วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

รูปแบบของการฝึกสมาธิ

รูปแบบของการฝึกสมาธิ

วัตถุประสงค์
        ๑. เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความหลากหลายของการฝึกสมาธิในปัจจุบัน
        ๒. ให้ผู้ศึกษารู้จักรูปแบบการฝึกสมาธิแบบต่าง ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน

เนื้อหา
ความหลากหลายของการฝึกสมาธิ
          การฝึกสมาธิเป็นการฝึกฝนจิตใจให้สงบสุขนั้น มีอยู่หลายวิธีการด้วยกัน เสมือนแม่น้ำทุกÝ สายในโลกนี้ ก็ล้วนไหลลงไปสู่มหาสมุทรทั้งสิ้น การฝึกใจเพื่อให้เกิดสมาธิจิตนั้นก็มีอยู่หลายวิธีการเช่นกัน เพราะเหตุนี้จึงมีรูปแบบการสอนสมาธิจิตที่หลากหลายเป็นจำนวนมากเพื่อให้สนองความต้องการของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันไป เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมนุษย์แต่ละคนจะหาความเหมือนกันหมดทุกอย่างจริง ๆ นั้น ไม่มี Ý
ครูผู้สอนการฝึกสมาธิทั้งหลายได้ถ่ายทอดประสบการณ์ตามความรู้ ความสามารถที่ตนเองได้ฝึกฝนมา หรือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีนิยม และพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับการสืบทอดกันมาตามความรู้ ความเชื่อของคนรุ่นก่อน และบางทีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นก็มีผลต่อรูปแบบของการฝึกสมาธิด้วย เพราะคนแต่ละท้องถิ่นก็มีอัธยาศัยที่แตกต่างกันไป จึงทำให้เกิดครูสอนสมาธิมากมายทั่วโลก ซึ่งครูสอนสมาธิแต่ละท่านจะมุ่งเน้นสอนสมาธิเพื่อให้ใจเกิดสมาธิ คือทำใจให้ตั้งมั่น มีความสงบสุข เบากาย สบายใจ อันเป็นผลของสมาธิโดยทั่วไปในขั้นพื้นฐาน และเป็นฐานในการรองรับการฝึกสมาธิขั้นสูงต่อไป[๑]

รูปแบบของการฝึกสมาธิแบบต่าง ๆ ในโลก
       การฝึกสมาธิแบบต่าง ๆ ในโลกนี้ มีวิธีการฝึกสมาธิได้หลากหลายรูปแบบเป็นจำนวนมาก แต่ก็พอสรุปรูปแบบหลัก ๆ ที่นิยมฝึกกันในปัจจุบันมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ
          ๑. การฝึกสมาธิแบบเคลื่อนไหวทางร่างกาย
         ๒. การฝึกสมาธิแบบผ่อนคลายร่างกาย โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายขณะที่ฝึกสมาธิ

๑. การฝึกสมาธิแบบเคลื่อนไหวทางร่างกาย
       รูปแบบการฝึกสมาธิไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของร่างกายนี้มีวิธีการฝึกหลายอย่าง แต่ที่กำลังนิยมของผู้ที่ชื่นชอบการรักษาสุขภาพกายและใจไปควบคู่กันได้แก่ โยคะ และมวยจีน คือใช้หลักการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (ออกกำลังกาย) ช้า ๆ ไปพร้อมกับการทำใจให้ว่างและเป็นสมาธิ ด้วยการกำหนดการหายใจเข้า ออก พร้อมกับมีสติรับรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะที่ฝึกอยู่เสมอ หรือจะกำหนดใจไปยังอวัยวะส่วนที่ไม่แข็งแรงให้กลับคืนสู่สภาพปกติก็ได้ ซึ่งรูปแบบการฝึกสมาธิอย่างนี้จะมีประโยชน์ต่อการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจให้ผ่อนคลายความเครียด ความกังวล และให้ความรู้สึกสดชื้น แจ่มใส
การเคลื่อนไหวตามวิธีนี้เป็นการทำสมาธิไปด้วยในตัว พร้อมกับการเคลื่อนไหวทางกายช้า ๆ อย่างระมัดระวัง และทุกอิริยาบถมีการกำหนดรู้ตัวโดยตลอด ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติสมาธิอย่างหนึ่งที่กระทำไปพร้อมกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย คือ ออกกำลังกายไปด้วย อย่างน้อยก็ทำให้เลือดลมเดินสะดวกคล่องตัวขึ้น ข้อต่อและกล้ามเนื้อต่าง ๆ ได้รับการกระตุ้น[๒]
รูปแบบของการฝึกสมาธิด้วยวิธีการใช้หลักการเคลื่อนไหวของร่างกาย (ออกกำลัง) ไปพร้อมกับการทำจิตให้เป็นสมาธินั้น จะขอยกตัวอย่างย่อ ๆ ตามแนวทางของโยคะ[๓]

โยคะ คือ แนวทางหรือวิธีการที่จะทำให้คนเราสามารควบคุมจิตใจ และร่างกายของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเชื่อกันว่าทำให้มนุษย์เราสามารถติดต่อกับอำนาจสากลได้ เพื่อบรรลุความสำเร็จดังกล่าวนี้ คนเราจะต้องเป็นผู้มีอำนาจสมาธิอย่างสูง ผู้ที่จะกระทำเช่นนี้ได้ จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรมทางาจิตมาแล้วเป็นอย่างดีเสียก่อนการฝึกอบรมจิตจะไม่ประสบผลสำเร็จอย่างเด็จขาด ถ้ามิได้ผ่านการฝึกอบรมทางกายเป็นอย่างดีมาก่อน การฝึกอบรมทางกายดังกล่าวนี้จึงเป็นกระบวนการฝึกหัดและอบรมที่กล่าวนี้เอง ที่เรียกว่า ìหะธะโยคะî
หะธะโยคะ มีหลักการคือ ìสุขภาพทางกายเป็นรากฐานของสุขภาพทางจิตî ซึ่งในการปฏิบัติหะธะโยคะนั้น มีข้อปฏิบัติใหญ่ ๓ ประการ คือ
๑.     กำหนดจิต เป็นการส่งกระแสจิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทุกแห่งและสามารถควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
๒.     การกำหนดลมหายใจ (ปราณ)
๓.   การบริหารร่างกายด้วยท่าต่าง ๆ ให้ได้ผลแก่กล้ามเนื้อทุกส่วน ข้อต่อต่าง ๆ สมอง และประสาท รวมทั้งหัวใจและหลอดเลือด
หะธะโยคะ มีความเชื่อว่า ร่างกายของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยอำนาจพลังธรรมชาติ ๒ ประการ คือ พลังร้อนและพลังเย็น (คล้ายคลึงกับความเชื่อในลัทธิเต๋าซึ่งมีพลังหยินและพลังหยาง คือ พลังหญิงและพลังชาย) เมื่อใดพลังทั้งสองนี้สมดุลกันมาที่สุด เมื่อนั้นมนุษย์ก็จะมีสุขภาพดีที่สุดเช่นกัน
นอกจากนั้น ยังได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ìปราณî ซึ่งเปรียบเสมือนพลังงานแห่งชีวิตที่มีอยู่ในอากาศ และเป็นสาเหตุให้เกิดชีวิตต่าง ๆ ขึ้น กล่าวได้ว่า ปราณ คือ ปัญญาอันลึกที่สุดของธรรมชาติ
ตามหลักของโยคะนั้นเชื่อว่า ปราณกับจิตมีความสัมพันธ์สนิทแนบแน่นอุปมาดั่งความสำคัญระหว่างม้ากับคนขี่ ดังนั้นการฝึกหะธะโยคะ วิชาการสูดลมปราณอย่างมีระเบียบแบบแผนตามศัพท์โยคะที่เรียกว่า ìปราณยามî นั้นเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุด ปราณเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงปอดและหล่อเลี้องร่างกายทุกส่วนของมนุษย์ ถ้าร่างกายไม่สามารถสูดปราณเข้าไปได้ ก็เท่ากับว่าร่างกายนั้นขาดชีวิต
           สรุปได้สั้น ๆ ก็คือ หะธะโยคะ เป็นวิชาที่สอนให้มนุษย์รู้จักพลังธรรมชาติในร่างกายและฝึกหัดอบรมให้มนุษย์รู้จักบังคับพลังธรรมชาตินั้นเพื่อสุขภาพของกายและจิตของมนุษย์[๔]

