วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สมาธิกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

สมาธิกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์




วัตถุประสงค์
๑.       เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้เกี่ยวกับสมาธิกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์
๒.     เพื่อให้ผู้ศึกษาเห็นผลดีของการฝึกสมาธิ
๓.     เพื่อให้ผู้ศึกษามีฉันทะในการฝึกสมาธิในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น
เนื้อหา

ทำไมวิทยาศาสตร์จึงหันมาศึกษาในเรื่องของสมาธิ

ในอดีตการใช้สมาธิรักษาโรคยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้วงการแพทย์ โดยเฉพาะวงการแพทย์ตะวันตก เพราะการแพทย์ตะวันตก การรักษาผู้ป่วยทุกขั้นตอนต้องผ่านการทดลองบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ ขณะที่การรักษาโรคด้วยการทำสมาธิยังไม่มีผลการพิสูจน์ชัดเจนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ในพระพุทธศาสนา ถึงแม้จะพูดเรื่องอานิสงส์ของการทำสมาธิว่าทำให้ผ่อนคลาย ทำให้อารมณ์ดี จิตใจแจ่มใส เบิกบาน ผิวพรรณวรรณผ่องใส อายุยืนก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลการพิสูจน์ออกมาทางวิทยาศาสตร์เลย ต่อมาวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าผลของการฝึกสมาธิมีผลต่อร่างกายและจิตใจจริง ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคมากขึ้น และเมื่อวัดคลื่นสมองพบว่าสมาธิทำให้สมองผ่อนคลายและคลายเครียดลง
และเนื่องจากสมาธินี้เป็นเรื่องของธรรมชาติที่เป็นการปฏิบัติต่อจิตใจซึ่งบางส่วนสามารถวัดหรือพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงได้มีนักค้นคว้าและนักวิจัยหลายคนได้ทำการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีที่เป็นวิทยาศาสตร์
การศึกษาสมาธิด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นมา ผู้ที่ศึกษาเรื่องสมาธิกับวิทยาศาสตร์นี้ไว้มากคือ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน (Herbert Benson M.D.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางอายุรศาสตร์แห่งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ศึกษาเรื่องนี้อยู่กว่า ๓๐ ปีท่านได้สร้างทีมงานและสถาบันวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ (Mind-Body medical institute) ในฮาร์วาร์ด สถาบันแห่งนี้ได้สร้างองค์ความรู้ทางด้านกายและจิตไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่ใช้อ้างอิงกันทั่วไปนับว่าเป็นผู้บุกเบิกความรู้ทางด้านนี้อย่างมาก
ดร.เบนสัน นอกจากเป็นนักวิทยาศาสตร์แล้ว ท่านยังมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างดี ท่านได้เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศธิเบตและอินเดีย โดยเฉพาะในเรื่องสมาธิและโยคะ
ช่วงแรกดรเบนสัน ได้นำอาสาสมัครที่ฝึกสมาธิแบบ ที.เอ็ม. (Trancendental Meditation, TM) โดยให้อาสาสมัครทำสมาธิ แล้ววัดความดันอัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ เจาะเลือดดูกรดแลคติก ผลการวิจัยพบว่า ในคนที่จิตเป็นสมาธิ ความดันจะลดลง อัตราการหายใจลดลง หัวใจเต้นช้าลง คลื่นสมองช้าและเป็นระเบียบขึ้น การเผาผลาญอาหารในร่างกายลดลง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง เขาเรียกปรากฏการณ์ที่ค้นพบนี้ว่า ผลของความผ่อนคลาย (Relaxation Responses) การค้นพบครั้งนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของงานวิจัยที่ทำติดต่อกันมาเป็นเวลา ๓๐ ปีและทำให้นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ยอมรับเรื่องจิตใจมีผลต่อร่างกาย ดังนั้น การรักษาโรคทางกาย ก็รักษาได้โดยการทำใจให้เป็นสมาธิ มีความผ่อนคลาย ซึ่งเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง
จะเห็นว่า ผลของความผ่อนคลาย ที่กล่าวมานี้จะตรงกันข้ามกับผลที่เกิดจากความเครียด กล่าวคือ ในเวลาที่เราเครียดÝ ความดันจะสูงขึ้น การหายใจจะเร็วขึ้น ชีพจรจะเร็วขึ้น กล้ามเนื้อจะตึงตัวมากขึ้น อัตราการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายมากขึ้น ร่างกายใช้อ๊อกซิเจนมากขึ้น คลื่นสมองมีความถี่สูงขึ้น ที่สำคัญความเครียดจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ อีกมาก การทำให้เกิดความผ่อนคลายก็ทำให้โรคต่างๆ หายได้เช่นกัน


