วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อาการของอุปจารสมาธิและอาการของฌาน ที่ทุกคนต้องสอบผ่าน..สาธุ

อาการของอุปจารสมาธิ และอาการของฌาน ที่ ๑ , ๒, ๓ ,๔

โดย…หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง



……อาการและอารมณ์ของอุปจารสมาธิ…..

“….อาการของอุปจารสมาธิคือ ปีติได้แก่อารมณ์ความอิ่มใจเมื่อทำมาถึงตอนนี้อารมณ์จะชุ่มชื่นมาก อารมณ์สะอาดเยือกเย็น มีความเป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม ไม่เคยพบความสุขอย่างนี้มาก่อนเลยในชีวิต ตอนนี้เวลาภาวนาลมหายใจจะเบากว่าปกติมาก อารมณ์เป็นสุขร่างกายของนักปฏิบัติที่เข้าถึงระดับนี้ ผิวหนังจะนวลขึ้นเพราะอารมณ์ที่มีความสุขแต่อาการทางร่างกายนี่สิที่ทำให้นักปฏิบัติตกใจกันมากนั่นก็คือ

….๑. อาการขนลุกซู่ซ่า เมื่อเกิดอาการอย่างนี้หรืออย่างอื่นที่กล่าวถึงต่อไปจะมีอารมณ์ใจเป็นสุข ขอให้ทุกท่านปล่อยอาการอย่างนั้นไปตามสภาพของร่างกาย จงอย่าสนใจ เมื่อสมาธิสูงขึ้น หรือลดตัวลงต่ำกว่านั้น อาการอย่างนั้นก็จะหมดไปเอง อาการขนลุกพองถ้ามีขึ้นพึงควรภูมิใจว่า เราเข้าถึงอาการของปีติระดับหนึ่งแล้ว อย่ากังวลอาการของร่างกาย ….

….๒. อาการของปีติขั้นที่ ๒ ได้แก่อาการน้ำตาไหล”

…..๓. อาการของปีติขั้นที่ ๓ คือร่างกายโยกโคลง โยกไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้างบางคราวโยกแรง จนศีรษะใกล้ถึงพื้น….

….๔. อาการของปีติขั้นที่ ๔ ตามตำราท่านว่าตัวลอยขึ้นบนอากาศ แต่ผลของการปฏิบัติไม่แน่นัก บางรายก็เต้นเหมือนปลุกตัว บางรายก็ตัวลอยขึ้นบนอากาศ เมื่อลอยไปแล้ว ถ้าสมาธิคลายตัวก็กลับมาที่เดิมเอง (อย่าตกใจ)…

….๕. อาการของปีติขั้นที่ ๕ คือ มีอาการแผ่ซ่านในร่างกายซู่ซ่าเหมือนมีลมไหลออกในที่สุดเหมือนตัวใหญ่และสูงขึ้น หน้าใหญ่แล้วมีอาการเหมือนลมไหลออกจากกาย ในที่สุดก็มีความรู้สึกว่าตัวหายไปเหลือแต่ท่อนหัว..

….อาการทั้งหมดนี้ เมื่อเกิดขึ้นอารมณ์ใจจะมีความสุข ฉะนั้น นักปฏิบัติให้ถืออารมณ์ใจเป็นสำคัญ อย่าตกใจในอาการตามที่กล่าวมาแล้วนั้น พอสมาธิสูงถึงระดับฌานก็จะสลายตัวไปเอง ปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วอารมณ์จะเป็นสุข คือถึงระดับที่สี่ ที่จะเข้าถึงปฐมฌาน ต่อไปก็เป็นปฐมฌานเพราะอยู่ชิดกัน
อัปปนาสมาธิหรือฌาน’…

….ต่อไปนี้จะพูดหรือแนะนำใน อัปปนาสมาธิ คำว่า อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิใหญ่ มีอารมณ์มั่นคง เข้าถึงระดับฌาน ตั้งแต่ฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ แต่ก่อนที่จะพูดถึง อัปปนาสมาธิ ขอย้อนมาอธิบายถึงอุปจารสมาธิเล็กน้อยก่อน การที่พูดมาแล้วเป็นการพูดในเรื่องของนิมิตโดยตรงท่านที่ไม่นิยมนิมิตจะไม่เข้าใจ….