๒. การฝึกสมาธิแบบผ่อนคลายร่างกาย โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายขณะที่ฝึกสมาธิ
รูปแบบการฝึกสมาธิด้วยการผ่อนคลายร่างกาย โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายในขณะที่ฝึกสมาธิอยู่นั้น เป็นการฝึกสมาธิที่เน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจโดยตรง คือการฝึกใจให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งตลอดเวลาในขณะที่ฝึกอยู่ ซึ่งการฝึกสมาธิกระทำได้หลายวิธี วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้มีส่วนที่ตรงกันคือการนั่งตัวตรง จะนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบหรือนั่งบนเก้าอี้ปล่อยเท้าห้อยมาแตะพื้นก็ได้ วางมือทั้งสองข้างบนตักซ้อนกันตามสบาย จะลืมตาหรือหลับตาก็ได้แต่ส่วนใหญ่ให้หลับตาพอปิดสนิท นั่งในที่เงียบ ๆ ไม่มีเสียงหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดรบกวน[๕] และในที่นี้จะขอยกรูปแบบการฝึกสมาธิกำลังนิยมปฏิบัติกันมากในปัจจุบัน ดังนี้

สมาธิแบบ TM
ในการทำจิตให้เป็นสมาธิ เราอาจใส่ใจกับเสียงในมโนภาพแทนการใส่ใจที่ลมหายใจเข้าออกก็ได้ วิธีใส่ใจกับเสียงในมโนภาพได้มีผู้นำไปเผยแพร่ในประเทศตะวันตกในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมาและเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง วิธีนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ที.เอ็ม. ( TM ย่อจาก Transcendental Meditation) เผยแพร่ในประเทศตะวันตกโดยมหาฤๅษี มเหศ โยคี
วิธีการของ TM คือ การท่อง ìมนตราî ซึ่งเป็นคำที่มีเสียง ๑ หรือ ๒ พยางค์ ให้ท่องซ้ำ ๆ ในใจ ตามหลักของมหาฤๅษี มเหศโยคะ ที่เรียกว่า ÝTranscendental Meditation หรือ T.M. หลักการของวิธีนี้ก็คือใช้วิธีนั้นสมาธิทำจิตให้สงบนิ่งไม่คิดอะไรเลย และหาอุบายให้ทำจิตให้นิ่งด้วยการระลึกถึงคำ ìมนตราî (Muntra) แล้วแต่ผู้สอนจะกำหนดคำมนตราให้
การใส่ใจที่เสียงของมนตราตลอดเวลา มนตราที่ใช้กันมากในการฝึกคือ ìโอมî แต่อาจจะใช้คำอื่นก็ได้ เช่น ìอันโชî ìชิลลิงî แม้กระทั่งคำว่า ìต้นโพธิ์î และ ìหัวโตî การใส่ใจเสียงของคำเหล่านี้คำใดคำหนึ่งซ้ำ ๆ กันในใจตลอดเวลา ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิได้[๖]Ý สำหรับผู้มาฝึกสมาธิแบบ TM ครั้งแรก เวลาถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องมาเรียนให้ครบตามเวลาทั้ง ๔ วัน เมื่อฟังการบรรยาย ผ่านการสัมภาษณ์ส่วนบุคคลไปแล้ว สิ่งสำคัญมากต่อไปคือ การเรียน ๔ วันติดต่อกัน นอกจากนั้นจะต้องปฏิบัติเทคนิคทีเอ็มทุกวัน วันละ ๒ ครั้ง ๆ ละ ๑๕-๒๐ นาที อย่างสม่ำเสมอ [๗]

การเรียนเทคนิคทีเอ็ม มีขั้นตอนอยู่ ๗ ขั้น ดั้งนี้
๑.       การบรรยายขั้นต้น ที่จะบอกเรื่องพื้นฐานและโปรแกรมทีเอ็มมีประโยชน์อะไรบ้าง
๒.   การบรรยายขั้นเตรียมตัวเรียน การบรรยายเกี่ยวกับการปฏิบัติเทคนิคทีเอ็มเป็นการอธิบายว่าเทคนิคทีเอ็มนี้เรียนอย่างไร มันผิดกับเทคนิคอื่นอย่างไร มาจากไหน สอนอย่างไร แล้วทำไมต้องสอนอย่างนั้น
๓.   การสัมภาษณ์ส่วนตัว พอหลังจากการบรรยายขั้นที่ ๒ แล้ว ผู้ฝึกจะพบกับครูของโปรแกรมทีเอ็ม ทำความรู้จักกันและตอบข้อข้องใจที่มีวันเรียนติดต่อกัน ๔ วัน (วันละประมาณ ๒ ชั่วโมง)
๔.     การสอนส่วนตัว เป็นการเรียนทีละคนกับครูทีเอ็ม ผู้ซึ่งได้รับการอบรมเป็นการส่วนตัวจากท่านมหาริชี มเหช โยคี
๕.   การตรวจสอบวันแรก เป็นการพบกันเป็นกลุ่ม ผู้ฝึกจะได้รับคำสอนเพิ่มเติมและตอบข้อข้องใจในเรื่องประสบการณ์พร้อมกับพูดถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมทีเอ็ม
๖.   การตรวจสอบวันที่ ๒ พบกันเพื่อพูดถึงกลไกของกระบวนการเทคนิคทีเอ็มและการผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อให้เข้าใจถึงประสบการณ์ในการปฏิบัติ
๗.   การตรวจสอบวันที่ ๓ พบกันเพื่อพูดถึงจุดมุ่งหมายของโปรแกรมทีเอ็มชีวิตเป็นอิสระจากความเครียด ด้วยการใช้ประสิทธิภาพของจิตและกายอย่างเต็มที่
หลังจากเริ่มเรียนแล้ว ๑๐ วัน ผู้ฝึกต้องกลับมาพบครูเพื่อตอบคำถามต่าง ๆ ที่ไปรับบริการจากศูนย์ทีเอ็ม การตรวจสอบจะมีการบรรยายเรื่องเทคนิคทีเอ็มทั้งหมด วิทยาศาสตร์แห่งภูมิปัญญาสร้างสรรค์ และการบรรยายขั้นสูง[๘]
การฝึก T.M. นี้เน้นการฝึกเป็นประจำด้วยศรัทธาและความตั้งใจจริงต่อหลักการและวิธีการนั้น ๆ[๙] เมื่อทำได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว การฝึกสมาธิก็จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ฝึกให้ดีขึ้นอย่างมาก