สมาธิกับคลื่นสมอง

คนทั่วไปในเวลาปกติมักจะส่งคลื่นเบต้า ออกมา ซึ่งมีความถี่ของคลื่นประมาณ ๒๑ รอบต่อวินาที เมื่อเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นมีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก เช่น โกรธ กลัว เกลียด อิจฉา ตื่นเต้น ฯลฯ คลื่นสมองก็จะมีความถี่สูงขึ้นทันที ซึ่งจะทำให้บุคคลผู้นั้นมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง มีความตึงเครียดสูง มีสมาธิน้อยลง มีความสามารถในการเรียนรู้ต่ำลง มีภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายลดลง ฯลฯ
         ในทางตรงกันข้าม เราจะมีร่างกายที่มีภูมิคุ้มกันโรคสูง มีสมาธิดี มีอารมณ์เยือกเย็น มีความคิดที่เฉียบคม มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์สูงÝ เมื่อคลื่นสมองของเรามีความถี่ต่ำกว่า ๑๙ รอบต่อวินาที ถ้าเราปล่อยให้คลื่นสมองของเรามีความถี่สูงเกินกว่า ๒๑ รอบต่อวินาทีมากเป็นเวลานาน ๆÝ เราจะอยู่ในสภาวะที่แพทย์ปัจจุบันเรียกว่า โรคเครียดและวิตกกังวล ซึ่งเป็นโรคร้ายอันดับหนึ่งของโลกปัจจุบันแพทย์ได้ยอมรับแล้วว่าสภาวะเครียดและวิตกกังวล เป็นต้นเหตุของโรคอื่นๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจได้อีกมากมายÝ ในสภาวะของความเครียดนี้Ý คลื่นสมองของคนที่มีความถี่สูงเกินกว่า ๒๑ รอบต่อวินาที ร่างกายของคนเราจะอ่อนแอลงÝ เชื้อโรคต่างๆ สามารถเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เช่น เป็นหวัดบ่อย เป็นโรคภูมิแพ้ ความดันโลหิตสูง
            คลื่นสมองที่มีความถี่สูงๆ ของคนเรานอกจากจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนเรามีร่างกายอ่อนแอ เป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายแล้วÝ ยังทำให้คนเรามีสมาธิที่ไม่ดีอีกด้วยÝ ความคิดต่างๆ มากมายจะผ่านเข้ามาในสมองเราÝ จนเราไม่สามารถที่จะมีสมาธิอยู่กับเรื่องหนึ่งเรื่องใดได้นานๆ ยิ่งคลื่นสมองของเรามีความถี่เกิน ๔๐ รอบต่อวินาที เราแทบจะไม่สามารถควบคุมความคิดและอารมณ์ของเราได้เลยÝ เช่น เวลาที่เราโกรธใครมาก ๆÝ เราจะไม่สามารถอยู่นิ่งเฉยๆ ได้Ý ความคิดต่างๆ จะผ่านเข้ามาในสมองของเราเร็วมากจนเราแทบจำไม่ได้ว่ามีความคิดอะไรที่ผ่านเข้ามาบ้าง คลื่นสมองที่มีความถี่สูงมากนี้ทำให้เกิดพลังส่วนเกินที่จะต้องระบายออกมาทางร่างกาย เช่น หน้าแดง มือสั่น เหงื่อออกมาก พฤติกรรมที่รุนแรงต่างๆÝ จะสังเกตได้ง่ายในบุคคลที่โกรธมากๆ แล้วมักจะทำลายสิ่งของต่างๆ ที่ขวางหน้าÝ ซึ่งการกระทำของเราในขณะที่คลื่นสมองมีความถี่สูงนี้มักจะไม่ค่อยเหมาะสมและเรามักจะรู้สึกเสียใจในการกระทำในภายหลัง
เมื่อคลื่นสมองความถี่สูงๆ สามารถสร้างปัญหาต่างๆ แก่เราได้มากมายเช่นนี้ แต่ถ้าเราสามารถควบคุมคลื่นสมองของเราให้มีความถี่ต่ำได้ ผลดีต่างๆ ก็จะเกิดตามมามากมาย เช่น มีร่างกายที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรคสูง มีสมาธิสูง มีจินตภาพและความคิดสร้างสรรค์สูง มีจิตใจที่เยือกเย็น อารมณ์ดี เบิกบาน ฯลฯÝ เพราะฉะนั้นการที่จะควบคุมความถี่ให้ต่ำนั้น สามารถทำได้ด้วยวิธีการจิตให้เป็นสมาธินั้นเอง
ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์โลกที่จะต้องทราบถึงการทำงานของคลื่นสมองของตัวเอง ด้วยเหตุว่าการทำสมาธิมีผลมากต่อคลื่นสมอง มีหลักฐานมากมายที่สนับสนุนว่าบุคคลที่ทำสมาธิ จะมีคลื่นสมองที่ต่ำกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งมีผลทำให้จิตใจสงบ เยือกเย็น ไม่เครียดÝ มีอารมณ์ดี ร่าเริง เบิกบาน มีความคิดสร้างสรรค์ อายุยืน เป็นต้นÝ ซึ่งจะกล่าวต่อไปในภายหลัง
       แต่ก่อนที่จะเข้าไปในเนื้อหาที่ว่าด้วยสมาธิกับหลักฐานทางวิทยาศาสตร์นั้น อยากจะให้รู้เรื่องเกี่ยวกับคลื่นสมองกันก่อนว่า
คลื่นสมองของเราจะอยู่ในรูปของความถี่แบบผสมจะมีอยู่ ๔ คลื่นด้วยกัน คือ คลื่นเบต้า (Beta wave) คลื่นอัลฟา (Alpha wave), คลื่นธีต้า (Theta wave), คลื่น เดลต้า (Delta wave) ซึ่งคลื่นเหล่านี้มีการทำงานที่แตกต่างกันดังนี้


