จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
| |
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมาย | |
นิพพาน | |
พระรัตนตรัย | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม(เบญจธรรม) สมถะ · วิปัสสนา บทสวดมนต์และพระคาถา | |
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก· พระอภิธรรมปิฎก | |
หลักธรรม | |
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8· ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38 | |
นิกาย | |
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน | |
สังคมศาสนาพุทธ | |
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน | |
การจาริกแสวงบุญ | |
พุทธสังเวชนียสถาน · การแสวงบุญในพุทธภูมิ | |
ดูเพิ่มเติม | |
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ หมวดหมู่ศาสนาพุทธ |
ปฏิจจสมุปบาท (/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/) (บาลี: Paticcasamuppāda; สันสกฤต: Pratītyasamutpāda) เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ
- เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
- เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
- เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
- เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
- เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
- เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
- เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
- เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
- เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
- เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
- เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
- ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา
หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย เช่น ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
เนื้อหา
[ซ่อน]ลำดับแห่งปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์[แก้]
สมุทยวาร-นิโรธวาร[แก้]
การแสดงหลักปฏิจจสมุปบาท เป็นการแสดงให้เห็น ความเกิดขึ้นแห่งธรรมต่างๆ โดยอาศัยปัจจัยสืบทอดกันไปอย่างนี้ เป็น สมุทยวารคือฝ่ายสมุทัย ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจข้อที่สอง (สมุทัยสัจจ์) คือ แสดงให้เห็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจสมุปบาทที่แสดงแบบนี้เรียกว่า อนุโลมปฏิจจสมุปบาท
(ดังแสดงสองตัวอย่างที่ผ่านไป เป็น อนุโลมเทศนา และ ปฏิโลมเทศนา ของอนุโลมปฏิจจสมุปบาท ตามลำดับ)
การแสดงตรงกันข้ามกับข้างต้นนี้ เรียกว่า นิโรธวาร คือฝ่ายนิโรธ ใช้เป็นคำอธิบาย อริยสัจข้อที่สาม (นิโรธสัจจ์) เรียกว่า ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นความดับไปแห่งทุกข์ ด้วยอาศัยความดับไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย สืบทอดกันไป เช่น
เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติ ดับชรามรณะ (จึงดับ) ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส ความคับแค้นใจ ก็ดับ
ดังนี้เรียกว่า อนุโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท
ส่วนปฏิโลมเทศนา ของ ปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท ก็พึงแสดงย้อนว่า ชรามรณะเป็นต้น ดับเพราะชาติดับ ชาติดับเพราะภพดับ ฯลฯ สังขารดับเพราะอวิชชาดับ
อิทัปปัจจยตา ธรรมนิยาม ปัจจยาการ[แก้]
ปฏิจจสมุปบาทนี้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก ที่สำคัญคือ อิทัปปัจจยตา(ภาวะที่มีอันนี้ๆเป็นปัจจัย) และปัจจยาการ (อาการที่สิ่งทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่กัน)
ข้อความอ้างอิง[แก้]
จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ...
ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท (ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนฺถตา อิทปฺปจฺจยตา อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท)
อ้างอิง[แก้]
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์".
- พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม".
- มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
- ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
- พุทธทาสภิกขุ. "ตัวกู-ของกู ฉบับย่อความ".
https://www.youtube.com/watch?v=0i9t4Tg3dhk
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น ตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นปฎิจจสมุปบาท
..สมัยหนึ่งพระผู้มีภาคเจ้าประทับอยูี่ ณ วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผูุ้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
ดูก่อนก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาทนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระพุธทเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาทเป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนาเพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีมรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชรามรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ฟันหลุด ผมหลุด หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย การทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งแห่งซากศพไว้ ความขาดดิ้นแห่งตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่า มรณะ ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความก่อเกิด ความยั่งลงเกิด ความบังเกิด ความเกิดโดยเฉพาะ ความปรากฎแห่งขันธื ความได้แห่งอายาตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ แห่งหมูุุ่สัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ก็ภพเป็นไฉน ภพ3 เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน 4 เหล่านี้ คือ กามุปาทาน ทิฎฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา 6 หมวด เหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฐัพพตัณหา ธัมมาตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ก็เวทนเป็นไฉน เวทนา 6 หมวดเหล่านี้ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนา ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ 6 หมวดเหล่านี้คือ จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะ ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า สฬายตนะ ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ที่อาศัยภูตรูป4 นี้เรียกว่ารูป สองสิ่งเรียกว่านามรูป ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ 6 เหล่านี้คือ จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร 3 เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร นี้เรียกว่าสังขาร ก็อวิชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฎิปทาให้ถึงความดับทุกข์ นี้ เรียกว่า อวิชา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะวิญญณานเป็นปัจจัยจึงมีนามมรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์มวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ก็เพราะอวิชานั่นแหละดับ โดยไม่มีส่วนเหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับสฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับผัสสะจึงดับ เพราะผัสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสและอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
|
ที่มา http://dpadipa.org/menu-type/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8E%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B8%9C
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น