…..อุปจารสมาธิระดับสุดท้าย……

….เมื่อจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิขั้นสุดท้าย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สนใจในนิมิต หรือสร้างนิมิตให้เกิดขึ้นไม่ได้ ให้สังเกตอารมณ์ใจดังนี้ อารมณ์นี้มีเหมือนกันทั้งท่านที่ถือนิมิตหรือไม่ถือนิมิต คือจะมีความรู้สึกว่ามีอารมณ์ตั้งมั่นทรงตัวดี มีความชุ่มชื่นไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็นมาก ซึ่งไม่เคยพบมาเลยในชีวิต และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กำหนดอารมณ์ไว้อย่างไรอารมณ์ไม่เคลื่อนจากที่ตั้งอยู่ได้นาน ตอนนี้เป็น ฌาน อารมณ์ที่สังเกตได้คือ…

…๑. รู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออก คำภาวนาทรงตัว ไม่ลืมไม่เผลอไม่ฟุ้งไปสู่เรื่องอื่นนอกเหนือจากที่คิดจะภาวนา มีอารมณ์เต็มเปี่ยมด้วยกำลังใจไม่อิ่มไม่เบื่อไม่อยากลุกออกจากที่ มีความสุขหรรษาเป็นพิเศษ ซึ่งไม่เคยมีความสุขใดในชีวิตที่เคยพบมาก่อนเลยมีอารมณ์ตั้งมั่นดิ่งอยู่ในที่เดียวเป็นพิเศษ (ข้อห้านี้เป็นฌาน) หูได้ยินเสียงทุกอย่างชัดเจนมากที่เข้ามากระทบประสาทหู เสียงคนหรือเสียงสัตว์ธรรมดาไม่ใช่เสียงทิพย์ แม้แต่เสียงเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ตอนนี้ได้ยินทุกอย่างชัดเจนตามปกติแต่ไม่รำคาญในเสียงนั้นเลย คงภาวนาหรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกได้เป็นปกติเหมือนไม่มีเสียงรบกวนลมหายใจจะเบากว่าเวลาปกติจนสังเกตได้ชัดอาการอย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌานที่หนึ่ง…

…๒. เมื่อจิตเป็นสมาธิในฌานที่สองมีความรู้สึกดังนี้คือจะรู้สึกว่าคำภาวนาหายไปบางท่านหรือหลายท่านควรจะพูดว่า มากท่านก็คงไม่ผิดเมื่ออารมณ์เข้าถึงฌานที่สองใหม่ๆ อารมณ์ยังไม่ชิน เมื่อขณะที่จิตทรงอยู่ในฌานนี้ จะมีความอิ่มเอิบสุขสบาย จะเผลอตัว เมื่อจิตมีสมาธิลดลง เพราะกำลังจิตถอยสมาธิ จะลดลงอยู่ที่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์คิด คือความรู้สึกก็เกิดขึ้น เมื่อจิตตั้งอยู่ในฌานจะไม่สามารถคิดอะไรได้ เพราะเอกัคคตารมณ์คืออารมณ์เป็นหนึ่งไม่มีอารมณ์คิดจะทรงตัวเฉยอยู่และไม่มีคำภาวนา คำภาวนานี้ตั้งแต่ฌานที่สองถึงฌานที่สี่จะไม่มีคำภาวนาเมื่อรู้สึกตัวว่าไม่ได้ภาวนาก็จะคิดว่าตนเองหลับไปหรือเผลอไป ความจริงไม่ใช่ ซึ่งเป็นอาการของฌานที่สอง…

…๓. เมื่อจิตมีสมาธิเข้าถึงฌานที่สาม ตอนนี้จะรู้สึกว่า ลมหายใจเบาลงมาเกือบไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ความจริงยังรู้สึกถนัดอยู่แต่เบามากนั่นเอง อาการทางร่างกายจะรู้สึกเหมือนเกร็งไปทั้งร่าง แต่ความจริงร่างกายเป็นปกติ แต่ที่มีความรู้สึกอย่างนั้นเป็นอาการของสมาธิ เสียงภายนอกที่เข้ามากระทบหูเกือบไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยได้ยินแต่เบามาก จิตทรงอารมณ์เป็นหนึ่งสงัดดีมากเป็นพิเศษ อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่สาม..

