย กินบ่าย แล้วก็กินเย็น กินกลางคืน ดีไม่ดีตื่นขึ้นมาม​ แล้วลุกขึ้นมากินอีก

#กินเข้าไปแล้วมันจะออก ปวดท้องอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นนิพัทธทุกข์
ทุกข์เนื่องนิจ พิจารณาแล้วอย่านึกมันเฉยๆ มองมันไปด้วย มองว่ามัน
เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ป่วยไข้ไม่สบาย มันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ แก่เป็นสุข
หรือเป็นทุกข์ ตอนเช้ามืดนี้ล่อมันให้ช่ำพิจารณาถึงตัวเรา พิจารณาถึงคนอื่น

#มองดูคนที่เรารัก พิจารณาว่าเป็นอาการ ๓๒ ขี้สวยไหม เยี่ยวสวย
ใหม เลือดสวยไหม น้ำหนองเสมหะสวยไหม น้ำลายสวยไหม ไอ้นี่ข้างใน เอ้า
เสียงด่าสวยไหม นั่งพิจารณาไป คิดให้มันเห็นให้มันซึ้งค่อยๆ คิด อาการ
เสียดแทง ร่างกายเป็นโรคนิทธัง เป็นรังของโรค พิจารณาไว้ทุกวันเวลาให้
เห็นความทรุดโทรมความไม่ดีทุกขเวทนาเป็นปกติ มองคนอื่น มองสัตว์อื่นให้เห็นตัวทุกข์

✨๓. เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ความตาย
นี่เขาให้คิดถึงลมหายใจเข้าออก สิ่งที่มันตายไปปัจจุบัน คือลมหายใจ​ เราหายใจออกแล้วมันพังไปแล้ว มาข้างในลมที่สูดเข้าไปใหม่นี่ มันไม่ใช่ลมเก่า
เป็นลมใหม่ มันเกิดใหม่ เกิดเดี๋ยว​เดียวเอาออกไปอีก แล้วพังไปอีก นี่ลมพัง​ ธาตุลมพัง

#ธาตุไฟก็พัง มันทำให้กายอบอุ่น มันอุ่นแล้วก็แล้วไป หายไป มันเกิดใหม่ก็ทรงความอุ่น ถ้าเชื้อไม่ดีความอุ่นน้อย ก็เริ่มหนาวละชิ

#..ธาตุดิน ธาตุน้ำ มันพังทุกวัน ร้อนเหงื่อไหล ธาตุน้ำพัง หายไปแล้ว
ตายไปแล้วของเก่า น้ำลายไหลออกมา บัวนน้ำลาย ของเก่าหมด น้ำพังไป
อีกแล้ว น้ำตาไหลน้ำมูกไหลมันหายไปแล้ว พัง ถ่ายปัสสาวะออกมาแล้ว โอ้โฮ
น้ำเก่าตายไปซะอีกแล้ว ถ่ายอุจจาระออกมามีน้ำตาย

#..ธาตุดินตาย มันเหี่ยวแห้งลงไป ที่เรากินเข้าไป กินข้าวใหม่อาหาร
ใหม่เข้าไปให้มันเกิดใหม่สร้างใหม่ ของเก่าก็สลายตัวไป ถ่ายออกไปบ้าง
เสื่อมไปโทรมไปบ้าง นี่ร่างกายมันร่อยหรอทุกวัน นี่มันตาย
ของเก่าตายเรื่อยๆ เราต้องหาของใหม่มาเพิ่มเรื่อย อาการที่หาของ
ใหม่นี่มันเป็นสุขหรือทุกข์ แล้วเราต้องสั่งสมสร้างเสริมมันทุกวันๆ มัน
เหน็ดเหนื่อย เป็นอาการของความสุขหรือความทุกข์

