ว่าด้วยสกุลที่มีพรหม
[๖๓] ภิกษุทั้งหลาย
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีพรหม
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามี
บุรพาจารย์
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีบุรพเทพ
บุตรของสกุลใดบูชามารดาบิดาภายในเรือนตน สกุลนั้นชื่อว่ามีอาหุไนยบุคคล
คำว่า “พรหม” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “บุรพาจารย์” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “บุรพเทพ” นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา คำว่า “อาหุไนยบุคคล”นี้เป็นชื่อของมารดาบิดา๒- ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร
มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา
ท่านเรียกว่าพรหม บุรพาจารย์
และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงนมัสการ
และสักการะมารดาบิดานั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการชำระเท้า
@เชิงอรรถ :
@๑ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓๑/๑๘๓
@๒ มารดาบิดาชื่อว่า พรหม เพราะมีพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
@ชื่อว่า บุรพาจารย์ เพราะเป็นอาจารย์คนแรกที่สอนลูกให้เรียนรู้การนั่ง การยืน การเดิน การนอน
@การเคี้ยว การกิน รวมทั้งสอนให้รู้จักพูด และรู้จักอะไรควรอะไรมิควร ชื่อว่า อาหุไนยบุคคล เพราะ
@เป็นผู้ควรแก่ปฏิการคุณที่บุตรพึงทำตอบแทน เช่น การปรนนิบัติท่านด้วยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
@(องฺ.ติก.อ. ๒/๓๑/๑๑๑-๑๑๒)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๑๐๗}
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
๒. ปัตตกัมมวรรค ๕. รูปสูตร
เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดานั้นแล
บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง
เขาตายไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์
พรหมสูตรที่ ๓ จบ
อ้างอิง:พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๑๐๗-๑๐๘.
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=3177
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=21&siri=63
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น