…๔. อาการของฌานที่สี่ เมื่อจิตเข้าถึงฌานที่สี่ ฌานสี่นี้มีสองขั้นคือ หยาบ กับ ละเอียด สำหรับฌานหนึ่ง สอง สาม นั้น แต่ละฌานมีสามชั้นคือ หยาบ กลาง ละเอียด ที่ไม่อธิบายไว้ ก็เพราะกลัวจะเฝือ เพราะเมื่อฝึกได้ใหม่ยังไม่มีกำลังใจที่แน่นอน ประเดี๋ยวได้ประเดี๋ยวสลายตัวอธิบายละเอียดเข้าแทนที่จะเป็นผลดี จะกลายเป็นอาหารผสมยาพิษไปจุกจิกใจเข้าเลยเลิกดีกว่า..

….เป็นอันว่ารู้กันว่าเป็นฌานชั้นที่สี่ก็พอ ฌานอื่นๆ พอรู้ว่าถึงฌานก็พอ จงอย่าลืมว่าเมื่อถึงฌานแล้วเวลาไม่นานก็พลัดจากฌาน คืออารมณ์ลดลงมาที่อารมณ์ปกติ ให้คิดว่าเราถึงฌานได้แล้วจะอยู่นานหรือไม่นานก็ช่าง เป็นอันว่าเราเข้าถึงธงชัยแล้วก็ดีถมไป วันนี้ฌานสลายตัววันหน้าเวลาหน้ายังมีอีก เมื่อเรายังไม่ตายเพียงใด เราก็เล่นเพลิดเพลินในฌานให้อารมณ์เป็นสุข เพื่อเพราะกำลังสมาธิไว้เป็นกำลังช่วยตัดกิเลสในโอกาสหน้าต่อไป

….เลอะเทอะมาเสียนาน ตอนนี้เข้าตอนฌานสี่กันเถอะ เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่หยาบตอนนั้นจะมีความรู้สึกว่า ลมหายใจหายไป ไม่รู้สึกว่าหายใจ แต่ที่จริงแล้วลมหายใจยังมีตามปกติแต่ทว่าจิตไม่รับทราบว่าร่างกายทำอะไร หายใจหรือไม่ จิตใจย่อมไม่รับรู้ตามท่านพูดว่าจิตกับประสาทแยกกันเด็ดขาด แต่ตอนฌานสี่หยาบนี้จิตแยกออกจากประสาทจริงแต่ยังไปไม่ไกลนัก ฉะนั้นเมื่อมีเสียงดังขนาดเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ตั้งอยู่ใกล้หูยังพอได้ยินแว่วๆ เหมือนอยู่ไกลกันมาก..

…เมื่อจิตเข้าถึงฌานสี่ละเอียด ตอนนี้สบายมาก เพราะไม่รู้อะไรเลย (ไม่ใช่หลับ) ภายในกำลังของจิตเข็มแข็งมาก มีความสว่างโพลง แต่จิตไม่ยอมรับรู้เรื่องของประสาทเลย ไม่ว่าเสียงหรือการกระทบกาย จิตไม่ยอมรับทราบด้วยประการทั้งปวง อาการของฌานสี่ที่ละเอียดเป็นอย่างนี้…

….ที่นำอาการของฌานมากล่าวไว้ที่นี้ก็เพราะว่าการปฏิบัติในหมวดสุกขวิปัสสโก ก็ทรงฌานเหมือนหมวดอื่นเหมือนกัน เพื่อนักปฏิบัติจะได้ทราบอาการเอาไว้ เพราะมีผู้มาถามเรื่องอาการของฌานนี้นับรายไม่ถ้วน บางรายถามแล้วถามอีกถามบ่อยๆ ชักสงสัยว่าทำจริงหรือเปล่า เพราะผู้ทำจริงเขาไม่ถามบ่อย เมื่อถามแล้วเอาไปปฏิบัติได้แล้วรู้เรื่องก็ไม่มีเรื่องถามต่อไป…”.
.
.

หนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ หน้า ๒๕ – ๓๐ โดยหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี..