คลื่นเบต้า (Beta wave)
          เป็นคลื่นสมองที่เกิดขึ้นในสภาวะปกติทั่วไป ในสภาวะปกติสมองจะรับข้อมูลต่าง ๆ จากภายนอกเป็นจำนวนมาก จนถึงก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวาย คลื่นสมองที่เกิดขึ้นในช่วงนี้จะมีความถี่สูง เรียกคลื่นสมองช่วงนี้ว่า "คลื่นเบต้า" (Beta Wave) ซึ่งมีความถี่ประมาณ ๑๓ - ๔๐ รอบต่อวินาที ยิ่งความถี่ของคลื่นสมองสูงขึ้นไปมากเท่าไร จิตใจของเราก็จะวุ่นวาย สับสนมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น รูปร่างของคลื่นเบต้ามีลักษณะคล้ายเส้นกราฟที่ขยุกขยิกขึ้น-ลง ขึ้น-ลง สลับกัน คล้าย ๆ เวลาเราลากเส้นสลับฟังปลานั่นเอง ถ้าสมองมีเรื่องต้องคิดวุ่นวายมาก เส้นกราฟจะขยุกขยิกมากด้วย ภาวะเช่นนี้จะรู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย ประสิทธิภาพในการคิดตัดสินใจไม่ดี ยิ่งคลื่นสมองยิ่งสูง ยิ่งทำให้เกิดอารมณ์ด้านลบได้มากเท่านั้น คนที่ไม่ฝึกสมาธิ จะมีคลื่นสมองเบต้า (Beta wave) มากกว่าคนที่ฝึกสมาธิ
คลื่นอัลฟา (Alpha wave)
           ป็นคลื่นสมองที่เกิดขึ้นในสภาวะของคนที่มีจิตใจสงบ เยือกเย็น เรียกว่า "คลื่นอัลฟา" (Alpha Wave) ซึ่งมีความถี่ประมาณ ๘ - ๑๓ รอบต่อวินาที มีจังหวะที่ช้ากว่า มีขนาดใหญ่กว่าและมีพลังงานมากกว่าคลื่นเบต้า (Beta wave)Ý รูปร่างของคลื่นอัลฟามีลักษณะคล้ายรูปลูกคลื่น ไม่ขยุกขยิกเหมือนคลื่นเบต้าคลื่นอัลฟานี้ช่วยทำให้ความสับสนวุ่นวายในสมองลดลง จิตใจจึงสงบและเยือกเย็นขึ้น ซึ่งพร้อมทีจะทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
คลื่นธีต้า (Theta wave)
        เมื่อคลื่นอัลฟาค่อยๆ เปลี่ยนเป็นคลื่นที่มีจังหวะช้าลง ๆ แต่กลับมีพลังงานสูงขึ้นๆ ถ้าคลื่นสมองของคนเรามีความถี่ ๕ -๗ รอบต่อวินาที จะส่งคลื่นธีต้า (Theta wave)ออกมาÝ คลื่นธีต้า เป็นคลื่นสมองชนิดหนึ่งซึ่งจะปรากฏตัวขึ้นมาเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เพียงแว่บเดียวเท่านั้น เป็นแว่บสุดท้าย อยู่ในลักษณะครึ่งหลับครึ่งตื่นและเมื่อหลับแล้วจริงๆ คลื่นสมองจะปรากฏไปอีกแบบหนึ่งซึ่งจะแตกต่างจากคลื่นธีต้า (Theta wave)

