วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

ราหูเป็นพระอริยเจ้าขั้นสกิทาคามี

⚜️"ราหูเป็นพระอริยเจ้าขั้นสกิทาคามี"⚜️
🙏เห็นยักษ์ตนหนึ่งมีครึ่งตัว เขี้ยวใหญ่ยาวปากใหญ่ มองแล้วเหมือนราหูอมจันทร์ เมื่อเห็นก็คิดว่าเจอยักษ์ปลอมอีกแล้ว เมื่อมองไปอีกครั้งหนึ่งปรากฏว่าภาพยักษ์หายไป กลายเป็นเทวดาสูงโปร่ง เครื่องประดับเต็มตัวสวยงามมาก จึงถามท่านว่า เมื่อกี้ยักษ์อะไร

😊ท่านบอกว่า "ยักษ์ราหู"

🙏ถามท่านว่า เขาเขียนไว้ว่า ราหูตัวใหญ่มากหรือ 

😊ท่านบอกว่า #ถ้ามนุษย์เห็นเทวดาตามความจริง #ก็ใหญ่เหมือนกับทุกองค์ สำหรับผมก็ใหญ่เท่าเทวดาธรรมดา #แต่ไม่มีเทวดาองค์ไหนใหญ่เท่าท่านพ่อคือพระอินทร์ 

🙏ถามท่านว่า #เคยอมจันทร์ไหม 

😊ท่านหัวเราะแล้วบอกว่า #ผมไม่รู้จะอมก้อนดินไปทำไม 

🙏ถามท่านว่า ฉันจะเรียกชื่อแทนท่านว่าอย่างไรจึงควร 

😊ท่านบอกว่าเรียกว่า พี่ ก็แล้วกัน

เป็นอันรู้กันว่าควรเรียกกันว่า พี่ 

🙏ถามท่านว่า ท่านปรากฏตัวเพื่ออะไร 

😊ท่านบอกว่า #น้องมีงานหนักร่างกายก็ไม่ดี #จึงจะมาช่วยงานเพื่อเสริมบารมีเพื่อพระนิพพาน 

🙏ถามท่านว่า ท่านจะช่วยอย่างไร

😊ท่านบอกว่า #ช่วยทุกอย่างตามความสามารถ #แต่คงช่วยแบบราหูเทวดาไม่ใช่ราหูยักษ์ 

🙏ถามท่านว่า #เมื่อฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าแล้วท่านบรรลุอะไร 

😊ท่านบอกว่า #ท่านเป็นพระโสดาบันเวลานี้เป็นสกิทาคามีผล 

🙏คุยกันเพียงเท่านี้แล้วท่านก็บอกว่า หลับเถอะก็เลยหลับไป ตื่น 3.00 น. หลับต่อมาตื่นเอา 5.30 น.

🖋️📚 หนังสืออ่านเล่น เล่ม 2 หน้า 61-62 
⚜️พระราชพรหมยานเถระ⚜️
🙏หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง🙏

🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย⚜️
🧘จิตหนึ่งประภัสสรสุดยอดคือพระนิพพาน

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

ว่าด้วยเรื่องนิมิต ดูลม ดูจิต และไตรลักษณ์

"ว่าด้วยเรื่องนิมิต ดูลม ดูจิต และไตรลักษณ์"
นั่งวิปัสสนาแล้วฟุ้งซ่าน
ถาม : ถ้าเรานั่งวิปัสสนาแล้วฟุ้งซ่านไป จะต้องกลับมาดูลมหายใจหรือเราจะรู้ไปกับสิ่งที่เราฟุ้งซ่าน

ตอบ : หลักที่ท่านอธิบายไว้ในวิปัสสนาในสมถกรรมฐาน เขาบอกว่าเริ่มต้นก็พยายามทำจิตให้สงบ แต่ภาคปฏิบัติหลวงพ่อชาท่านแนะนำว่า มันสงบก็เอา ไม่สงบก็เอาถ้าจิตถอนออกจากความสงบ ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ให้รู้ว่าจิตนั้นมันไม่เที่ยง ให้มาดูความไม่เที่ยง ดูความฟุ้งซ่านมันก็ไม่เที่ยงอีก เดี๋ยวมันก็ไปอันโน้น เดี๋ยวมันก็ไปอันนี้ ให้เอาหลักธรรมะในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาพิจารณา สภาวะจิตและสภาวะสังขารร่างกายตามความเป็นจริง มันจะอยู่ด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกอย่างก็คือให้เห็นอาการหยาบ ๆ อิริยาบททั้งสี่ เดี๋ยวยืน เดี๋ยวนั่ง เดี๋ยวนอน มันก็สับเปลี่ยนตลอด ถ้าฟุ้งซ่านเราตามไปดูแต่อย่าไปหลงมันอีก แล้วถอนมากำหนดดูลมหายใจเข้าออก ๆ จนกระทั่งจิตเราชำนาญ