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

กระแสจากพระหทัยในหลวง ถึงประชาชนของพระองค์ สาธุ

สัณญาญธรรมล่าสุดจากดวงพระหทัยในหลวง รัชกาลที่ ๙  ส่งผ่านสิ่อกลาง สายสหธรรม ถึงประชาชนของพระองค์ทุกๆ คน สาธุ  สาธุ  สาธุ

"การยึดตั้งด้วยความดี ประพฤติดี ปฏิบัติชอบรักษาศีลเป็นนิจ กระทำกิจด้วยใจที่ทุ่มเท มุ่งมั่นเต็มเปี่ยมด้วยมุมานะ อุตสาหะ เพียรพยายามในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนอย่างสุดกำลัง ความสามารถที่มี ยังส่งผลเอื้อถึงผู้อื่นด้วยความเมตตา ใส่ใจ ใคร่มิตร เกื้อหนุนนำพาให้ถึงพร้อมด้วยความสุข
ทุกฝ่ายร่วมกัน ไม่ว่าจะอยู่หนใด ที่ไหน ก็จะเกิดแต่ความผาสุก ทุกที่ไป "

" ไม่ดูหมิ่น ถิ่นแคลน หรือแคว้นใด

จับมือเชื่อมโยงไว้ สายสัมพันธ์ ฉันน้องพี่

ผองปวงไทย ขอจงรัก แลภักดี

พระพ่อองค์ ภูมี สถิตย์ใจ . . . "

พ่อไม่ได้ไปไหน หากแต่ยังคงมองดูเหล่าท่านจากเบื้องบน ลงมาด้วยจิตที่ รักและห่วงใย . . . ลูกของพ่อ

Nuttachai TK

#บันทึกเป็นธรรมทาน 26/10/2560

วันอังคารที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์


“มณฑารพ” หรือ “มณฑา” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Talauma candollei Bl.” อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกจำปา จำปี และยี่หุบ เป็นไม้พุ่มสูงราว 3-10 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดใหญ่ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา มักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ หรือส่วนยอดของลำต้น มีสีเหลืองนวล

มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมและส่งกลิ่นไปไกล โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี ส่วนผลรูปรี ออกเป็นกลุ่ม และเนื่องจากมณฑามีดอกสวยและกลิ่นหอมจึงนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ “มณฑารพ” หรือ “มณฑา” นั้น ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า

“ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ”

ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วยดอกมณฑารพ “...สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมมาลัยและของหอม ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์...”

หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระซึ่งอยู่ที่เมืองปาวา แคว้นมัลละ ได้ทราบข่าวว่าองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราเป็นเวลาหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเข้าเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่ง (อาชีวกะ) ซึ่งมาจากเมืองกุสินารา ถือ “ดอกมณฑารพ” ที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่ม เดินสวนทางมา

พระมหากัสสปะซึ่งเวลานั้นยังไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจ เพราะดอกมณฑารพเป็นดอกไม้ทิพย์ที่จะมีก็แต่ในแดนสวรรค์ ไม่มีในโลกมนุษย์ และจะปรากฏมีในโลกมนุษย์ก็เฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ในวันที่พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา, วันประสูติ, วันตรัสรู้, วันปลงอายุสังขาร, วันเสด็จดับขันธปรินิพพาน, วันจาตุรงคสันนิบาต, วันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร (ประกาศพระธรรมจักร), วันที่เสด็จลงจากเทวโลก และวันที่ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ยมกปาฏิหาริย์ เป็นต้น หรือผู้มีฤทธิ์บางท่านแผลงฤทธิ์ ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ดอกมณฑารพตกลงมาจากเทวโลก พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชนอกศาสนาผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมา 7 วันแล้ว และดอกมณฑารพนี้ก็ได้เก็บมาจากบริเวณที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง เมื่อได้ยินดังนั้นพระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์บริวารออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา

นอกจากนี้ มณฑารพยังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่า กิริณีเทวี
......................................................