สมาธิแบบโยคะ
   การฝึกสมาธิแบบโยคะ เป็นการฝึกโยคะที่นอกเหนือไปจากการออกกำลังกายด้วยหะธะโยคะแล้ว ก็ยังมีการฝึกสมาธิโดยการนั่งสมาธิ เพื่อทำให้จิตสงบ และมุ่งเน้นให้เกิดพลังจิตที่สามารถไปปลุกจักรทั้ง ๗
    สำหรับจักรหรือฐานนั้น เป็นศูนย์รวมระบบประสาท ในการประสานงาน และคอยบังคับการทำหน้าที่ของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย ตลอดถึงความคิดและอารมณ์ จักรทั้ง ๗ มีดังนี้

จักรที่ ๑ มูลฐาน เพศชายตั้งอยู่ปลายสุดของกระดูกก้นกบ
เพศหญิงตั้งอยู่ด้านหลังปากมดลูกลงไป
จักรที่ ๒ สวาธิษฐาน  ตั้งอยู่ส่วนล่างของไขสันหลัง คือบริเวณท้องน้อยต่ำกว่าสะดือ ๒ นิ้วมือ
จักรที่ ๓ มณีปุระ  สูงกว่าจักรที่ ๒ เล็กน้อย คืออยู่หลังสะดือ
จักรที่ ๔ อนาทตะ  ตั้งอยู่ที่หัวใจในส่วนลึกของทรวงอกตรงช่องกระดูกสันหลัง
จักรที่ ๕ วิสุทธิ์จักร  ตำแหน่งตรงล่างสุด ของศีรษะที่มาบรรจบกับช่องไขสันหลัง
จักรที่ ๖ อาชณาจักร  เป็นจักรที่สำคัญที่สุด คือ ตั้งอยู่ตรงระหว่าคิ้วเหนือจมูก (เป็นตาที่ ๓)
จักรที่ ๗ สหัสสสาร  ตั้งอยู่บนกระหม่อมเป็นที่ตั้งของต่อม pineal

ระหว่างจักรที่ ๗ และจักร์ที่ ๑ ยังมีช่องทางเดินของพลังจิตและพลังชีวิตขนาดใหญ่อยู่ ๓ ช่องทาง เรียกว่า อิหะ (iha) ทำหน้าที่ควบคุมด้านจิตใจ, อารมณ์ปิงคละ ทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะทั้งหมดÝ และสุษุมณะ (Sushum na) เป็นช่องทางเชื่อมระหว่างจักร์ที่ ๑ ถึงที่ ๗
จากช่องทางพลังชีวิต[๑๐] ๓ ช่องใหญ่ แล้วยังมีสายโยงใยออกไป เพื่อนำพลังชีวิต คือ ปราณะออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

หลักการฝึกสมาธิแบบโยคะนี้ มีขั้นตอนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
วิธีปลุกพลัง (มนตราโยคะ)
จะต้องทำความสะอาดทั้งร่างกายและจิตใจก่อนโดยการทำปราณะ คือการหายใจและควบคุมการหายใจให้ถูกวิธีทำจิตให้บริสุทธิ์ ปราศจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ทำโยคะอาสนะ รับประทานอาหารธรรมชาติและทำสมาธิ ต่อไปจึงปลุกพลังโดยใช้เสียงครางในลำคอ ซึ่งเรียกว่า มนตราโยคะ ดังนี้
ระบบเสียงต่ำ จะก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนต่อระบบต่าง ๆ ของสมองและต่อมต่าง ๆ ตลอดถึงจักร์ทั้ง ๗Ý วิธีปฏิบัติง่าย ๆ ด้วยการทำจิตให้อยู่กับการหายใจ (ปาณสติ) หายใจเข้า นำพลังและสิ่งบริสุทธิ์เข้าไป หายใจออกนำสิ่งสกปรกออกมา ต่อไปให้ท่องคาถาประจำจักรต่าง ๆ ดังนี้
จักรที่ ๑Ý ชริงค์ Ý (SRING)
จักรที่ ๒Ý ฮริงค์ÝÝ (HRING)
จักรที่ ๓Ý คลิงค์Ý (KLING)
จักรที่ ๔Ý บริงค์ÝÝ (BHRING)
จักรที่ ๕Ý สริงค์ÝÝ (LRING)
จักรที่ ๖Ý โซโฮมÝ (SOHAM)
จักรที่ ๗Ý พัวรนำ (PURNAM)

โดยให้หายเข้า ขณะที่หายใจออกให้เปล่งเสียงออกมา แล้วทำจิตลงไปสู่ที่ตั้งของจักรต่าง ๆ ฐานละ ๗ ครั้ง รวมทั้งหมด ๔๙ ครั้ง
อีกวิธีหนึ่งโดยหายใจเข้าและทำจิตให้มั่นส่งพลังจิตโดยควบคุมหายใจเข้าจากฐานที่ ๑ ขึ้นสู่ฐานที่ ๗ ทั้งนี้เพื่อขจัดสิ่งขัดขวางทั้งหลายในช่องทางเดินของพลังชีวิตและให้พลังชีวิตผ่านชีวิตผ่านฐานต่าง ๆ จากเบื้องล่างสู่ (ฐานที่ ๑) ถึงเบื้องบนคือฐานที่ ๗
ส่วนการหายใจเข้า และหายใจออก ขอให้หายใจเป็นจังหวะ นิ่มนวลเสมือนหนึ่งความเคลื่อนไหวของคลื่น ซึ่งมีเทคนิคการหายใจ มีจังหวะดังนี้
เข้า หยุด : ออก : หยุดÝ =Ý ๒ : ๑ : ๔ : ๑
การทำสมาธิขณะพัก (นอนพัก)
การทำสมาธิขณะพักให้มีการพักและผ่อนคลายจากความเครียดและเมื่อยทั้งปวง การผ่อนคลายร่างกายทุกส่วนทั้ง ภายนอกและอวัยวะภายในในเวลาเดียวกัน ลมหายใจก็จะละเอียด ในขณะที่นอนพักอยู่จะ รู้สึกว่า ร่างกายเบาและสบายขึ้น ลืมความคิดต่าง ๆ ทั้งอดีตและอนาคตโดยเฉพาะความคิดที่ทำให้เศร้าหมอง ให้พักในท่านี้ประมาณ ๕-๑๐ นาที เสร็จแล้วก็ให้ค่อยนอนตะแคงขวา ซ้าย แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นนั่ง
ขณะที่ฝึกโยคะอาสนะอยู่จะมีความคิดทั้งทางบวกและทางลบ อดีตผ่านไปแล้ว อนาคตยังมาไม่ถึง ขอให้คิดแต่ปัจจุบันภายในตัวท่าน การปฏิบัติได้ดังกล่าวนี้ช่วยให้สติและอารมณ์มั่นคง[๑๑]
การปฏิบัติสมาธิ
          คำที่ใช้ภาวนาคือ โซ (So) หมายถึงเขา มัน หรือนั้น (He, It or That) และฮัม (Ham) หมายถึง ìฉันเป็นî (I am) ดังนั้นคำว่า โซฮัม (Soham) ก็เป็นคำหมายถึงìเขากับฉันî ขณะหายใจเข้าจะมีเสียงโซ และเมื่อหายใจออกจะมีเสียงต่ำ คือ ìซือî เมื่อสนธิเข้าด้วยกันระหว่าง โซ+ฮัม = โชม หรือ โอม
การภาวนาเริ่มต้นด้วยการนั่นขัดสมาธิ พิจารณาลมหายใจชั่วครู่ ขณะหายใจออกเปล่งเสียงโซ (So) เบา ๆ ขณะหายใจเข้าเปล่งเสียงฮัม (Ham) โอ-อม-โอ-อม-โอ รวม ๗ รอบ โดยแต่ละรอบจะคำอธิษฐานให้ชีวิตและจิตวิญญาณบริสุทธิขึ้น คือ เป็นการสร้างความคิดเชิงบวกให้แก่ตนเอง
ตัวอย่างการภาวนา ๑ รอบ คือ
ìข้าสะอาด...ข้าสนุก...ข้าสบาย ข้าปลอดภัย...ข้าไม่เจ็บปวด...ข้าปลอดจากกระทำผิด โอ-อม-โอ-อม-โอ-อมî
สรุปได้ว่าการทำสมาธิแบบโยคะนั้น มุ่งเน้นความเป็นหนึ่งเดียวของร่างกายกับจิตใจ โดยวิธีการฝึกจะมีหลักที่ว่า ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลายมากที่สุด แล้วให้ลมหายใจเป็นสื่อกลางในการทำสมาธิควบคู่กับการภาวนามนตรา เพื่อให้จิตสงบและมีความบริสุทธิ์


