เมื่อเข้าบวชได้ ๓ วันนับตั้งแต่วันออกบวช หลวงพ่อปานท่านสั่งให้รักษาอารมณ์ ลมหายใจเข้าออก ท่านถือเป็นหลักใหญ่ ก่อนภาวนาท่านให้ปลงขันธ์ ๕ ว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องอธิบายนะ และสอนให้ใคร่ครวญอารมณ์ชั่วที่ใจให้ระงับเสียชั่วคราว คือ นิวรณ์๕ ได้แก่ การพอใจในรูปสวย เสียงเพราะหรือเสียงประจบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสอร่อยจากรสอาหารหรือรสสัมผัส และให้ตั้งอารมณ์เมตตาไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจะเป็นมิตรับคนและสัตว์ทั้งโลก ตัดความสงสัย ตัดอารมณ์นอกรีต นอกรอยที่คิดเกินครูสอน ระงับความง่วงเมื่อมันเข้ามาขัดจังหวะ แต่ไม่ให้ทนง่วงจนเกินพอดี ท่านบอกว่าจะเกิดโรคประสาท เขาจะหาว่าทำกรรมฐานบ้า ความจริงทำกรรมฐานให้รักษาอารมณ์ให้เป็นปกติเป็นเป็นการปฎิบัติตัดอารณ์บ้า แต่ถ้าใครทำจนบ้า คนนั้นเป็นคนทำเกินพอดี เกินคำสั่งของพระพุทธเจ้า เรียกว่าศิษไม่เชื่อครู เรื่องการพยายามเกินพอดีท่านำชักำชับมาก ห้ามทำเด็ดขาด ถ้าทราบจะถูกประณามในที่ประชุม ท่านสอนการใคร่ครวญท่านให้ทำให้มาก เมื่อมีอารมณ์ระงับความชั่วได้แล้วและพอมองเห็นจริงกับไตรลัษณ์บ้างแล้ว จึงให้ภาวนา วิธีสอนของท่านมีผล ๒ ทาง คือ
อารมณ์คิดหรือไคร่ครวญเป็นการปล่อยให้เรือไหลไปตามระแสน้ำ คือไม่เอาเรือขวางเมื่อน้ำเชี่ยว ทั้งนี้เพราะจิตมีความสัมพันธ์กับความคิดที่ไม่มีขอบเขตมาแล้วหลายแสนกัป คิดเป็นชาติ เกิดก็หลายล้านชาติ ทุกชาติที่เกิดมันคิดตามอารมณ์ของมัน ไม่มีใครห้ามปรามมัน มันมีอิสระในความคิด ตอนนี้เราจะเกิดมาห้ามมันคิด เอะอะก็ห้ามมันเลย มันจะไหวเหรอ ท่านให้คิดก่อน แต่หาเรื่องให้คิดมุมกลับ คือ คิดตัด คิดระงับ แต่ไม่ตัดไม่ระงับทันทีทันใด เช่น คิดถึงรูป มันต้องมองความสวยกันก่อน เมื่อจะระงับอารมณ์ที่ติดในความสวย คราวนี้ต้องกแก้ผ้าคนสวยกัน เมื่อแก้ผ้าแล้วยังเห็นว่าสวย ต้องผ่าท้อง กันเอาตับไตใส้ปอดออมาดู คราวนี้จะมีอะไรสวย มันก็หมดเรื่องกัน
เมื่อหาเรื่องให้คิด จิตพอมีอารมณ์สบาย แม้ไม่มีโอกาสเที่ยวใกลนักแต่ยังมีโอกาสเที่ยว อารมณ์กลุ้ม บรรเทา อันนี้ เป็นวิธีบรรเทาอารมณ์กลุ้มของจิต
อันดับ ๒ เมื่อใคร่ครวญตามนั้นก็เกิดอารมณ์เบื่อใน รูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัส หมดความสงสัยเพราะเห็นจริงกับความจริงที่มองเห็น เกิดอารมณ์ยับยั้งใจไม่ดิ้นมีอารมณ์เบื่อ หมดสงสัยใจก็เป็นสมาธิง่าย
ถ้าพิจารณาไม่เห็นตอนความเปลี่ยวไม่ลด ท่านห้ามภาวนา เมื่อทำตามท่านรู้สึกว่ามันง่ายจริงๆ ใคร่ครวญพอสมเหตุผลแล้วเริ่มจำความเคลื่อนใหวของลมหายใจ จับภาพพระโดยเฉพาะหลวงพ่อองค์ยิ้มง่ายมากและแจ่มใสชัดเจน ทรงอยู่ได้นานเป็นชั่วโมง
คืนที่ ๒ ลองตั้งอารมณ์อย่างนั้น ๕ ชั่วโมง เห็นทรงได้สบาย จะทรงอารมณ์เมื่อไหร่ก็ได้ พอย่างวันที่ ๓ ยิ่งมีความคล่อง ทรงอารมณ์ได้ฉับพลัน นานเท่าไหร่ก็ได้ พอเช้าวันที่ ๔ เวลาฉันข้าวเช้า หลวงพ่อท่านฉันอิ่ม ท่านวางมือ มองไป มองมา ท่านหัวเราะและพูดว่า เอ่อเจ้ากระทิงเปลี่ยว ๔ ตัว มันเก่งวะ มันทรงฌาน ๔ ทั้ง ๔ องค์ น่ารักนะ เขามา ๓ วัน เขาทรงฌาน ๔ ได้ พวกที่บวชพร่ะก่อนเขาได้อะไรกันบ้าง เรื่องของฌานที่ท่านบอกฉัน ฉันไม่เห็นมีอะไร มีอารมณ์สบายและตั้งมั่นเท่านั้น ไม่เห็นมีรูปร่าง คิดว่าหนังสือที่เขาเขียน เขียนมากไป ถ้าเราทรงฌานจริง ไม่มีอะไร นอกจากใจไม่กังวล รักษาอารมณ์ให้ทรงตัวเท่านั้น ไม่เห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์อะไรเลย
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น