สาธุ คัดลอกจาก :: หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา ฉบับที่ 78 พ.ค. 50 โดย เรณุกา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤษภาคม 2550 14:50 น.
:: ประวัติ “พระมหากัสสปะ” ประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=42337

เทียน รวมกระทู้ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ “วันอัฏฐมีบูชา”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=45500

ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ มณฑาทิพย์ หรือ มณฑารพ

ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ มณฑาทิพย์ หรือ มณฑารพ นั้นในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า

ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพานได้ตรัสกับพระอานนท์ ปรากฎ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ของ มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่มที่๑๓ ทีฆนิกายมหาวรรคหน้า ๓๐๖ –๓๐๗ ข้อ๑๒๙ มหาปรินิพพานสูตร ทรงปรารภสักการบูชาดั่งว่า

“ดูกรอานนท์ไม้สาละทั้งคู่เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาลร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ ดอกมณฑารพ อันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพ เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชาแม้จุณแห่งจันทน์ อันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศจุณแห่งจันทน์เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคต เพื่อบูชาดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศเพื่อบูชาตถาคตแม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

ดูกรอานนท์ตถาคตจะชื่อว่า อันบริษัทสักการะเคารพนับถือบูชานอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุภิกษุณีอุบาสก หรือ อุบาสิกาก็ตามเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติ ชอบปฏิบัติ ตามธรรมอยู่ผู้นั้นย่อมชื่อว่า สักการะเคารพนับถือบูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเ พราะเหตุนั้นแหละ อานนท์พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติชอบประพฤติตามธรรมอยู่ดังนี้ฯ”

ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วย ดอกมณฑารพ

“...สมัยนั้นเมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วย ดอกมณฑารพ โดยถ่องแถวประมาณแค่เข่าจนตลอดที่ต่อแห่งเรือนบ่อของโสโครก และกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดา และ พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราสักการะเคารพนับถือบูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำขับร้องประโคมมาลัย และของหอมทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์
หลังจากพระพุทธองค์เสด็จสวรรคตแล้วพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งอยู่ที่เมืองปาวาได้ทราบข่าวว่า
พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร ๕๐๐ รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่ง ซึ่งมาจากเมืองกุสินาราถือ ดอกมณฑารพเดินสวนทางมาพระมหากัสสปะ ซึ่งเวลานั้นยังไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจเพราะดอกมณฑารพ เป็นดอกไม้ทิพย์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์
และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน วันจาตุรงคสันนิบาตวันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ ดอกมณฑารพ ตกลงมาจากเทวโลก พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพานมา ๗ วันแล้วและ ดอกมณฑารพ นี้ก็ได้มาจากสถานที่ที่พระองค์ปรินิพพานนั่นเอง เมื่อได้ยินดังนั้น พระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์ออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา

นอกจากนี้ดอกมณฑารพ นี้ยังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่ากิริณีเทวีด้วยf

<O:p</O:pคัดจากจากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลาฉบับที่๗๘ พ.ค. ๕๐ โดยเรณุกา<O:p</O:p

......................................................

ที่มาข้อมูล<O:p</O:p
http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...roup=6&gblog=7 http://www.magnoliathailand.com/webboard/index.php?topic=2276.0<O:p</O:p

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พิจารณา มาร 5 อย่างให้มาก สาธุ

มาร ๕ อย่าง
โดยหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

ผู้ถาม เวลาปฏิบัติพระกรรมฐาน พอจิตเริ่มสงบสงัด
ความแค้นเกิดขึ้นทันที แล้วก็แก้ไม่ตกสักที ขอหลวงพ่อ
แก้แค้นให้หน่อยเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ อ้อ ! ... นี่ไปแค้นใคร เอาชื่อมาให้ฉัน ฉันจะ
ฝังดินให้  ผู้ถาม (หัวเราะ) พอจิตไม่สงบก็ไม่แค้น
พอสมาธิสงบ แหม..มันก็แค้น!

หลวงพ่อ เรื่องนี้ดีมาก ที่ญาติโยมถาม ถามดี...การเจริญ
พระกรรมฐานต้องพิจารณาถึง "มาร ๕ อย่าง" ให้มาก
ผู้ถาม เป็นไงครับหลวงพ่อ มาร ๕ อย่าง
หลวงพ่อ มาร แปลว่า ผู้ฆ่า ใช่ไหม...มาร ๕ อย่าง คือ
๑. กิเลสมาร
๒. มัจจุราช
๓. อภิสังขารมาร
๔. เทวปุตตมาร
๕. ขันธมาร

