วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คำทำนาย"หลวงปู่เอี่ยม" เมื่อครั้งการเสด็จประพาสยุโรป ของรัชกาลที่ 5



            ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต เมื่อครั้งการเสด็จประพาสยุโรป ของรัชกาลที่ 5 นั้นบ้านเมืองกรุงสยามที่ภัยร้ายจากการล่าอณานิคมของชาติตะวันตก โดยเฉพาะจาก ฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งขนาบข้างสยามเตรียมขย้ำให้เราตกเป็นอณานิคมตามประเทศเพื่อนบ้าน

            หนึ่งในวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 คือพระองค์ได้วางกุศลโลบายไว้ว่า สยามต้องเข้าไปเจริญสัมพัธไมตรีกับชาติมหาอำนาจอื่นๆของยุโรปเพื่อคานไม่ให้ฝรั่งเศส และ อังกฤษ กล้าบุกรุกยืดบ้านเมืองสยามนั้นเอง                 โดยมีเป้าหมายหลักคือ รัสเซีย และ เยอรมันในการเดินทางประพาสยุโรปนั้นต้องเดินทางทางเรือนับแรมเดือน 
            รัชกาลที่ ๕ ได้รับคำแนะนำจากพระเจ้าน้องยาเธอ
 "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์" ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดโคนอน 
            เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ หลวงปู่เอี่ยมถือเป็นครูบาอาจารย์ ที่มีผู้นับถืออย่างสูง วัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยมอย่างมากเรียกได้ว่า มีเงินเฉยๆ ก็ใช่ว่าจะครอบครองได้ นั้นก็เป็นผลมาจากเรื่องนี้นั้นเอง
            เมื่อ ร 5 เสด็จถึงวัดโคนอนได้เข้าพบกับหลวงปู่เอี่ยมซึ่งขณะนั้นเป็นพระปลัดเอี่ยม " ที่รูปมาในวันนี้ ( "รูป" เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) 
            เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"

            "มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ

            ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) ที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศ

            และคำพยากรก็เกิดขึ้นดังนี้ เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับ สะดือทะเล หรือ "ซากัสโซ ซี" อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้

            กัปต้นคัมมิง (Commander Cumming) แห่งราชนาวีอังกฤษ ซึ่งไทยได้ขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการชั่วคราว ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถ

            เมื่อระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมข้อแรกขึ้นมาได้ ก็ทรงอาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยม เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ 
            ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎ จู่ ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือ

            ครั้งถัดมาจากเหตุการณ์นั้น ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญ ให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่ง ซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ

            ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน จะเอาไปไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้ เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คน ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพราง โดยกราบบังคมทูลว่า

            "ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"

"แน่นอน ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"

            "โอ วิเศษ ขออัญเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วยเถิดพระเจ้าข้า"

            คำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยม ยังกึกก้องอยู่ในพระกรรณ ทรงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้า แล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐาน เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย(มงกุฏพระพุทธเจ้า) ที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ยื่นส่งไปที่ปากม้า เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้าย สะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้าในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป

            ผู้ที่จูงมันเข้ามาก็ผละหนี เพราะเกรงกลัวในความดุร้ายของมัน พระปิยะมหาราชเจ้า ทรงทอดสายพระเนตรจับจ้องอยู่ที่นัยน์ตาของม้านั้น ก็เห็นว่ามันมีแววตาอันเป็นปกติ เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์
พระบรมรูปทรงม้า อยู่ระหว่างการปั้นในสตูดิโอในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

            อาชาที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่ง แล้วหยัดพระวรกายขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้าย เสียงคนบนอัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด"


เอกสารเรี่ยไรหาทุนสร้างพระบรมรูป




            และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆ ในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิต ที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไป ชั่วกาลปาวสาน

ขอบคุณที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/69537.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น