สมาธิแบบธิเบต[๑๒]
       การฝึกสมาธิตามแบบธิเบต นอกจากต้องการจิตใจที่บริสุทธิ์แล้ว ยังต้องการอำนาจจิตด้วย รูปแบบการฝึกจึงมุ่งเพ่งความคิดให้แน่วแน่ลงไปในสิ่งเดียว หากสามารถรวมพลังจิตทำนองเดียวกับการรวมแสงอาทิตย์ จะทำให้ได้พลังจิตอย่างมหาศาล[๑๓]
การปฏิบัติสมาธิจะต้องหลอมรวมร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน ด้วยดวงจิตที่มีสติควบคุมจดจ่อ เป็นอารมณ์เดียว และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนให้ครบถ้วน จึงจะบังเกิดผลขึ้นมาได้ในเวลาอันควร การปฏิบัติทุกขั้นตอนจะต้องไม่รีบร้อน ให้ทำแบบช้า ๆ เพื่อให้ทั้งร่างกาย ความคิด และประสาทสัมผัส สามารถผสมผสานเข้าสู่กระบวนการได้อย่างถูกต้อง และผลที่เกิดขึ้นจะได้ไม่ขาดตกบกพร่อง[๑๔]
ขั้นตอนการฝึกสมาธิ มีดังนี้
๑. การพักผ่อน
๒. การกำหนดลมหายใจ
๓. การฝึกความสงบ
๔. การภาวนา
๕. การเพ่งกสิณ
การดำเนินการปฏิบัติสมาธิ ควรปฏิบัติเรียงลำดับไป โดยก่อนเริ่มปฏิบัติ จะให้ผู้เรียนอธิษฐานจิตเสียก่อน เพื่อเป็นการแสดงความตั้งใจจริงในการปฏิบัติและต้องการให้เกิดผลดีตามมาด้วย
คำอธิษฐาน[๑๕]
ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมและกำหนดความนึกคิดทั้งหมด
ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมจิตปรารถนาและความนึกคิด เพื่อประโยชน์เกิดเป็นความบริสุทธิ์ของดวงวิญญาณ
ขอให้วันนี้และวันต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะควบคุมมโนภาพและความนึกคิด เพื่อประโยชน์อันเป็นความสำเร็จในการปฏิบัติจิตของข้าพเจ้า
จากการอธิษฐานจิตตามข้อความข้างต้น ก็จะมาถึงขั้นตอนแรกคือ
การพักผ่อน
การพักผ่อนร่างกายให้เต็มที่ก่อนการภาวนา คือการนอนเหยียดแขน ขา ออกไปในท่าที่สบายที่สุด แต่ไม่ควรให้สบายมากถึงขนาดนอนหลับไป การตื่นขึ้นตอนเช้ามืดจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดของการปฏิบัติสมาธิเพราะร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในระหว่างการนอนหลับตลอดคืน
วิธีการนอนพักของชาวธิเบต เป็นการฝึกให้สร้างมโนภาพในขณะนอนว่าในตัวของเราเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีคนตัวเล็กอยู่เต็มไปหมด ขณะนี้โรงงานนี้จะปิดกิจการชั่วคราว เครื่องจักรจะหยุดทำงานทั้งหมด และคนงานต้องทยอยกันออกจากโรงงาน เป็นการผ่อนคลายร่างกายที่ละส่วนทั้งหมด โดยเริ่มจากปลายนิ้วเท้าก่อน ตลอดจนไปถึงลำตัว และศีรษะ วิธีนี้จะทำให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ และจะต้องฝึกอย่างนี้จนสามารถนอนหลับได้ทันทีเมื่อล้มตัวลงนอน ทั้งนี้เพื่อการพักผ่อนที่แท้จริง แม้แต่ท่านจะมีเวลานอนหลับเพียงระยะสั้น ๆ ก็ตาม[๑๖]
การกำหนดลมหายใจ
เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการปฏิบัติสมาธิ เพื่อผ่อนคลายความเครียดทางจิตใจ และเพื่อฝึกการกำหนดรู้ของสติสัมปชัญญะ
การสูดลมหายใจให้ลึก และเป็นจังหวะสม่ำเสมอ วิธีการคือ ให้สูดลมเข้าไปอย่างช้า ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แล้วกลั้นลมไว้ภายในสัก ๒-๓ วินาที แล้วค่อยระบายลมออกอย่างช้า ๆ สิ่งสำคัญก็คือจะต้องมีสติ ตามกำหนดรู้กองลมตลอดสายคือรู้ลมเข้า รู้ลมกลั้นอยู่ภายใน และรู้ว่าลมกำลังระบายออกมาให้ทำซ้ำ ๆ เช่นนี้หลายครั้ง จะรู้สึกว่าทั้งร่างกายและความคิด เมื่อติดตามกองลมอยู่เสมอ จิตใจจะค่อย ๆ สงบลงไปได้[๑๗]
การฝึกความสงบ
การฝึกความสงบ สามารถฝึกได้ทั้งอิริยาบถนั่งหรือนอนก็ได้ แต่ให้เป็นอิริยาบถที่สบาย พยายามให้ความคิดในใจหยุดนิ่งที่สุด มีคำพูดที่สอนกันต่อ ๆมาในธิเบตว่า ìBe still and Kniw I withinî ซึ่งอาจแปลความว่า ìถ้าสงบได้จริง ๆ แล้ว จะทราบได้ว่า ตัวเราอยู่ภายในนี่เองî ในขณะที่ฝึกความสงบนี้ให้ละความกังวลใจออกไป แล้วจะเห็นผลภายในเวลาเพียงเดือนเดียวว่า ความรู้สึกนึกคิดพวกเราเปลี่ยนไปในทางที่เข้มแข็งขึ้น และการจะให้จิตวิญญาณ พัฒนาได้เร็ว จะต้องทำความเข้าใจกับความสงบให้ดี การพูดน้อยลงหรือพูดเท่าที่จำเป็นก็เป็นสิ่งส่งเสริมในการพัฒนาจิตใจ[๑๘]
ในระหว่างขั้นตอนของการฝึกความสงบ หรือ ก่อนจะเลิกการอบรมมีข้อแนะนำให้รวบรวมสมาธิจิต เพื่อแผ่เมตตาตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
๑. เริ่มต้นด้วยการคิดถึงความรัก ความรักที่มีต่อตนเอง ต่อคนอื่น ตลอดจนแผ่ความรัก ไปยังสัตว์ทั้งหลายอย่างไม่กำหนดขอบเขต เท่าที่เวลาและกำลังสมาธิของท่านจะทำได้
๒. หลังจากได้แผ่การะแสจิตระลึกถึงผู้ที่กำลังตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย โดยจะต้องตั้งใจนึกให้เขาเหล่านั้นพ้นจากความทุกข์ เป็นกระแสพลังที่ต้องการปลดไถ่โทษให้แก่สัตว์ทั้งหลาย[๑๙]
๓. เป็นการตั้งความคิดแผ่ความสุขนี้ไปยังสัตว์ทั้งหลาย อนึ่งนอกจากความสุขที่แผ่ออกไปแล้ว อาจนึกยินดีกับความดีงามที่เกิดกับมนุษย์ที่ปฏิบัติดีว่าเป็นเรื่องที่ดี เรื่องที่น่าจะน้อมอนุโมทนา เห็นด้วยกับความสุขความดีงามของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น
๔. เป็นการแผ่เมตตาของผู้ที่สำเร็จสมาธิจิต ขั้นที่เกิดความสงบ ความวิเวกในดวงจิต ใจของผู้ที่ยกสู่ความสงบในขั้นฌาน จะปล่อยวาง ความเกลียดและความรักในระดับโลกีย์ เป็นจิตที่ยอมรับว่าชีวิตจะต้องเป็นไปตามกรรม กระแสเมตตาของสมาธิระดับนี้จะเป็นกระแสที่ร่มเย็น มีความแรงของจิตที่แผ่ออกไปได้กว้างขวาง[๒๐]
การภาวนา
เป็นการสาธยายมนตราซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ซึ่งคำภาวนาที่นิยมมีหลายคำ โดยท่านลามะอาจารย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับจริตของผู้ปฏิบัติ ตัวอย่างคำภาวนาเช่น โอม มณีปัทเม หุม[๒๑]
การภาวนาเพียงสองสามครั้งจะไม่เพียงพอให้เกิดพลังจิตที่จะไปผลักดันให้ดวงจิตภายในตื่นขึ้นมาได้Ý แต่ต้องภาวนาโดยการตั้งใจจริงและทำสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นให้จิตชั้นในเริ่มตื่นขึ้นมารับรู้[๒๒] บางครั้งก็ใช้เครื่องช่วยในการภาวนาของชาวธิเบต เป็นกงล้อกลมหมุนได้มีแกนกลางและหมุนลอกรวมร้อยแปดจุด เมื่อภาวนาครบหนึ่งคาบ นักปฏิบัติก็จะหมุนกงล้อไปหนึ่งครั้ง เหมือนกับการชักลูกประคำของชาวฮินดู จิตจะต้องจดจ่ออยู่กับคำภาวนาและจำนวนคาบที่ได้ภาวนาไปแล้ว สติสัมปชัญญะจะต้องตื่นอยู่เสมอเพื่อไม่ให้หลงลืมจำนวนครั้ง[๒๓]
การเพ่งกสิณ
การเพ่งกสินของชาวธิเบต[๒๔]มีหลายแบบ แต่ที่นิยมมากก็คือการเพ่งแสงสว่าง ที่เรียกกันว่า ìอาโลกกสิณî ทั้งนี้ ครูอาจารย์ธิเบตสมัยก่อนวางแนวไว้ให้ลูกศิษย์เดินตามเรียงลำดับขั้นไป[๒๕]
ขั้นแรก ผู้เขาฝึกจะต้องผ่านการสอบอารมณ์จากท่านลามะอาจารย์มาแล้ว ว่าระดับสมาธิก้าวเข้าสู่ขั้นกลาง (อุปจารสมาธิ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะก้าวมาฝึกให้ได้สมาธิในขั้นสูง (อัปปนาสมาธิ) ดังนี้
การเพ่งดูภาพตนเองในกระจกต้องทำหลังจากการพักผ่อนสักครู่ เมื่อจิตรวมลงสู่ความสงบด้วยแสงไฟ ท่านั่งในอาการสงบเพ่งดูรอบศีรษะและคอของตนเอง หากจิตสงบพอจะเห็นรังสีเล็ก ๆ ตามขอบศีรษะ ลำคอ และร่างกายโดยทั่วไป สิ่งสำคัญจะต้องใจเย็นรีบร้อนไม่ได้ เพราะเรื่องสมาธิจิตขึ้นอยู่กับความตั้งในและความสม่ำเสมอในการปฏิบัติ[๒๖]
ขั้นที่สอง หลังจากที่ได้ฝึกเพ่งกสิณในขั้นแรกได้สำเร็จ เกิดผลตามสมควรแล้ว จึงเริ่มตนฝึกขั้นต่อไป
การเพ่งลูกแก้วโดยที่ถูกต้องจะต้องเพ่งกสิณตลอดเวลา จนเกิดอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต สำหรับการฝึกในขั้นต้น จะฝึกสร้างดวงกสิณของลูกแก้วภายในใจก่อนเมื่อสามารถจดจำลักษณะลูกแก้วได้อย่างชัดเจนแล้ว สามารถสร้างมโนภาพจนจิตเกิดพละกำลังพอเพียงแล้ว จึงมาเริ่มฝึกโดยวิธีลืมตาดูลูกแก้ว เพื่อให้จิตแน่วแน่เข้าสู่อัปปนาสมาธิ[๒๗]
สรุปแล้วการฝึกสมาธิแบบธิเบต เป็นการฝึกโดยเริ่มต้นจากความผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ แล้วค่อยฝึกลมหายใจให้ยาวและลึก พร้อมกับคำภาวนา เมื่อใจสงบดีแล้วก็มาฝึกเพ่งกสิณกันต่อ ซึ่งกสินที่ชาวธิเบตนิยมทำกันมากก็คือ กสินแสงสว่าง และการเพ่งลูกแก้ว โดยมุ่งให้เกิดอำนาจทางจิตมี ตาทิพย์ เป็นต้น
สมาธิแบบเซนในปัจจุบัน[๒๘]
สมาธิแบบเซนในปัจจุบันÝÝ พุทธศาสนานิกายเซนในประเทศญี่ปุ่น ที่สำคัญ มีอยู่ ๒ สายÝ สายแรกคือ รินไซเซน (Rinzai Zen) ซึ่งมีปริศนาธรรมเป็นหัวใจของการปฏิบัติÝ ส่วนสายที่สองคือ โซโตะเซนÝ (Soto Zen) ซึ่งใช้อีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า ชิคานทาซา เป็นหัวใจของการปฏิบัติ
      รินไซเซนในปัจจุบันใช้โกอานเป็นหัวใจของการปฏิบัติÝ ซึ่งการปฏิบัตินั้นเมื่อนักศึกษาเข้าไปขอกรรมฐานกับอาจารย์แล้ว อาจารย์ก็จะให้โกอานข้อที่หนึ่งซึ่งก็คือ ให้ภาวนาคำว่า ìมูî จนกว่าจะหาคำตอบได้ พอตอบได้แล้ว อาจารย์ก็จะให้โกอานข้อที่ ๒ เราตอบได้ก็ให้ข้อที่ ๓ ข้อที่ ๔Ý ข้อที่ ๕ ไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมดโกอานในหนังสือìมูมอนคานî แล้วถือว่าจบหลักสูตรÝ ถือได้ว่ารู้ธรรมะขั้นลึกซึ้งÝ ซึ่งลักษณะการทำภาวนาแบบนี้คล้ายกับการฝึกแบบภาวนา พุท-โธ ของไทยÝ แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะหาคำตอบจากการภาวนาก็ตามÝ การนั่งนั้นเข้าก็นั่งนิ่ง หลับตาภาวนา ดูลมหายใจÝ และในการดูลมหายใจนั้นเขาก็กำกับคำภาวนาด้วย
         นอกจากนี้ยังมีบางสำนัก คือ ìเรียวโคอินîÝ ที่อาจารย์โคโบริ โรชิ สอนชาวต่างประเทศÝ ได้ประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตก คือ ขณะที่อาจารย์เซนคนอื่นสอนให้ภาวนาคำว่า ìมูî ท่านโคโบริก็สอนให้ชาวตะวันตกภาวนาว่า ìoneî ทำภาวนาอย่างนี้จนความรู้สึกนึกคิดเป็นอย่างเดียวกับคำภาวนา
        ส่วนสายที่ ๒ คือ โซโตะเซน ใช้วิธีการที่แตกต่างออกไป คือ เขาให้นั่งสมาธิ นั่งนิ่งๆ แต่ไม่หลับตา ให้ลืมตา และไม่ต้องภาวนาÝ ไม่ต้องดูลมหายใจÝ ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น นั่งเฉยๆ แล้วให้รู้สึกตัว เช่น ในขณะที่นั่งนั้นมีเสียงรถผ่านไปก็ให้รู้Ý ลมพัดมาต้องกายก็ให้รู้Ý มีอะไรเกิดขึ้นรอบกายก็ให้รู้Ý ให้นั่งอยู่ในความรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง มีสติ รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างÝ วิธีการนี้เรียกว่า ìชิคานทาซาî
สรุปสมาธิแบบเซนจะมุ่งเน้นความสงบทางใจโดยการนั่งนิ่ง ๆ แล้วนำคำภาวนามาขบคิดจนเกิดความความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความสว่าง สงบ และความยินดี