มาร แปลว่า ผู้ฆ่าความดี พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า
มี ๕ อย่าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความสำคัญๆ
ก็คือ "กิเลสมาร" กับ  "ขันธมาร" รบกวนเราเรื่อย
ขันธมาร หมายความว่า เวลาจะทำความดี
ปฏิบัติกรรมฐานทำสมาธิจิตหรือทำบุญทำทาน
ไอ้ความป่วยไข้ไม่สบายมันเข้ามาขวาง อย่างนี้
เรียกว่า "ขันธมาร"
อย่างที่โยมถามมาเมื่อกี้นี้เป็น "กิเลสมาร" ตัวนี้สำคัญ
ต้องถือว่าคนนี้เป็นคนที่น่าชมมาก คนดีนะคนนี้
เพราะอะไร...เพราะยามปกติไม่โกรธใช่ไหม แสดงว่า
อารมณ์หยาบหมดไป ไอ้กิเลสหยาบที่โกรธหมดไป

ที่นี้เวลาที่ทำจิตละเอียด เกิดความแค้นขึ้นมากระตุ้นขึ้นมา
ตัวนี้ ไอ้กิเลสที่เป็น "อนุสัย" ตัวละเอียดอย่างนี้ถือว่า
เขาชนะมากแล้วนะคนนี้ อย่างนี้ถือว่าชนะหยาบต่อสู้กับ
ละเอียดแล้ว ถ้าต่อสู้กับละเอียดชนะ ก็จะชนะเด็ดขาด
วิธีทำแบบนี้ก็เคยมีมาด้วยกันทุกคนนะ ฉันก็เคยเจอมา
ผู้ถาม หลวงพ่อก็เคยมีเหมือนกันเหรอครับ...

หลวงพ่อ มี...ทุกอย่างที่ถามมามีทุกอย่าง
ผู้ถาม อ้อ...มีครบเลยนะ
หลวงพ่อ มีครบถ้วน...เพราะเลวมีครบถ้วน
ผู้ถาม เป็นพระมีเลวเหมือนกันหรือครับ
หลวงพ่อ เลว...ถ้าพระไม่เลว บวชอยู่ไม่ได้
ผู้ถาม เอ๊ะ ! เป็นยังไงครับหลวงพ่อ
หลวงพ่อ ถ้าพระดีเขาไม่บวช ไปนิพพานเลย
ผู้ถาม อ้อ...

หลวงพ่อ ฉันมันเป็นกังหันนี่ หมุนดะ..แต่ว่าเมื่อกี้
ถามว่ายังไงนะ  วิธีแก้ใช่ไหม
ผู้ถาม ครับวิธีแก้
หลวงพ่อ ถ้ารู้สึกตัวมา ถ้าอารมณ์ระงับก็ถอยหลัง
คิดว่าอารมณ์จิตอย่างนี้ไม่น่าจะมีแก่เรา เพราะว่า
ตามปกติเราก็ให้อภัยอยู่แล้ว ทำไมเวลาจิตสงบสงัด
จะต้องมาคิดอย่างนี้ ให้คิดว่าอันนี้ไม่ควร
อารมณ์อย่างนี้ ให้คิดแค่นี้ว่าไม่ควร อารมณ์อย่างนี้
มันจะมีไม่นานนัก  ถ้าเวลาเลิกจิตสบายแล้วก็คิดว่า
อันนี้มันผิดไปแล้วไม่ควรจะทำให้เศร้าหมองแบบนี้
ความดีที่มีอยู่ จะคุ้มครองไม่ได้เมื่อเวลาตาย
ถ้าเวลาตายจิตเศร้าหมองแบบนี้ เราต้องลงอบายภูมิ
๒-๓ ครั้งมันจะหาย ค่อยๆเรื่อยๆไปไม่ช้ามันจะหาย

อันนี้ดีมาก ต้องขอชม คนนี้กิเลสหยาบเฉพาะโทสะ
ผ่านไปแล้ว อันนี้น่าต้องคิด
ผู้ถาม ควรแก่การอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
หลวงพ่อ ใช่...ควรแก่การรับ "ทาน"
ผู้ถาม เอ๊ะ...!
หลวงพ่อ อ้าว...พระ "ให้" ไม่มี...มีแต่ "ขอ" อย่างเดียว
ผู้ถาม อ๋อ...