กิตติศัพท์แห่งชื่อเสียงของหลวงพ่อทานั้นเป็นที่ทราบกันดีสำหรับชาวนครปฐม และในหมู่นักสะสมพระเครื่องทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาวัตถุมงคลของหลวงพ่อทา ต่างเป็นที่นิยมชมชอบของนักสะสมทั้งในเหรียญหล่อ และพระปิดตา
ทว่า “ปาฏิหาริย์” แห่งหลวงพ่อทา ที่ได้รับการเล่าขานและกล่าวถึงยังมีอีก อย่างน้อยเรื่องหนึ่งที่หลวงพ่อเต๋ แห่งวัดสามง่าม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เล่าขานถึงหลวงพ่อทาให้เหล่าลูกศิษย์ได้ฟังกัน ความว่า
“พระอุปัชฌาย์ทา ท่านเป็นพระเถระสำคัญมีตำแหน่ง อุตรการบดี ท่านมีวิชาความอัศจรรย์มาก อาคมนี่เหลือหลาย หูท่านเป็นทิพย์ คือ การสัมผัสได้รวดเร็ว แม้จะอยู่ห่างไกลกันแค่ไหนท่านได้ยินเสียงสัตว์ป่า นกหนู แม้จะอยู่ไกลมันร้องสุดที่มนุษย์ธรรมดาๆ อย่างเราจะได้ยินเสียงนั้น
แต่หลวงพ่อทาท่านได้ยิน อย่างช้างป่านอนเจ็บปวดอยู่นั้น ท่านเคยเอายาไปรักษามันในป่าลึก ท่านได้ยินเสียงร้องครวญคราง พอไปถึงก็เห็นช้างป่าบาดเจ็บ นอนเจ็บระบม ท่านเก่งทางยาสมุนไพร ท่านรักษาหายจนเป็นปกติ
ตอนที่ช้างป่ามันหายเจ็บป่วย มันร้องบอกขอบพระคุณท่าน ท่านอยู่ในวัดนั่งอยู่กลางหอฉัน ท่านก็พูดขึ้นว่า “แน่ะ…ช้างมันขอบใจพวกเรา มันหายเจ็บป่วยแล้ว มันไปเข้าฝูงของมันในป่า”
ตอนที่ช้างป่ามันหายเจ็บป่วย มันร้องบอกขอบพระคุณท่าน ท่านอยู่ในวัดนั่งอยู่กลางหอฉัน ท่านก็พูดขึ้นว่า “แน่ะ…ช้างมันขอบใจพวกเรา มันหายเจ็บป่วยแล้ว มันไปเข้าฝูงของมันในป่า”
ลูกศิษย์ของท่าน 50-60 รูป พากันสงสัยไม่พูดอะไร แต่จิตใจก็อยากพิสูจน์ ท่านรู้วาระจิตจึงชักชวนลูกศิษย์ไปยังที่ช้างนอนเจ็บป่วยไปพบกับความว่างเปล่า มีรอยเท้าช้างเดินจากไปใหม่ๆ จึงคลายความสงสัย และเชื่อว่าหลวงพ่อทามีความสามารถทางด้านญาณวิเศษ เรียกว่า “เจโตปริยญาณ” ทุกรูปพากันภาคภูมิใจครูบาอาจารย์ของท่าน และมุ่งมานะศึกษาเล่าเรียนจากท่านอย่างเต็มความสามารถอีกด้วย นี่ล่ะ “พระอุปัชฌาย์ทา วัดพะเนียงแตก”
การได้ยินเสียงของช้างร้องด้วยความเจ็บป่วยของหลวงพ่อทานั้น เป็นหนึ่งในวิชชาจากการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน เป็นหนึ่งใน “วิชชาแปดประการ” วิชชานั่นมีความหมายถึงธรรมชั้นสูงของพระพุทธเจ้า เป็นวิชชาประการที่ 4 คือ ทิพโสต
หนังสือธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2 กล่าวนิทเทสแห่งทิพโสตไว้ว่า มีหูทิพย์ หมดจด ล่วงหูของสามัญมนุษย์ ฟังเสียงสองอย่างได้ คือ ทั้งเสียงทิพย์ ทั้งเสียงมนุษย์ ทั้งเสียงไกล ทั้งเสียงใกล้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเทียบไว้ว่า มีการสังเกตอาการแห่งฐานที่ กับทั้งคนและพัสดุแล้ว อาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นอย่างไร ดุจว่าได้รับบอกเทียบ ฟังเสียงไกลได้ ได้ยินข่าวในถิ่นไกล
ขอบคุณผู้เรียบเรียง
คอลัมน์ มุมพระเก่า
โดย สรพล โศภิตกุล
คอลัมน์ มุมพระเก่า
โดย สรพล โศภิตกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น