#..จงจำไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าความตายไม่มีนิมิตไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีกาล
เวลาแน่นอน มันจะตายเมื่อไรก็ได้ เตรียมตัวเพื่อตายเตรียมอย่างไร ก็เตรียมว่า
"ชาติปิทุกขา" ความเกิดเป็นทุกข์
" ชราปิทุกขา" ความแก่เป็นทุกข
"มรณัมปิทุกขัง" ความตายเป็นทุกข์ แล้วก็จะเกิดทำอะไรอีกล่ะ ทุกข์ ถ้าเราไม่ต้องการความเกิดทำอย่างไร
"ตัดโลภะ"ความโลภ โลภมันทำเกลืออะไร มันจะตายอยู่แล้ว
"ตัดโทสะ" ความโกรธ จะโกรธไปหาจวักอะไร ก็มันจะตาย
" ตัดโมหะ" ความหลง จะไปเกาะอะไรว่าเป็นเราเป็นของเราอีกล่ะ มันต่างคนต่างตาย โง่ชิ

✨๔..เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบทั้งสิ้น จำไว้ว่า อะไรที่เรารักต้องพลัดพรากจากมัน พ่อแม่ พี่น้อง ปู่ทวด ญาติ ตายไปกี่คนแล้ว ของที่เรารัก เงินทองที่หามาได้ เราพลัดพรากจากกันทุกวัน ใช้ไปสิบสตางค์ก็พลัดพรากจากมันไปสิบสตางค์ ของที่เราหามาเพื่อกินอร่อยๆ เช่น ข้าว หมู​ เป็ด ไก่ ผัก ปลา เรา ก็หมดไปกี่วันเป็นเท่าไร นั่นมันพลัดพรากจากกัน พ้น
ไม่ได้เมื่อความตายมันเข้ามาถึง

✨๕..เรามีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ทำดีมันเสียอย่างเดียวหมดเรื่อง ทำดีทำอะไร

"ตัดความโลภ" ขึ้นชื่อว่าความโลภ ละโมบโลภมาก ชั่วช้าเลวทราม
คดโกง คอรัปชั่น ไม่มีสำหรับเรา ยินดีเฉพาะทรัพย์สินที่หามาได้โดยชอบธรรม
และจิตไม่ติดในมัน คิดว่ามันกับเราจะจากกันเสมอ

"ตัดโทสะ" ความโกรธ มีแต่อารมณ์เมตตา ความรัก กรุณา สงสาร
มุทิตา พลอยยินดีด้วย ไม่อิจฉาริษยาเขา เขาได้ดีพลอยยินดี

"ไม่มีโมหะความหลง" เราจะวางเฉยได้ถ้าโมหะความหลงไม่มี เฉยให้
หมด เฉยไม่โลภ เฉยไม่โกรธ เฉยไม่ห่วงกาย "กายจะแก่ก็เชิญแก่จ๊ะ" ใจเป็นสุข
มันอยากจะแก่นี่ "กายมันจะป่วยก็เชิญจ๊ะ​" ก็เธออยากป่วยก็ป่วยไปซิ ฉัน
รักษาหายก็หาย ไม่หายตายและช่างมัน กายมันจะตายก็เฉย จิตใจไม่มีความผูกพันในกาย กายที่เต็มไปด้วยความสกปรก กายที่เป็นปัจจัยนำมาซึ่ง
ความทุกข์ กายเราก็ดี กายคนอื่นก็ดี วัตถุทั้งหลายก็ดี เราก็เฉยหมด คิดเสียว่า
ของทั้งหมดในโลกเป็นปัจจัยของความทุกข์ ไม่นำความสุขมาให้ แล้วเราจะ
ห่วงใยมันเพื่อประโยชน์อะไร มันจะพังเมื่อไรก็เชิญพัง เราอาศัยมันชั่วคราว
พังเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น

"ถ้าพิจารณา​อย่างนี้​ ถ้าได้ทรงตัวจริงๆ​ อารมณ์​ทรงตัว​ ถ้าไม่ไปนิพพาน​ก็บ้าล่ะ​ วันนี้​เป็นอารมณ์​ของพระอรหันต์​ที่จะเข้านิพพาน​" จำให้ดีนะ"อย่าคิดว่าธรรมะที่อ่านอยู่นี่มันเป็นเครื่องประดับความรู้

ถ้าอย่างนั้นอย่าอ่านให้ปวดตา​ เปลืองเวลา​ หาทางเดินลงนรกให้มันสบายๆ​ อย่างนี้เขาสอนใจเพื่อนิพพาน
ธรรมขององค์​สมเด็จ​พระพิชิตมารทุกข้อที่ท่านว่าดีนี่ทำแล้วถึงพระนิพพาน​ทั้งหมด