         
        การปฏิบัตินี่ก่อนที่จะลุล่วงไป ท่านบอกว่ามีอุปสรรคใหญ่คือนิวรณ์ห้า กามฉันทะ ความใคร่ในกาม ติดรูป เสียง กลิ่น รส ต่อไปก็พยาบาท เคยทำอะไรไว้ถ้าจิตสงบมันจะผุดมาหมด เรียกว่าวิบาก คืออารมณ์จากวิบากกรรม ฉะนั้นเมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านก็ให้ดูระยะหนึ่งแล้วตัดทิ้งไป หรือหาอุบาย เช่นใช้พรหมวิหารสี่ อย่างองคุลีมาลท่านมานั่งสมาธิจิตสงบนิดหน่อยก็มีนิมิตมา คือภาพที่ติดอยู่ในจิตที่ท่านถือดาบวิ่งไล่ฆ่าตัดนิ้วมือคนทั้งหลาย รูป วิญญาณต่างๆ มาปรากฏ จิตก็สะดุด สมาธิก็หาย พระพุทธเจ้าท่านก็ให้แผ่เมตตา

       ฉะนั้นคือให้ตามดู ให้รู้ว่ามันเป็นอะไรแต่อย่าไปยึด คิดง่ายๆว่ามันเป็นเพียงภาพเหมือนกับเปิดโทรทัศน์เห็นภาพหยาบบ้างละเอียดบ้าง นั่นคือจิตของเรา คือจิตหยาบจิตละเอียด มันแสดงให้เห็น ถ้าจิตหยาบเคยโมโหโทโสมันจะมีนิมิตประเภทงูร้าย หรือเสือ หรือยักษ์ ถ้าจิตเราเคยสร้างเมตตากรุณาก็อาจเห็นเป็นเทวดา เป็นจิตอย่างเดียว ไม่มีอะไร ดังนั้นให้ดูๆ แล้วให้ถอยมา ให้ปลงว่าอนิจจังมันไม่เที่ยง หลวงพ่อชาท่านสอนว่าอย่าลืมอนิจจังอย่างเดียวนี่

 

พระครูนิมิตวิริยานุกูล (สุบิน อุตฺตโม)
วัดป่าบ้านหนองแวง ศรีสะเกษ
สาขาวัดหนองป่าพงที่ 12
ตอบตามธรรม เล่ม 1

#ลมหายใจพุทโธ #ลมหายใจไม่เที่ยง

คนใจรั่ว

ชีวิต เป็นของลึกลับซับซ้อน ยากที่ผู้เป็นเจ้าของจะเข้าใจได้อย่างแจ่มแจ้ง มนุษย์เราจึงไม่สามารถนำชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควรได้ง่าย ๆ บางคนได้รับการศึกษาสูง มีความรู้ดี แต่ก็ไม่สามารถดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขได้ เพราะเขารู้แต่เรื่องภายนอก ไม่รู้สภาพอันวุ่นวายภายในตัวเอง ความรู้ที่เพียรเล่าเรียนศึกษามา แทนที่จะเป็นเครื่องนำทางไปสู่ความสุข จึงกลับเป็นเครื่องสังหารตัวเอง
.
คนเราสังหารตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ คือ ปล่อยให้ใจรั่ว ใจที่รั่วก็เปรียบเหมือนภาชนะที่รั่ว เก็บน้ำไม่อยู่ มีแต่จะไหลซึมออกหมด แม้แต่ล้อรถที่รั่ว ก็กลายเป็นของไร้ค่า ถ้าเราไม่ปะรอยรั่วนั้นให้อยู่ก่อน ของที่รั่วจึงสังหารตัวมันเอง โดยทำให้คุณค่าและราคาน้อยลง ใจที่รั่วก็ย่อมสังหารผู้เป็นเจ้าของเอง เพราะใจรั่วเก็บความดีไว้ไม่ได้ หักห้ามไม่อยู่ กระเสือกกระสนเข้าหาความชั่วตลอดเวลา หากเราปล่อยให้รั่วนาน ๆ โดยไม่รีบเยียวยาเสียแต่แรก ใจก็จะแตก คนใจแตกเป็นดังที่พวกเราเห็นกันอยู่แล้ว เราย่อมทราบดีว่าเขามีสภาพอย่างไร ไม่มีใครอยากเป็นคนใจแตก ด้วยเหตุนี้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนไว้ว่า นิสมฺม กรณํ เสยฺโย ถอดความเป็นภาษาไทยว่า การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงลงมือทำ (อะไร ๆ ก็ตาม) เป็นสิ่งประเสริฐ เพราะการใคร่ครวญว่าดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควรนั้น เป็นทางป้องกันไม่ให้ใจรั่ว
.
ชีวิตคนเราเปรียบเหมือนรถ มีเบรก มีพวงมาลัย และมีคันเร่ง คันเร่งเป็นตัวนำชีวิตให้พุ่งไปข้างหน้า ไม่เกียจคร้านงอมืองอเท้า ให้มีความมานะอดทนขยันในการหาเลี้ยงชีพ คือมีฉันทะ ความพอใจในงานที่กระทำ วิริยะ ความเพียรพยายามทำงานนั้นให้สำเร็จ จิตตะ รู้จักคิดไตร่ตรองกับงานที่กระทำอยู่ วิมังสา รู้จักแก้ปัญหาด้วยปัญญารอบคอบ เบรก เป็นตัวคอยยับยั้งเมื่อจะมีความชั่วเกิดขึ้น เช่นอย่างเมื่อเราหาทรัพย์สินมาได้ แล้วหากใจคิดอยากจะไปเล่นการพนัน ไปเที่ยวกลางคืน ก็ให้มีสติคอยยับยั้งไม่ให้ทำอย่างนั้น เพราะเป็นอบายมุขทางแห่งความเสื่อม พวงมาลัย เป็นตัวคอยนำไปในทางที่ถูก เช่น นำไปคบบัณฑิตแทนไปคบพาล นำไปทำบุญทำกุศลแทนไปเที่ยวโรงหนังโรงละคร นำไปเข้าห้องเรียนแทนไปจับกลุ่มนั่งคุยตามใต้ต้นไม้ อย่างนี้เป็นต้น
.
ผู้ประสงค์ความสุขจึงควรรู้จักตัวเอง รู้ว่าภายในตัวเองมีอำนาจลึกลับอะไรบ้าง ที่จะคอยชักจูงชักนำเราไปในทางเสื่อมเสีย และจะแก้อำนาจลึกลับนี้ด้วยอาวุธชนิดใด ผู้ที่รู้จักตัวเองดี ย่อมได้เปรียบผู้ที่ไม่รู้ เพราะเขาจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุข
.
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
คัดจากหนังสือ ธัมมะคู่แข่งขันฯ

