วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

#พุทโธ
เห็นจิตในจิต(จิตตานุปัสสนา)
"เรื่องภาวนา เราจะให้มันนิ่งอยู่หน้าเดียว ดิ่งในเป้าที่เราเพ่งอยู่มันก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะสมาธิทั้งหลายอยู่ใต้อำนาจอนิจจังอันละเอียด 

#เมื่อหมดกำลังก็ถอนออกมา 

#มันจะถอนออกมาก็ช่างมัน 
#เราต้องสังเกตว่า 

#ออกมาแล้วอย่างนี้มีกามวิตก 

#ความตริในทางกามหรือไม่ 

#มีพยาบาทวิตก 

#ความตริในทาง 

#พยาบาทหรือไม่ 

#มีวิหิงสาวิตกความตริในทางเบียดเบียนหรือไม่ 

#ถ้าไม่มีธรรม๓ประการนี้รบกวนจิต 
#ใจเราก็ปล่อยให้จิตใจนั้นอยู่ตามสบายนั่นเถิด"

 "การทำความเพียร มีหลักใหญ่ คือสติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน ๔ พิจารณาลงในพระไตรลักษณ์ กายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมก็ดี พิจารณาลงไตรลักษณ์ให้เป็นเป้าอันเดียวเป็นเชือก ๔ เกลียว แล้ว

#ให้เข้าใจว่าผู้รู้จักไตรลักษณ์ตามเป็น จริงนั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตาธรรมชั้นสูง"

หลวงปู่หล้าเขมปัตโต

.....

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
             [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า? 

ภิกษุในธรรมวินัยนี้จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ 

หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ 

จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโทสะ 

หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ 

หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ 

จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน 

จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต 

จิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต 

จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า 
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า 

#จิตตั้งมั่น #ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น 
#หรือจิตไม่ตั้งมั่น #ก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น 

จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น 
หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุดพ้น 

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง 

พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง 

#พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง 
#พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง 

#พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง 

ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียง

#สักว่าความรู้ #เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 

#เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว 
#และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.

จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๑๘๗๙-๑๘๙๔ หน้าที่ ๗๘.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1879&Z=1894&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=12&item=140&items=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น