วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2565

องค์ฌาน 5

"ดูอยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก 
เห็นอยู่ที่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก 
#ด้วยสติคือความกำหนด 

#อาการที่ยกจิตขึ้นสู่ลมหายใจเข้าออก 
#กำหนดอยู่ด้วยสติ 
#หายใจเข้าก็ให้รู้ #หายใจออกก็ให้รู้ 
#ดั่งนี้เรียกว่าวิตกคือความตรึก 

#ต้องใช้วิตกคือความตรึกนี้ #ตรึกถึงสมาธิ 
#คือตรึกถึงอารมณ์ของสมาธิ 

#แต่ไม่ตรึกนึกคิดไปในเรื่องอื่นตั้งแต่ในเริ่มต้น 

อันนี้แหละเป็นตัวบริกัมมภาวนา คือการภาวนาที่เป็นการปฏิบัติเบื้องต้น ต้องมีการกระทำโดยรอบ"

"๑ #วิตก #ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์กรรมฐาน 
ซึ่งเราแปลกันทั่วไปว่าความตรึก แต่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความตรึกนึกคิดทั่วไป แต่หมายถึงความตรึกนึกกำหนดในอารมณ์ของกรรมฐานเท่านั้น

๒ #วิจาร #ความตรอง ที่แปลกันทั่วไปว่าความตรอง 
#แต่สำหรับสมาธิหมายถึงความประคองจิตไว้ในอารมณ์ของกรรมฐาน 

#คือให้ตรึกนึกกำหนดอยู่จำเพาะอารมณ์ของกรรมฐานเท่านั้น 

#ความที่คอยประคองจิตไว้ดั่งนี้เรียกว่าวิจาร 

ซึ่งมักแปลกันทั่วไปว่าความตรอง แต่ไม่ได้หมายความถึงความตรองเรื่องอะไรต่ออะไร

๓ #ปีติ #ความอิ่มใจดูดดื่มใจ

๔ #สุข #ความสบายกายความสบายใจ และ

๕ #เอกัคคตา #ความที่จิตมีอารมณ์อันเดียว 

ซึ่งเป็นลักษณะของสมาธิโดยตรง เพราะสมาธิโดยตรงนั้นจะต้องมีเอกัคคตา คือความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว หรือความมีอารมณ์เป็นอันเดียวกันของจิต 

#เรียกว่าเอกัคคตาเป็นลักษณะของสมาธิทั่วไป"

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

.....

เวทนานุปัสสนา(ปฏิจจสมุปบาท)

จิตเพียงแต่รู้ ว่านี่ปีติ นี่สุข แต่ไม่ยึด ไม่ติดในปีติในสุข #และให้รู้ว่าปีติสุขก็เป็นสิ่งเกิดดับไปทุกขณะจิต 
ไม่ตั้งอยู่ยั่งยืน แต่ว่าบังเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกขณะจิต จึงเหมือนอย่างยืดยาว แต่ความจริงนั้นปีติสุขบังเกิดขึ้นทุกขณะจิต ขณะจิตหนึ่งก็ปีติสุขหนึ่งไปพร้อมกัน แต่ว่าต่อๆ ๆ กันไปโดยรวดเร็ว จึงเหมือนเป็นอันเดียวกัน ให้

#รู้จักว่าปีติสุขเป็นสิ่งที่เกิดดับ 

เพื่อไม่ให้ปีติสุขปรุงจิตดังกล่าว ปีติสุขก็จะไม่ปรุงจิต 
#แต่จะเกิดขึ้นและดับไปตามธรรมดาของปีติสุขเอง 

ก็ปล่อยให้ปีติสุขเป็นไป ไม่ต้องคิดดับปีติ ไม่ต้องคิดดับสุข ให้ปีติสุขเกิดขึ้นนั่นแหละ ไปตามธรรมดาของปีติสุข

สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น