ความอิสระจากทุกข์ หรือจบสิ้นทุกอย่าง

#ผู้ปฏิบัติธรรมจะได้ไม่คุ้มเสีย
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
ผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นคน "ใช้ชีวิตไปวันๆ"
ผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นคน "ไม่มีอนาคต"
ผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นคน "สิ้นคิด"
ผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นคน "ขี้แพ้"
ผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นคน "ทำลายตัวเอง"
ผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นคน "ไม่มีโชค"
ผู้ปฏิบัติธรรมจะเป็นคน "ไม่เหลืออะไร"

ไม่เอาความผิดพลาดในอดีตมาซ้ำเติมชีวิต..
ไม่เอาความเพ้อฝันในอนาคตมาหวาดกลัว..
ชื่อว่า "ใช้ชีวิตไปวันๆ"

ไม่วาดฝันจินตนาการไปในอนาคต
มีสติตามรู้..อยู่กับความเป็นจริงในปัจจุบัน..
ชื่อว่า "ไม่มีอนาคต"

ไม่ใช้ชีวิตอยู่ในความคิดปรุงแต่ง
มีสติ "เห็นความคิด" ที่เกิดดับในจิตจนรู้เท่าทัน..
ชื่อว่า "สิ้นคิด"

ใช้ชีวิตโดยไม่ขัดแย้งกับความเป็นจริงของโลก..
ยอมพ่ายแพ้แก่ผู้อื่น..เพื่อชนะกิเลสตน
ชื่อว่า "ขี้แพ้"

ใช้ชีวิตโดยไม่เอาอัตตาเป็นจุดศูนย์กลางโลก
ลดมานะ..ละทิฏฐิ..กำจัดความหลงผิดติดยึด
ชื่อว่า "ทำลายตัวเอง"

สร้างเหตุที่ดีเพื่อกำหนดชะตาชีวิตตนเอง
ไม่หวังผลดลบันดาลพึ่งโชคดวงที่ลวงคนเขลา
ชื่อว่า "ไม่มีโชค"

ใช้ชีวิตโดยรู้เท่าทันความไม่มั่นคงของชีวิต
ไม่จับยึดสิ่งใดว่าเป็นตัวเรา..ของเรา
ชื่อว่า "ไม่เหลืออะไร"

การปฏิบัติธรรมมีแต่จะเสีย..จนหมดตัว
เราจะเสียในทุกๆสิ่ง..จนไม่มีอะไรจะเสีย
สุดท้ายเราจะได้กลับมาเพียงสิ่งเดียว..
นั่นคือ "ความอิสระจากทุกข์"