วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน**

**ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน**
**สมเด็จองค์ปฐม** ทรงมีพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญ ดังนี้

**ธรรมของตถาคต ไม่มีอะไรขัดแย้งกัน ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึงจึงต้องมีการขัดแย้งกันเป็นธรรมดา เพราะรู้ - เห็นไม่เหมือนกัน ตามบารมีธรรมของแต่ละคน ให้จับหลักข้อนี้ไว้ ก็จะเข้าถึงตัวธรรมดาได้ไม่ยาก**

**ใครยังไม่เข้าใจจุดนี้ ก็ย่อมยังมีอารมณ์ ๒ **(พอใจกับไม่พอใจ) **ยังมีการตำหนิกรรมของผู้อื่น ยังยึดผิด-ถูก ดี-เลว อยู่เป็นธรรมดา** เพราะสังโยชน์ ๔ - ๕ ยังไม่ขาด เป็นการเห็นกันต่างมุม-ต่างทิฐิ-ต่างความเห็น เป็นสงครามทางความคิด

**ธรรมของตถาคตต้องจำให้ได้เป็นประการแรก** **แล้วนำไปปฏิบัติตามให้เกิดผลเป็นขั้นที่ ๒** **โดยนำไปใคร่ครวญให้เกิดปัญญา ( ธัมมวิจยะ)** **ธรรมนั้น ๆ จะเดินไปในทางเดียวกันหมด จนที่สุดรวมเป็นหนึ่ง เป็น เอโกธัมโม**

**ธรรมทุกข้อทุกขั้นตอนของพระองค์ จะเกิดขึ้นได้จากความเพียรชอบเท่านั้น** มิใช่เพียรขออธิษฐาน อ้อนวอน แต่ไม่ยอมปฏิบัติ พระองค์จะสงเคราะห์เราได้ เราจะต้องช่วยจิตของเราให้สงบปราศจากนิวรณ์ก่อน โดยเจริญอานาปานัสสติ ควบคำภาวนา ยิ่งจับกสิณภาพพระ หรือภาพพระนิพพานได้ก็ยิ่งดี ส่วนใหญ่พวกเรามักเผลอ จิตทิ้งพระจึงยังเอาดีกันไม่ได้

**ส่วนใหญ่ประมาทและขาดความเพียรชอบ** **พอทำได้หรือพอสัมผัสธรรมได้ แต่ยังไม่ชำนาญ ก็วางธรรมนั้นไปสนใจธรรมอื่น ๆ ต่อไป** **จะต้องเพียรปฏิบัติต่อไปให้เกิด ความชำนาญจนจิตชิน กลายเป็นฌาน** **ชินในอารมณ์นั้น ๆ แบบเพียรรักษาศีล จนศีลรักษาเราไม่ได้ผิดศีลอีก เป็นสีลานุสสติเพียรทำทาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ** **ทั้งสิ้น นอกจากเพื่อพระนิพพานจุดเดียว เป็น จาคานุสสติ เพียรระวังจิตอย่าให้มันคิดชั่ว เพราะกลัวผลของกรรมชั่วจะเกิดกับจิตตน เป็น เทวตานุสสติ และยากที่สุด คือ เพียรรักษาพรหมวิหาร ๔ จนกระทั่งพ้นภัยจากอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตเราเอง ได้ทรงตัว** **ใครทำได้ก็พ้นภัยตนเอง ต้องทำให้ชินจนเป็นฌาน**

**ทรงตรัสว่า** **การกำหนดรู้วาระจิตในทุกๆ ขณะจิตนั้นแหละ คือ จิตตานุสติปัฏฐาน** **ซึ่งตามปกติถ้าจิตยังเจริญไม่ถึง จักฟังสักเท่าไหร่ กี่ครั้งกี่หน ก็รู้ไม่ได้อยู่ดี** **จนกว่าถึงแล้วก็รู้เอง** **นี่คือการศึกษาปฏิบัติในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา** **ซึ่งฟังแต่ปริยัติจักเข้าใจไม่ได้** **จนกว่าจักปฏิบัติถึงแล้ว** **จึงจักเข้าใจ เพราะธรรมเป็น ปัจจัตตัง ถึงแล้วรู้เอง**

**และการสอนให้ปฏิบัติมาตามนี้** **ก็เป็นอยู่ในหลักสูตรของพระพุทธศาสนา** **การสอนให้เข้าถึงธรรมปัจจุบันอย่างนี้** **เขาเรียกว่าสอนโดยพิสดาร** **สอนแล้วปฏิบัติมาก็ตรงแนวคำสอนเดิมอยู่ดี** **แตกต่างกันไปตามศัพท์แสง คำอธิบายเท่านั้น ซึ่ง ถ้าใช้ภาษาในอดีตคือต้นพุทธกาล พวกเจ้าก็จักเข้าใจยาก หรือยากที่จักเข้าใจ** **(จัดเป็นพระเมตตาของพระองค์อย่างหาประมาณมิได้)**

นักปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จุดนี้ จักปฏิบัติให้เข้าถึง อริยมรรค อริยผล เบื้องสูงได้ยาก แต่เมื่อรู้แล้วยังจักต้องปฏิบัติให้คล่องแคล่วชำนาญยิ่งๆ ขึ้นด้วย จึงจักมีมรรคผลเกิดขึ้น

ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ พฤศจิกายนตอน ๑

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

#สมเด็จองค์ปฐม4** **#ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น