🖊️📖จากหนังสือ​ พ่อสอนลูก​(เล่มสีทอง)​ หน้าที่​ ๓๓๙~๓๔๔
🙏🙏พระธรรม​คำสอนหลวงพ่อ​พระราชพรหมยาน​ วัดจันทาราม​ (ท่าซุง)​ จังหวัด​ อุทัยธานี

🖊️พิมพ์​พระธรรม​โดย​ นภา​ อิน🙏🙏

อัฐิพระอริยบุคคล แปรเป็นพระธาตุ

(คติธรรม หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
(วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย)

ผู้เขียน : เกี่ยวกับพระธาตุ เป็นที่แปลกอยู่ว่า เส้นผมของหลวงปู่หลวงพ่อ ในสายกรรมฐานที่สิ้นไปแล้ว ลูกศิษย์ได้เก็บเอาไว้บูชา ต่อมาค่อยๆ รวมตัวกัน จับตัวเป็นก้อนเท่าเม็ดพุทรา จากนั้นจะกลายเป็น "พระธาตุ" ได้ไหมครับ ?

หลวงปู่ : เป็นไปได้ ของหลวงปู่หลุย ก็ได้มีลูกศิษย์บางคนเก็บเอาไว้ ต่อมาได้รวมตัวเป็นก้อนกลม แล้วอีกระยะหนึ่ง ถึงค่อยแปรเป็นพระธาตุ อย่างของพระอาจารย์จวน ส่วนใดที่เป็นพระธาตุแล้ว คุณสุรีพันธุ์(คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต)ก็จะเอาใส่ผอบไว้ แล้วตั้งเรียงเอาไว้บูชา ส่วนที่ยังไม่เป็น ก็เอาใส่ขวดโหลไว้ บัดนี้กระดูกที่เป็นผงนั้น ก็ได้ค่อยรวมตัวกันเป็นก้อน เท่าเม็ดพุทรา เท่ากันหมดทั้งโหลเลย เราได้เห็น ก็เลยเชื่อว่า เป็นได้จริงอย่างนั้น แต่ที่มาเห็นเป็นแก้วใส อยู่ในผอบตามที่ต่างๆ เราก็ไม่แน่ใจว่า เขาจะเอาแก้วอะไรที่ไหนมาใส่ไว้ ทีแรกไม่ค่อยเชื่อ แต่พอมาเห็นที่ขวดโหลใหญ่ จึงเชื่อมั่นว่าเป็นไปได้ เถ้ากระดูกเหล่านั้น จะค่อยเกาะยึดแน่นเป็นก้อนกลม เช่นเดียวกันกับเส้นผม 

ที่เป็นชาวบ้านธรรมดาก็มี แปลกอยู่เหมือนกัน บางคนเมื่อมีชีวิตอยู่ เขาก็สวดมนต์ภาวนา ถือศีลทำบุญตามปกติ แต่พอตายไป เมื่อเผาแล้ว ปรากฏว่ากระดูกบางส่วน ได้กลายเป็นแก้ว บางคน ก็คล้ายกับว่า มีทองมาหุ้ม มีสีทองเป็นแวว คงเป็นเพราะ มีศีลบริสุทธิ์ แต่ในตำรา ไม่ได้มีบอกไว้ว่า เป็นบุคคลระดับใด ซึ่งอาจจะเป็นอริยบุคคลแล้ว เวลาตายไป กระดูกจึงจะกลาย เป็นพระธาตุ