การฝึกสมาธิตามแบบพุทธศาสนาเถรวาท
อานาปานสติ
การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ เป็นรูปแบบการฝึกสมาธิที่นิยมฝึกกันมาก ในทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ในที่นี้จักขอยกเอาการฝึกสมาธิตามแบบสายพระธุดงค์อีสาน โดยมีพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เป็นครูผู้สอนสมาธิที่มีชื่อเสียงมากในสายพระธุดงค์อีสาน[๒๙] ซึ่งท่านใช้คำว่า พุท-โธ Ýเป็นหลักในการภาวนาตามจังหวะลมหายใจเข้า-ออกÝ นอกจากนี้ท่านยังเน้นการเดินจงกรม โดยระยะที่จะเดินประมาณ ๕ เมตร ถึง ๑๐ เมตร
มองทอดสายตาดู ไปข้างหน้าประมาณ ๔ Ýก้าวเพื่อไม่ให้จิตใจวอกแวก ส่วนมือซ้ายก็นำมาวางที่หน้าท้องและมือขวามาวางทับ เพื่อป้องกันแขนแกว่งขณะเดิน และดูสวยงาม เมื่อได้ท่าที่พอดีแล้วก็เดินก้าวขาขวาไป ก็นึกคำว่า "พุท" และเมื่อก้าวขาซ้ายไปก็นึก คำว่า "โธ" เวลาเดินไม่หลับตาแต่ให้ลืมตา และกำหนดสัมผัสของเท้าที่ก้าวเหยียบลงพื้น เดินว่าพุทโธไปเรื่อย พอถึงปลายทาง เดินก็หยุดนิดหนึ่ง แล้วก็หันกลับด้านขวามือ Ýมาทางเดิม และเดินว่าพุทโธต่อไป อย่าเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป กำหนดจิตของเราอยู่ที่ก้าวเดินและคำภาวนา ไม่ให้จิตวอกแวก
สิ่งสำคัญคือ การกำหนดจิตให้ทันการเคลื่อนไหว ส่วนการเดินเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น เราควรทำอย่างน้อย ๓๐ นาที และจะดีมากขึ้นถ้าตามด้วยการนั่งสมาธิ เพราะการเดินจงกรม เป็นการเปลี่ยน อิริยาบถ ปล่อยอารมณ์ และเตรียมร่างกายให้พร้อมสู่การนั่งสมาธิ