คลื่นเดลต้า (Delta wave)
      เป็นคลื่นที่เกิดขึ้น ในสภาวะของคนนอนหลับ เป็นคลื่นสมองที่มี ความถี่ของสมองที่ต่ำที่สุด แต่มีพลังงานสูงÝ จะอยู่ระหว่าง ๔ รอบต่อวินาที จนถึงนิ่งเป็นเส้นตรง ระหว่างนี้ สมองของคนเรา จะส่งคลื่นเดลต้า (Delta wave) ออกมา

สมาธิกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ได้กล่าวมาแล้วว่า การศึกษาสมาธิด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ พ.๒๕๐๓ เป็นต้นมา ต่อไปนี้จะเป็นรายงานการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์จากประเทศต่างๆ ที่ได้พิมพ์ออกมาเป็นเอกสารทางวิชาการ เช่น The American Journal of Philosophy, International Journal of Neuroscience, Phychosomatic medicine, American Pshchologist, India Journal of medical Research ดังนี้

สมาธิที่มีผลต่อระบบการหายใจÝ
.๑๙๖๑ ศาสตราจารย์บี.เค.อนันต์ แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออล อินเดีย ได้ทำการทอลองกับโยคี ชื่อ ศรี รามนันท์ โดยได้ให้โยคีเข้าไปนั่งทำสมาธิอยู่ในหีบขนาดกว้าง ๔ ฟุต ยาว ๖ ฟุต และลึก ๔ ปิดทึบอากาศเข้าออกไม่ได้Ý ครั้งหนึ่งนาน ๘ ชั่วโมง และอีกครั้ง ๑๐ ชั่วโมง โดยไม่ปรากฏอันตรายอย่างใดแก่โยคี ผลการวิจัยพบว่า
1.      โยคีใช้ออกซิเจนน้อยกว่าธรรมดา ๓๓ ñ ๕๐ เปอร์เซ็นต์
2.      อัตราชีพจรลดลงจาก ๘๕ ครั้งต่อนาที คงเหลือเพียง ๖๐ ñ ๗๐ ครั้งต่อนาที
3.      การหายใจมีความเร็วเกือบคงที่ระหว่างการทำสมาธิ
4.      คลื่นสมองมีลักษณะคล้ายกับเวลานอน หลับๆ ตื่นๆ

สมาธิที่มีผลต่อการเผาผลาญในร่างกาย
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ๒ คณะ ทำการศึกษาพุทธศาสนิกชนในนิกายเซ็น คณะโชจิ ในขณะทำสมาธิ คณะของนักวิทยาศาสตร์ ชื่อซูกิ ศึกษาเกี่ยวกับการเผาผลาญในร่างกาย
ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้ออกซิเจนและคาบอนไดออกไซด์ลดน้อยกว่าในเวลาปกติเฉลี่ยได้ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ÝÝ
อีกคณะหนึ่งÝ นักวิทยาศาสตร์ชื่อคาซามัสสุ เป็นหัวหน้าได้ศึกษาคลื่นไฟฟ้าของสมองในผู้ปฏิบัติสมาธิตามวิธีนิกายเซ็นเปรียบเทียบกับคนธรรมดา
ผลการวิจัยพบว่า นักปฏิบัติที่ทำสมาธิแบบลืมตานั้น คลื่นไฟฟ้าสมองแตกต่างจากที่พบในคนนอนหลับอย่างธรรมดา แสดงว่าสมาธิต่างจากการนอนÝ มีลักษณะอยู่ระหว่างคลื่นสมองของคนที่หลับและตื่น เป็นสภาพครึ่งหลับครั้งตื่นแต่ไม่ใช่ง่วง คือสงบแต่ไม่เฉื่อย ไม่ตื่นเต้นแต่พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่