อาตมาก็ไม่กล้ายืนยัน กล้ายืนยันเฉพาะของ พระพุทธเจ้า ในสมัยนี้ ก็พอมีหลักฐานยืนยันได้ว่า กระดูกของพระสาวก ก็แปรเป็นพระธาตุได้ อย่างของหลวงปู่มั่น ก็ใสเป็นแก้ว ของหลวงปู่พรหม จะเป็นเม็ดกลม มีสีดำเป็นนิล ของหลวงปู่ขาว จะเหมือนพลอย ของหลวงปู่แหวน ดูเหมือนว่า จะเป็นแก้วใส เร็วกว่ารูปอื่น ของหลวงปู่สาม ก็แปรเป็นพระธาตุเหมือนกัน จะช้าเร็ว ก็แต่ละรูป แต่แปลกที่ว่า ไม่ได้แปรทั้งหมด คงแปรเฉพาะ ที่ลูกศิษย์ใกล้ชิดกับท่าน เก็บแบ่งไว้เท่านั้น ส่วนใหญ่ ยังไม่ได้แปรเป็นพระธาตุ ของหลวงปู่ตื้อก็เป็นพระธาตุ ของท่านนี้ มีลูกศิษย์คนหนึ่งได้ไปงานเผาศพท่าน และก็ได้เก็บ เอาผงเถ้าถ่านจากเมรุที่เผาเป็นชิ้นเล็กๆ เอามาใส่ไว้ ในตลับยาหม่อง เอาสำลีรองไว้ ต่อมาอีกประมาณหนึ่งปี ผงถ่านเหล่านั้น ได้จับตัวเป็นก้อนเล็กๆ หลายก้อน อีกระยะหนึ่ง จึงได้กลายเป็นพระธาตุ แต่ไม่ใส เป็นสีน้ำตาล อาจเฉพาะ รวมจากผงเถ้าหลายอย่าง กระดูกบ้าง ไม้บ้าง พระธาตุเหล่านี้ บางรูปก็มีปาฏิหาริย์ แบ่งแยกได้เองก็มีมาก เป็นเรื่องของการอธิษฐาน และความเชื่อมั่น

มาตัวเปล่าแล้ว ก็ไปตัวเปล่า

ตอนมา : เจ้ามาคนเดียว
ตอนไป : เจ้าก็ไปคนเดียว
ตอนมา : เจ้าอ่อนแอ
ตอนไป : เจ้าก็อ่อนแอ
ตอนมา : เจ้าไม่มีเงินทองข้าวของมากมาย
ตอนไป : เจ้าก็ไม่มีเงินทองข้าวของอะไรเลย
ตอนเจ้าอาบน้ำครั้งแรก มีคนอาบให้เจ้า
ตอนเจ้าอาบน้ำครั้งสุดท้าย ก็มีคนอาบให้เจ้า
นี่คือ ความจริงของชีวิต !!!
.
แล้วทำไมมนุษย์เราจึงมีเต็มไปด้วย
ความอาฆาตพยาบาท อิจฉาริษยา
เกลียดชัง ขุ่นเคือง หยิ่งทะนง โลภ
และเห็นแก่ตัวมากมาย ขนาดนั้นไปทำไมกัน
เพราะตอนที่เราต้องจากไป
เราก็เอาอะไรไปไม่ได้เลยแม้แต่อย่างเดียว
มีแต่บุญและบาปเท่านั้น ที่จะติดตัวเจ้าไปสู่ภพใหม่
.
คำสอนสุดท้ายก่อนพระพุทธองค์
จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

พระองค์ตรัสสอนไว้ว่า "จงอย่าประมาท"
1. อย่าประมาทในชีวิตว่าจะยืนยาว
2. อย่าประมาทในวัยว่ายังหนุ่มยังสาว
3. อย่าประมาทในสุขภาพว่ายังแกร่งกร้าว
4. อย่าประมาทในเวลาว่ายังเหลือมากเกินจะกล่าว
5. อย่าประมาทในธรรมะและบุญกุศลว่า
    "เอาไว้ก่อน วันหลังค่อยทำ"

ใครก็ตามที่ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
คนคนนั้นได้ชื่อว่า เป็นผู้ใช้ชีวิตที่คุ้มค่าที่สุด
ส่วนใครก็ตามที่ประมาท พระพุทธเจ้าตรัสว่า
เป็นคนที่ตายไปแล้วครึ่งตัว

คำถามสำคัญที่สุด
ที่เราจะถามตัวเองก่อนจากโลกนี้ไป
ก็คือ ท่านได้เตรียมตัวให้พร้อม
ต่อการจากลาโลกนี้ไปแล้วหรือยัง ?
.
มาตัวเปล่าแล้ว ก็ไปตัวเปล่า
ตายแล้ว เอาอะไรไปไม่ได้เลย
ตายแล้วไปไหน คนเราเกิดมาทำไม
จงอย่าประมาทในการใช้ชีวิตเลย !!!