อิริยาบถนั่งสมาธิ
นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางลงบนตัก ตั้งกายตรง (ไม่นั่งก้มหน้า ไม่นั่งเงยหน้า ไม่นั่งเอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ไม่โยกหน้า ไม่โยกหลัง) ไม่กดและข่มอวัยวะในร่างกาย
วางกายให้สบาย ๆ ตั้งจิตให้ตรง ลงตรงหน้า กำหนดรู้ซึ่งจิตเฉพาะหน้า ไม่ส่งจิตให้ฟุ้งซ่าน ไปในเบื้องหน้า-เบื้องหลัง (อนาคตและอดีต) พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดจิตรวมเข้าตั้งไว้ในจิต บริกรรมÝ พุทโธจนกว่าจะเป็นเอกัคคตาจิต
สรุปการทำสมาธิแบบอานาปานสติ จะใช้วิธีเอาสติไปอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก โดยภาวนาพุท-โธ กำกับด้วย ส่วนนอกรอบก็ฝึกสติด้วยการเดินจงกรมพร้อมกับภาวนา พุท-โธ ไปด้วย ซึ่งผลการปฏิบัติที่ดีก็จะทำให้ใจสงบ มีดวงสว่าง เป็นต้น หรือที่พระอาจารย์มั่นมักเรียกว่า ดวงพุทโธ