สมาธิที่มีต่อการเรียน
.๒๕๑๓-๒๕๑๔ ในประเทศไทย ได้มีนักวิทยาศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องจิต คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์โรจน์ สุวรรณสุทธิ และคณะทำงานแห่งคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทำการทดลองให้นักศึกษาแพทย์ชาย หญิง ๓๒ คน อายุระหว่าง ๑๙-๒๓ ปี ฝึกสมาธิแบบสมถกรรมฐาน สัปดาห์ละ ๕ วันตลอดเวลา ๒๐ สัปดาห์ และประเมินผลเกี่ยวกับการศึกษาและความนึกคิดโดยวิธีการต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า
๑.       นักศึกษามีความตั้งใจเรียนมากÝ ๖๒ เปอร์เซ็นต์
๒.     รักการเรียนมากขึ้น ๓๑ เปอร์เซ็นต์
๓.     มีความเห็นว่าการฝึกสมาธิมีประโยชน์กับการเรียน ๖๕ เปอร์เซ็นต์
๔.     ทำให้ความจำดีขึ้นและการทำงานคล่องแคล่ว
๕.     การบันทึกคลื่นสมองไฟฟ้าพบว่า ในระหว่างการทำสมาธิคลื่นสมองมีความราบเรียบมากต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไป

สมาธิที่มีต่ออัตราการใช้ออกซิเจนในร่างกาย
.๒๕๑๐ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน ผู้ก่อตั้งสถาบันรักษาใจและกาย (Mind/Body Medical Institute) ศาสตราจารย์สอนวิชาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Havard Medical School)Ý รัฐแมสซาชูเซ็ทส์ÝÝ ได้ทำการทดลองกับ นักปฏิบัติธรรม จำนวน ๓๖ คน ผลการวิจัยพบว่า
๑.     อัตราการใช้Ý อ๊อกซิเย่น ลดลง ๑๗%ÝÝ หมายความว่าÝÝ ถ้าร่างกายใช้ อ๊อกซิเย่น น้อยลง
อัตราการเผาผลาญ ในร่างกายก็จะ ลดลง ไปด้วยÝ เมื่อเผาผลาญลดลงÝ ร่างกายก็เสื่อมน้อยลง เช่นกัน เมื่อร่างกายเสื่อมน้อยลง หน้าตาก็จะ อ่อนกว่าวัย และอายุขัยก็จะ ยืนยาว อัตราการเต้นของหัวใจ ลดลงนาทีละ ๓ ครั้ง หมายความว่าÝ หัวใจจะแข็งแรงและ ไม่ต้องทำงานหนัก เหมือนแต่ก่อน
สามารถบันทึกคลื่นสมองของคนเราได้ ด้วยการเอาเครื่อง EEG มาฉายแสดงออกเป็นเส้นกร๊าฟ ผลการวิจัยของ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สรุปอย่างชัดเจนว่าสมาธิก่อให้เกิด คลื่นสมองธีต้าÝÝ (Theta wave)

.Ý สมาธิที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง
จากวารสารสมาคมโรคหัวใจ (American Heart Association's journal Hypertension) มีคณะผู้วิจัยกลุ่มหนึ่ง ได้ทำการศึกษาชายหญิงชาวอเมริกันนิโกร กว่าร้อยคนที่มีความดันโลหิตสูงแต่ไม่ได้ทำการรักษา คณะผู้วิจัยได้แบ่งคนออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก รักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการทำสมาธิ
กลุ่มที่สอง รักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และพักผ่อน
กลุ่มที่สามรักษาความดันโลหิตสูงด้วยวิธีการให้ออกกำลังกายงด สูบบุหรี่ จำกัดแอลกอฮอล์ และลดความอ้วน
หลังจากนั้น ๓ เดือน เขาได้ตรวจวัดความดันทั้ง ๓ กลุ่มปรากฏว่ากลุ่มแรกความดันเลือดเฉลี่ยลดลงถึงร้อยละ ๗ นอกจากนี้ยังลดการเป็นโรคหัวใจลงร้อยละ ๒๐-๔๕ ลดอาการหัวใจวายลงร้อยละ ๓๕-๔๐ ส่วนกลุ่มที่สองลงลงได้เพียงร้อยละ ๓ และกลุ่มที่สาม ไม่ลดลงเลย