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2565

จิตดวงสุดท้าย

เคยได้ยินเรื่อง "จิตดวงสุดท้าย" ไหม?
ก่อนที่จะวูบดับจากโลกนี้ไป
จิตมันยึดอยู่กับอะไร
ก็หลงติดอยู่กับสิ่งนั้นแหละ
ปัจจุบันเห็นคนฆ่าตัวตายกันมาก
มีข่าวกันทุกวันเรื่อยๆ​ เยอะมากเลย

หลายคนมีความเจ็บปวด​
มีความทุกข์มาก​ จนอยากจะหนีปัญหา​
แล้วเลือกที่จะจบชีวิตก่อนวัยอันควร​
เพื่อหนีปัญหา

... แต่ปัญหาไม่ได้จบหรอกโยม

#ดวงจิตดวงสุดท้ายยึดโยงอยู่กับอารมณ์ใด
#เมื่อละจากโลกนั้นไป
#จิตก็จะติดอยู่กับอารมณ์นั้นเอง

ถ้าตายไปกับความเศร้า... 
จิตก็อยู่กับความเศร้า
แต่ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่
เรายังมีโอกาสหลุดออกมา

แต่ถ้าตายแบบนั้น
โยมจะติดอารมณ์อยู่อย่างนั้นไปนานเลย

ภพภูมิสัมภเวสี...
ก็เหมือนความฝัน​ ติดอยู่อย่างนั้น
จนกว่าจะตื่นขึ้นมาแล้วหลุดออกไป

ยังไม่ได้ไปวงจรสุคติภูมิ หรือทุคติภูมิด้วย
มันติดค้าง เป็นมิติที่ซ้อนเหลื่อม
อยู่กับภพภูมิมนุษย์ ..ใกล้เคียงกันมาก

ซึ่งตรงนี้​ จะเกี่ยวกับเรื่องพันธะยึดโยงต่างๆมาก
คือจิตที่ติดอยู่ ไม่ได้ผุด ไม่ได้ไปเกิดนั่นแหละ
แต่ติดอยู่ตรงนี้ มันจะเยอะมาก

อย่างสนามรบ หรืออะไรก็ตามที่จิตมันยึดติดอยู่
ก็ติดอยู่อย่างนั้นแหละโยม
... แล้วติดกันมานาน

โยมเคยฝันร้ายไหม? แต่มันไม่ตื่นสักที
ติดอยู่อย่างนั้นไปตลอด
กว่าจะได้หลุดมาก็ไม่รู้เมื่อไหร่
นั่นคือสภาวะของมิติ​ ในภพสัมภเวสี

แต่ถ้าคนฝึกสติปัฏฐานน่ะโยม
มันหลุดได้.. มันตื่นได้
โยมว่าสำคัญไหมล่ะ ดวงจิตดวงสุดท้าย? 

#แต่ถ้าโยมฝึกสติปัฏฐานมันพลิกได้เลย
#พลิกเป็นวิหารธรรมที่ตื่นรู้ได้เลย

เพราะฉะนั้นการฝึกสติปัฏฐาน
จะเปลี่ยนจากจิตที่เศร้าหมอง
เป็นจิตที่ผ่องใสได้

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
"เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติเป็นอันหวังได้
เมื่อจิตผ่องใส สุคติเป็นอันหวังได้​" 

แล้วในแต่ละวัน ถ้าโยมไม่ฝึกสติปัฏฐาน
เรื่องเยอะไหมในชีวิต? 

ถ้าโยมปล่อยใจให้เศร้าหมอง
แล้วถ้าเราตายในขณะนั้นน่ะ
มันคุ้มกันไหมโยม ?

ชีวิตหลังความตายหนักกว่ามาก
ถ้าเราปล่อยใจให้เศร้าหมอง
และมันยาวนานกว่ามาก

แต่ถ้าเราฝึกสติปัฏฐาน​ สามารถพลิกได้โยม
เปลี่ยนจิตเศร้าหมอง
กลายไปเป็นใจที่ผ่องใสได้

เพราะฉะนั้น...
เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญ
จะเป็นประโยชน์เกื้อกูล
ทั้งในภพปัจจุบัน​ และสัมปรายภพนะ
.
.

โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
8 พฤศจิกายน 2563