การบริกรรมยุบหนอ- พองหนอ
เน้นการใช้สติปัฏฐาน ๔ ควบคู่กับการบริกรรมยุบหนอ-พองหนอ เป็นแนวการสอนสมาธิตามแบบปะเทศพม่า และพระธรรมธีรราชมหามุนี (พระมหาโชดก ญาณสิทธิ) เป็นผู้ไปฝึกปฏิบัติแล้วนำมาเผยแพร่ที่ประเทศไทย ซึ่งท่านจัดสอนที่ìวัดมหาธาตุฯî ซึ่งมีวิธีปฏิบัติโดยย่อว่า ให้เดินจงกรมเสียก่อนประมาณ ๓๐ นาที ถึง ๑ ชั่วโมง โดยเน้นให้มีสติอยู่ที่ส้นเท้าเป็นหลัก และเมื่อเดินจงกรมครบกำหนดแล้วให้นั่งสมาธิ เอาสติไว้ที่ท้องภาวนาว่า ìพองหนอ ยุบหนอî ประมาณ ๓๐ นาที ถึง ๑ ชั่งโมง ถ้านั่งครบกำหนดแล้ว ก็ให้ลุกขึ้นเดินจงกรมอีก และนั่งสมาธิอีก ทำให้ต่อเนื่องสลับกันไป
สำหรับการนั่งสมาธิ และ เดินจงกรม ที่สอนในแบบยุบหนอ พองหนอนี้ Ýมุ่งเน้นพิจารนาตามกฎไตรลักษณ์ ส่วนวิธีการอาจมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด ตามแต่อาจารย์ที่สอน สำหรับวิธีการโดยทั่วไป มีคือดังนี้
ให้ยืนตัวตรง ใบหน้าและลำคอตรง ทอดสายตาไปที่พื้นห่างจากปลายเท้าประมาณ ๒-๓ เมตร เอามือวางหน้าท้องเหนือสะดือเล็กน้อย ยกเท้าขวาจากพื้นช้าๆ พร้อมกับบริกรรม ìขวาî พอเท้าขวาเคลื่อนไปข้างหน้า บริกรรม ìย่างî พอเท้าขวาลงจดพื้น บริกรรม ìหนอî และยกเท้าซ้าย บริกรรม ìซ้ายî พอเท้าซ้ายเคลื่อนไปข้างหน้า กำหนดîย่างî พอเท้าซ้ายจดพื้น บริกรรม ìหนอî พอเดินไปได้ สุดทาง ประมาณ ๗-๘ เมตรหรืออย่างน้อยควรมีที่เดินได้สัก ๘ ก้าว  ก็กำหนดหยุดหนอ เท้าชิดกันบนพื้น ยืนตรงกำหนด ìยืนหนอî แล้วก็กลับตัว  กำหนด ìกลับหนอî พร้อมหมุนส้นเท้าขวา ตามด้วยเท้าซ้ายอย่างช้า ๆ   ค่อย ๆ ทำจนหมุนกลับมาทางเดิม และเริ่ม ขวา-ย่าง-หนอ และ ซ้าย-ย่าง-หนอ ต่อไปจนครบเวลาพอสมควร เมื่อฝึกกำหนดจนคล่องแล้วอาจเพิ่ม การกำหนดละเอียดขึ้นไปอีก จนครบ ๖ ระยะ คือ
๑.ขวา... ย่าง... หนอ ...ซ้าย ... ย่าง ... หนอ...
๒.ยก... หนอ... เหยียบ... หนอ...
๓.ยก... หนอ... ย่าง.... หนอ... เหยียบ... หนอ...
๔.ยกส้น ... หนอ....ยก....หนอ...ย่าง...หนอ....เหยียบ.... หนอ....
๕.ยกส้น .... หนอ.....ยก.... หนอ...ย่าง... หนอ...ลง... หนอ...ถูก... หนอ...
Ý๖.ยกส้น... หนอ...ยก... หนอ...ย่าง... หนอ...,   ลง... หนอ...ถูก... หนอ ...กด... หนอ...
ถ้าเป็นสายคุณแม่สิริ กรินชัย จะเพิ่มระยะที่ ๗
๗. ยกส้น... หนอ ...ไม่คิดหนอยก... หนอ...ไม่คิดหนอ, (ทวนระยะ ๖ เพิ่มคิดและไม่คิด)
แต่ถ้าผู้ฝึกคนใดชอบฝึกอย่างเคร่งครัด ก็จะฝึกให้มีสติทุอิริยาบถ โดยให้มีสติรู้ตัวตลอดเวลาแล้วภาวนากำกับอารมณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นมา เช่น กินหนอ ๆ ๆÝ อ้าปากหนอ ๆ ๆÝ เคี้ยวหนอ ๆ ๆÝ ยกแขนลงหนอ ๆ ๆ เป็นต้น
การนั่งสมาธิ
ให้นั่งแบบพระพุทธรูปที่ใช้พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายบนตัก ผู้ที่ไม่ถนัดอาจอนุโลมให้นั่งพับเพียบ หรือนั่งเก้าอี้ก็ได้ แต่ต้องนั่งตัวตรง และไม่พิงพนักเก้าอี้
หลับตา ให้เอาสติมาจับอยู่ที่ท้องเหนือสะดือ ขึ้นมาประมาณ ๒ นิ้ว หายใจตามปรกติ โดยเวลาหายใจเข้า ท้องโป่งพองออก กำหนดว่า ì พองหนอî เวลาหายใจออกท้องจะแฟบยุบ ก็กำหนดว่า ì ยุบหนอî โดยกำหนดให้เท่าทันอาการ ในเวลานั่งไป หากได้ยินเสียง ก็กำหนดยินหนอ หากมีความปวดเมื่อยเกิด ก็กำหนดเมื่อยหนอจนหายไป คงมีสติกำหนดในอาการต่าง ๆ ตามสติปัฏฐาน ๔ หากไม่มีอาการอื่นก็ กำหนดพองยุบต่อไปจนเห็นความดับเฉยของ พองยุบ Ýเวลาที่ใช้ในการนั่งสมาธิมักใช้เวลาพอดีกับการ เดินจงกรม
สรุปการทำสมาธิด้วยการภาวนายุบหนอ พองหนอ เป็นการฝึกสติอยู่กับลมหายใจที่ท้องเป็นหลัก ส่วนถ้ามีอารมณ์อื่นมาแทรก ก็ให้พิจารณา คือ เอาอารมณ์นั้นมาภาวนาแทนจนกว่าใจจะสงบ ส่วนถ้าเดินจงกรมก็ให้มีสติอยู่กับเท้าที่เดินอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้มุ่งหวังให้ใจรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองอยู่เสมอ
การฝึกสมาธิขั้นต้นเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
การฝึกสมาธิแบบนี้ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้ฝึกปฏิบัติ และได้นำมาถ่ายทอดให้แก่ศิษยานุศิษย์ รูปแบบการฝึกเป็นการใช้อาโลกกสิณ หรือ กสิณแสงสว่าง ควบคู่กับการบริกรรมภาวนา ìสัมมา อะระหังî ซึ่งเป็นการเจริญพุทธานุสสติ ขั้นตอนการปฏิบัติในเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้
กราบบูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีลห้า หรือศีลแปด และระลึกถึงความดี ที่ได้กระทำมาทั้งหมด จนใจเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณงามความดีล้วนๆÝ แล้วนั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ขวาจรดหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในจังหวะพอดี หลับตาพอสบาย แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่ากำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง

กำหนดอาโลกกสิณ คือ กสิณแสงสว่าง เป็น ìดวงแก้วกลมใสî ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสสนิท ปราศจากราคี หรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็นพุทธานุสติว่าìสัมมาอะระหังî หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้ว กลมใส ให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วยการนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไปพร้อมๆ กับคำภาวนา
อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงใส และกลมสนิทปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่า นิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิตมาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่งซ้อนอยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน แล้วจากนั้นทุกอย่างจะค่อยๆ ปรากฏให้เห็นได้ด้วยตนเอง เป็นภาวะของดวงกลม ที่ทั้งใสทั้งสว่างผุดซ้อนขึ้นมาจากกึ่งกลางดวงนิมิต ตรงที่เราเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ
ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น อันจะเป็นเครื่องสกัดกั้นใจมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการปฏิบัติบังเกิดผลแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอจนกระทั่งกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ หรือนึกเมื่อใดเป็นเห็นได้ทุกที อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังทำให้สมาธิละเอียดอ่อนก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ได้อีกด้วย
สรุปการฝึกสมาธิขั้นต้นเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เป็นการฝึกให้ใจสงบ และมีความสุขจากการหยุดนิ่งของใจ ซึ่งมีวิธีการฝึกสมาธิด้วยการใช้กสิณแสงสว่าง มีดวงแก้วขาวใสเป็นนิมิต และบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหัง อยู่ที่ศูนย์กลางกาย เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง สงบ เบา สบาย และมีความสุข
       แนวการปฏิบัติข้างต้นจะทำให้เราเห็นภาพของการทำสมาธิแบบต่างๆ ซึ่งโดยรายละเอียดอาจจะมีวิธีการที่หลากหลาย แต่ทั้งหมดนั้นมีจุดหมายเดียวกันคือการทำให้จิตนั้นตั้งมั่นเป็นสมาธิ แน่วแน่เป็นอารมณ์เดียว และเพื่อให้เกิดความสุขภายใน





[๑] การฝึกสมาธิขั้นสูงจะมีความมุ่งหมายแต่ต่างกันบ้าง เช่น ในทางพระพุทธศาสนาจะฝึกสมาธิเพื่อมุ่งการทำพระนิพพานให้แจ้ง
[๒] เฉก ธนะสิริ, [๒๕๒๙] สมาธิกับคุณภาพชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ, หน้า ๘๑.
[๓] เฉก ธนะสิริ, [๒๕๒๙] สมาธิกับคุณภาพชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ, หน้า ๘๑-๘๒.
[๔] เฉก ธนะสิริ, [๒๕๒๙] สมาธิกับคุณภาพชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ, หน้า ๘๒-๘๓.
[๕] ดร.ชัยพร วิชชาวุธ, Ý, [๒๕๒๕] มูลสารจิตวิทยากรุงเทพฯ, หน้า ๒๓๕.
[๖] ดร.ชัยพร วิชชาวุธ, Ý, [๒๕๒๕] มูลสารจิตวิทยากรุงเทพฯ, หน้า ๒๓๖.
[๗] สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งภูมิปัญญาสร้างสรรค์ (ประเทศไทย) แปล, เดนนิส เดนนิสตัน เขียน, [๒๕๔๓] ทีเอ็ม บุ๊ค (TM BOOK)กรุงเทพฯ, หน้า ๑๕๖.
[๘] สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งภูมิปัญญาสร้างสรรค์ (ประเทศไทย) แปล, เดนนิส เดนนิสตัน เขียน, [๒๕๔๓] ทีเอ็ม บุ๊ค (TM BOOK)กรุงเทพฯ, หน้า ๑๕๕-๑๕๖.
[๙] เฉก ธนะสิริ, [๒๕๒๙] สมาธิกับคุณภาพชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ, หน้า ๘๔-๘๕.
[๑๐] ช่องพลังชีวิตนี้ทางโยคะเรียกว่า กุณทาลีนี (Kuntalini) ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Meridian ญี่ปุ่นเรียกว่า กิ (Ki) จีนเรียกว่า ซี (Chi) มีความหมายตรงกัน คือช่องทางเดินของปราณะ
[๑๑] พีระ บุญจริง, [๒๕๔๑] โยคะชำระโรค, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ราชบุรี, หน้า ๑๖-๑๘.
[๑๒] เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ แปล-เรียบเรียง.[๒๕๓๔] สมาธิแบบธิเบต. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กทม. : ปัญญา,หน้า ๙
[๑๓] เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ แปล-เรียบเรียง.[๒๕๓๔] สมาธิแบบธิเบต. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กทม. : ปัญญา,หน้า ๑๐
[๑๔] เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ แปล-เรียบเรียง.[๒๕๓๔] สมาธิแบบธิเบต. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กทม. : ปัญญา,หน้าที่ ๙
[๑๕] เล่มเดียวกัน,หน้า ๑๒
[๑๖] เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ แปล-เรียบเรียง.[๒๕๓๔] สมาธิแบบธิเบต. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กทม. : ปัญญา, หน้า ๑๓-๑๔.
[๑๗] เล่มเดียวกัน, หน้า ๑๔-๑๕.
[๑๘] เล่มเดียวกัน, หน้า ๑๕-๑๖.
[๑๙] เล่มเดียวกัน, หน้า ๑๖.
[๒๐] เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ แปล-เรียบเรียง.[๒๕๓๔] สมาธิแบบธิเบต. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กทม. : ปัญญา, หน้า ๑๗.
[๒๑] เล่มเดียวกัน, Ýหน้า ๑๘-๑๙.
[๒๒] เกรียงเล่มเดียวกัน, Ýหน้า ๑๙.
[๒๓] เกรียงเล่มเดียวกัน, Ýหน้า ๒๐.
[๒๔] การเพ่งกสินของชาวธิเบต เป็นขั้นตอนของการฝึกจิตให้เกิดทิพย์อำนาจ ควรปฏิบัติภายใต้การดูแลของลามะอาจารย์ เพราะมีบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดการหลงทางได้ง่าย
[๒๕] เกรียงศักดิ์ จรัณยานนท์ แปล-เรียบเรียง.[๒๕๓๔] สมาธิแบบธิเบต. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กทม. : ปัญญา, หน้า ๒๐-๒๑.
[๒๖] เล่มเดียวกัน, หน้า ๒๑-๒๒.
[๒๗]เล่มเดียวกัน , หน้า ๒๒.
[๒๘] ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์, [๒๕๓๑] เซนกับสังคมญี่ปุ่น, กาญจนบุรี,. หน้า ๔๒-๔๔.
[๒๙] พระธุดงค์อีสาน คือ พระภิกษุผู้เป็นนักปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งคัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งท่านมักจะเดินทางปฏิบัติธรรมตามป่า เขาในพื้นที่ภาคอีสานของประเทศไทย

ที่มา  https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=4863876048603891136#editor/src=sidebar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น