สมาธิและความสัมพันธ์ของการรักษาโรค
คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสมาธิและความสัมพันธ์ของการรักษาโรค ผลการวิจัยพบว่า การทำสมาธิมีความสัมพันธ์กับสมองด้านซ้ายและส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดี
คณะผู้วิจัยรับสมัครบุคคลจำนวน ๒๕ บุคคลจากที่ทำงานที่แวดล้อมไปด้วยพนักงานที่มีสุขภาพที่ดี ในระหว่าง ๘ สัปดาห์ของโปรแกรมการฝึกอบรมเกี่ยวกับสมาธิ บุคคลเหล่านั้นได้ถูกให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้าในสมอง ในตอนท้ายของการทดลอง คณะผู้วิจัยสรุปว่าสมาธิส่งผลในทางบวกต่อทั้งสมองและภูมิคุ้มกันของร่างกาย แม้ว่าจะเป็นการทำสมาธิในระยะสั้นก็ตาม
การทำสมาธิแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีความกังวลน้อยลง และมีการเปลี่ยนแปลงที่สมองด้านซ้ายมากขึ้น ตามทฤษฎีทางการแพทย์สมองด้านซ้ายจะมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการต่อต้านความคิดที่เป็นลบหรือความเครียด
สมาธิที่มีต่อการทำงานของคลื่นสมอง
ดร.เกรก จาคอบส์ ศาสตราจารย์สอนวิชารักษาโรคทางจิต สถาบันแพทย์แห่งฮาร์วาร์ด ร่วมกับดรเบนสัน บันทึกคลื่นสมองด้วยเครื่อง EEG[๑] ของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียนวิชาสมาธิ และอีกกลุ่มหนึ่งเรียนวิธีผ่อนคลายจากการฟังเท้ป อีก ๒-๓ เดือนต่อมา คนที่นั่งสมาธิมีคลื่นสมองธีต้ามากกว่าคนที่ฟังเท้ป สมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่รับและย่อยข้อมูลทำงานน้อยลง ใกล้ๆระดับตอนบนของศีรษะ มีสมองส่วนกลางที่บอกเวลาและสถานที่ สมาธิทำให้สมองส่วนนี้ทำงานน้อยลง การที่สมองส่วนกลางปิด ทำให้เรารู้สึกว่าขอบเขตหายไป และ ìเป็นหนึ่งî (Oneness )กับจักรวาล

สมาธิที่มีต่อระบบเลือดในสมอง
ดร.เบนสัน ทำการวิจัยสมาธิกับระบบเลือดในสมอง โดยการนำเอาชาวซิกห์มาทดสอบ ชาวซิกห์กลุ่มนี้มีสมาธิจิตสูงมากถึงขนาดว่าเครื่อง fMRI กระทบกันดังแคล้งก็ยังนั่งสมาธิต่อไปได้ (เครื่องนี้มีพลังแม่เหล็กสูงกว่าโลก ๕๐,๐๐๐ เท่าเมื่อวัดเลือดในสมอง ผลการวิจัยพบว่า เลือดในสมองไหลลงมาหมด Ýแต่บางส่วนรวมทั้งระบบลิมบิคไหลขึ้น (ระบบนี้แสดงอารมณ์ ความจำ ควบคุมการเต้นของหัวใจและลมหายใจให้เป็นปกติรวมทั้งการเผาผลาญของร่างกายด้วย

