จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมรูปทรงม้า ตั้งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซเซอร์ เฟรสฟอร์เดอร์ ในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450
พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 อันเป็น เวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง
พระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย
สำหรับองค์พระบรมรูปทรงม้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังเสด็จไปประทับเป็นแบบให้นายช่างปั้นหุ่น ขณะเสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง เสด็จประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่งนั้นมิใช่ปั้นจากแบบม้าพระที่นั่งจริง แต่เป็นม้าที่บริษัทได้ปั้นเป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว พระบรมรูปทรงม้าหล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ ยึดติดกับแท่นทองบรอนซ์ เป็นที่ม้ายืน หนาประมาณ 25 เซนติเมตร ประดิษฐานบนแท่นรอง ทำด้วยหินอ่อน สูง 6 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมา มีโซ่ขึงล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ตรงฐานด้านขวามีอักษรโรมัน ภาษาฝรั่งเศสจารึกชื่อช่างปั้นและช่างหล่อชาวไว้ว่า C.MASSON SEULP 1908 และ G.Paupg Statuare และด้านซ้ายเป็นชื่อบริษัทที่ทำการหล่อพระบรมรูปทรงม้าว่า SUSSF Fres FONDEURS. PARIS สำหรับแท่นศิลาอ่อนด้านหน้า มีแผ่นโลหะจารึกอักษรไทย ติดประดับแสดงพระบรมราชประวัติและพระเกียรติคุณ ลงท้ายด้วยคำถวายพระพรให้ทรงดำรงราชสมบัติอยู่ยืนนาน[1]
การบูชา[แก้]
ในปัจจุบันถึงแม้มิใช่วันที่ 23 ตุลาคม ก็จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปสักการบูชาที่ลานพระบรมรูปอยู่เสมอโดยเฉพาะในคืนวันอังคาร ซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพของพระองค์ โดยมีความเชื่อว่าจะเสมือนหนึ่งไปรอเฝ้ารัชกาลที่ 5 โดยในเวลา 4 ทุ่ม พระองค์ท่านจะเสด็จมาประทับ ณ พระบรมรูปทรงม้าด้วย
สิ่งที่นิยมใช้สักการบูชา คือ ดอกกุหลาบสีชมพู ด้วยความเชื่อที่ว่า ดอกกุหลาบที่มีความงามและมีหนามแหลมคม (คืออำนาจ) หากนำมาบูชาจะทำให้ผู้บูชามีอำนาจ และสีชมพูยังเป็นสีของวันอังคาร (วันพระราชสมภพ)
นอกจากนี้ ประชาชนบางคนยังนิยมจัดเป็นโต๊ะบูชา ส่วนใหญ่ประกอบด้วย บายศรี หมากพลู บุหรี่ เหล้า/ไวน์ สตางค์ น้ำมนต์ เชิงเทียน กระถางธูป ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการจัดอย่างบูชา “เทพ” ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเปรียบพระองค์เสมือนดั่งเทพยดาที่ปกปักษ์รักษาประเทศชาติ และราษฎรให้อยู่รอดปลอดภัย และเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด
นอกจากนี้แล้ว ยังมีพระคาถาสำหรับบูชารัชกาลที่ 5 มากมายหลายหลายพระคาถา เช่น พระคาถาที่กล่าวกันว่านำสุดยอดพระคาถาอื่นๆ มารวมกัน คือ “ สยามเทวะนุภาเวนะ สยามะเทวะเตชะสา ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสภา สันตุ จะปัททะวา อเนกา อันตะรายาปี วินัสสันตุ อะเสสะโต ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตภิภาคะยัง สุขัง พลัง สิริ อายุ จะวัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิจะ ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันต เม” [1]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น