สมาธิที่มีต่อสมองทั้งสองซีก
ริชาร์ด เดวิดสัน นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซินตั้งอยู่ในเมืองเมดิสัน สร้างรูป (image) ในสมองแสดงให้เห็นว่าสมาธิเปลี่ยนการทำงานในคอร์เท็กซ์บริเวณก่อนถึงสมองส่วนหน้า (หลังหน้าผากจากซีกขวามาซีกซ้าย และพบว่าคนที่นั่งสมาธิเป็นประจำ สมองจะเปลี่ยนจากความคิดที่ว่าจะสู้ดีหรือหนีดีมาเป็นยอมรับสถานการณ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ตนพอใจมากขึ้น คนที่อารมณ์ไม่ดีมักจะใช้สมองทางซีกขวาระดับก่อนถึงหน้าผาก ส่วนคนที่ใช้ซีกซ้าย แม้จะมีบ้านและที่ดินน้อยกว่าก็ตาม แต่จะที่ใช้ซีกกระตือรือร้นมากกว่า มีความสนใจสิ่งต่างๆมากกว่า รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขมากกว่าคนขวา
ต่อมาจอน กะบาต-ซินน์ ผู้เคยได้ศึกษาพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ตั้งคลินิคคลายความเครียดในศูนย์แพทย์ยูแมส และพ.ศ. ๒๕๒๒ พยายามเอาพลังงานของสมาธิมารักษาโรคด้วยวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นกับมาริชาร์ด เดวิดสัน ศึกษาเรื่องใหม่อีกเรื่องหนึ่ง คือ ฉีดยาแก้ไข้ให้ผู้ป่วยที่นั่งสมาธิและที่ไม่ได้นั่งสมาธิ จากการตรวจระดับภูมิคุ้มกันโรคในเลือด วัดการทำงานของสมอง พบว่าสมองย้ายที่ทำงานจากซีกขวามาทางซีกซ้าย คนไข้ที่นั่งสมาธิมีภูมิคุ้มกันโรคภายใน ๔ และ ๘ สัปดาห์หลังฉีดยา แต่คนไข้ที่สมองย้ายที่ทำงานมากที่สุดจะมีภูมิคุ้มกันมากที่สุด ยิ่งถ้านั่งสมาธิด้วยวิธีการที่ดีกว่า ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคมากกว่า

๑๐การทำงานของสมองในขณะนั่งสมาธิ
         พ.๒๕๔๐ นักประสาทวิทยาคนหนึ่งชื่อ แอนดรู นิวเบิร์กÝ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ทำการทดสอบชาวพุทธที่นั่งสมาธิกลุ่มหนึ่ง โดยใช้เครื่อง LVS มีสีย้อมกัมมันตรังสีเกิดแสงในสมองที่ส่องให้เห็นทิศทางการไหลของเลือดในสมองและเห็นส่วนต่างๆ ที่สมองทำงานมากที่สุด แอนดรูสามารถจับจุดสูงสุดของสมาธิได้ คือ ตอนย้ายกลุ่มทดลองไปนั่งสมาธิห้องข้างๆ เขาใช้เชือกพันรอบนิ้ว ปลายเชือกอีกข้างหนึ่งสอดใต้ประตู วางไว้ใกล้ๆคนนั่งสมาธิ เมื่อนั่งจนใจเป็นสมาธิแล้ว คนนั่งก็จะดึงเชือก แอนดรูจะปล่อยสีย้อมเข้าไปในแขนของคนนั่ง ผลการวิจัยพบว่า สมองไม่ได้ปิด แต่กั้นไม่ให้เรื่องราวต่างๆ เข้ามาในสมองส่วนกลางขณะนั่งสมาธิ
สมาธินำทางสู่แสงสว่าง แสงสว่างนำทางไปสู่ปัญญา แนวทางแห่งพุทธศาสนาที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมากกว่าสองพันปีของชาวตะวันออก ได้ผ่านการพิสูจน์จากผลการวิจัยและผลการทดลอง โดยความเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เจริญล้ำหน้าของชาวตะวันตก แสดงให้เห็นว่าÝÝÝÝ วิธีการทางพระพุทธ ศาสนาสามารถแก้ทุกข์ได้จริงแก้ปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจได้จริงและสามารถพิสูจน์ได้จริงด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และไม่ใช่สิ่งที่เกินความสามารถที่มนุษย์ธรรมดาในยุคปัจจุบันจะปฏิบัติได้




[๑]EEG คือ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง Ýเป็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลง แรงดัน โวลต์(V) และความถี่ของกระแสไฟฟ้า (f) ต่อวินาที จำนวนพับส์ต่อวินาที เอาไว้ในรูปแบบกราฟ

ที่มา http://dou_beta.tripod.com/MD101_05_th.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น