วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เข้าใจพระพุทธศาสนาภายใน 10 นาที

1. พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร ?  
อริยสัจ 4 คือ 
ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ 
สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 
นิโรธ คือความดับทุกข์ 
มรรค คือข้อปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ 

2. พระพุทธเจ้าทรงสอน
เรื่องอะไร ? 
ทุกข์กับการดับทุกข์ 

3. ภาพรวมของพระพุทธศาสนา .... มีดังนี้ 
3.1 ให้มองโลกตามความ
เป็นจริง (จริงขั้นสมมุติ=สมมุติสัจจ์, 
จริงแท้=ปรมัตถสัจจ์) อาทิ
ตัวเรามีอยู่ แต่หาใช่ตัวตน
ที่แท้จริงไม่ 

3.2 ให้ถือทางสายกลาง
ทางตึง (ทรมานกายให้ลำบาก) ก็ดี, ทางหย่อน (ฟุ้งเฟ้อหลงใหล มัวเมา) ก็ดี, มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนา 
แนวทางของพระพุทธศาสนา คือ มรรคมีองค์ 8 ทางสายกลางพอดี ๆ 

3.3 ให้พึ่งตนเอง
มิใช่พึ่งเทวดา โชคชะตาราศี หรือ ดวงดาว ฤกษ์ยาม 

3.4 ไสยศาสตร์ การบนบานศาลกล่าว อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การดูฤกษ์ยาม การเจิม ฯลฯ มิใช่พุทธศาสนา 

3.5 สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย (อิทัปปัจจยตา) มิใช่เกิดขึ้นเองลอย ๆ หรือพรหมลิขิต การจะดับทุกข์ได้ต้องดับที่เหตุ 

3.6 โอวาทที่เป็นหลักเป็นประธาน (โอวาทปาฏิโมกข์) คือ ให้ละชั่ว ทำกุศลให้ถึงพร้อม และทำจิตให้บริสุทธิ์ 

3.7 สิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา
แม้พระนิพพาน ก็เป็นอนัตตาเช่นกัน หาใช่อัตตาตัวตนไม่ 

3.8 ให้เชื่อในหลักธรรม คือ ทำดี-ได้ดี, ทำชั่ว-ได้ชั่ว
ให้ทำตนอยู่เหนือดี เหนือชั่วนั่นแหละ จึงจะพบนิพพาน (คือเหนือกรรม) 

3.9 จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือนิพพาน (ได้แก่สภาวะจิตที่สงบเย็น ปราศจากทุกข์) 

3.10 สรุปธรรมทั้งปวง รวมลงในเรื่องเดียว คือ “ความไม่ประมาท” 

4. การศึกษาธรรมะ 2 สมัย 
4.1 สมัยปัจจุบัน คือ รู้จัก กับ รู้จำ .... อาศัยการฟัง อ่านค้นคว้า จึงมีความรู้อยู่ในสมองและในสมุด พูดธรรมะได้คล่องแต่ปฏิบัติไม่ค่อยได้ จึงได้ผลน้อย 
4.2 สมัยพุทธกาล คือ รู้แจ้ง ... โดยเมื่อฟังและจำแล้ว ก็จะลงมือปฏิบัติ ทำจริงในขณะนั้นทันที ทำให้เกิดผลเป็นความรู้แจ้งเรื่องชีวิต ดับทุกข์ในขณะนั้นทันที

5. วิธีศึกษาพระพุทธศาสนา 
เมื่อแรกพุทธปรินิพานนั้น สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งให้ถือเอาเป็นศาสดาแทนพระองค์ มีเพียง 2 คือ ธรรมและวินัย
หลังจากนั้นมา 300 ปี จึงเกิดมีพระไตรปิฎกขึ้น (สุตตันตปิฎก วินัยปิฎก และอภิธรรมปิฎก) ..... บัดนี้ล่วงกาลมาถึง 2500 กว่าปี คำสอนเดิม ขั้นปรมัตถ์ค่อย ๆ หายไป หมดไป เกิดมีคำสอนใหม่ ๆ เป็นพุทธศาสนาเนื้องอกจับใส่พระโอษฐ์ ว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก 
ดังนั้นในการศึกษาพระพุทธศาสนาพึงอาศัยหลักดังนี้
– ด้านปริยัติ (ความรู้เนื้อหา) 
ให้อ่าน ฟัง คิด วิจัย ให้เข้าใจคือให้ปฏิบัติได้จริง .... หากสงสัย ให้อาศัยหลักกาลามสูตรเข้าพิจารณาตัดสิน มิใช่เชื่อไปเสียหมด 
– ด้านปฏิบัติ 
การปฏิบัติทุกอย่างของพระพุทธศาสนาไม่ว่าการทำทาน รักษาศีล ภาวนา พระพุทธองค์ทรงสอนให้ ทำเพื่อ “ละกิเลส” มิใช่เพื่อเอา หวังได้นั่นได้นี่ อันทำให้ยิ่งเพิ่ม โลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งหาใช่พุทธศาสนาไม่  
ทุกวันนี้ไหว้เพื่อเอา เพื่อขอ ทำบุญเพื่อเอาสวรรค์ นิพพาน หวังผลทั้งชาตินี้ชาติหน้า ซึ่งจะกลายเป็นพอกกิเลสยาวนาน 
– ด้านปฏิเวธ (ผล) 
ทำเพื่อละ จะพบนิพพาน (จิตบริสุทธิ์ มีความสะอาด สว่าง สงบ) แต่ถ้าทำเพื่อเอา จะพบกิเลสในตนพอกพูนยิ่งขึ้น ๆ ยาวนาน และยิ่งมีทุกข์มาก .... ดังนั้น จงมุ่งปฏิบัติเพื่อห่างไกลทุกข์โดยส่วนเดียว ให้ได้เห็นผลด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก) 

6. จะศึกษาพุทธศาสนาได้
ที่ไหน ? 
ให้ศึกษาในร่างกายของเราเองนี้ ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิใช่จะต้องศึกษากับพระ และในวัดวาอารามเท่านั้น 
จึงควรศึกษาตนเอง อย่ามัวแต่ศึกษานอกตัว หรือมัวติดอยู่แค่พิธีกรรม หรือได้แต่ทำตาม ๆ เขาไป จะเสียทีที่ได้มีโอกาสเกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้ลิ้มรสแค่เปลือกกระพี้ มิได้ชิมรสอันเป็นเนื้อใน อันได้แก่ธรรมรสของความเย็นอกเย็นใจ (นิพพาน) 

7. เหตุแห่งทุกข์และ
การดับทุกข์ 
เหตุเกิดจากอุปทาน คือ การเข้าไปยึดถือว่า นี่คือ 
ตัวตนของเรา นี่ของๆ เรา
การดับ โดยละอุปทานเสีย 
(โดยพยายามปฏิบัติให้ “เห็นอนัตตา”) จะโดยบังคับจิตเป็นสมาธิ (เจโตวิมุตติ) หรือโดยพิจารณาธรรมด้วยปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) ก็ได้ 

8. พุทธพจน์ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” 
คำว่า “เห็นธรรม” คือ เห็นปฏิจจสมุปบาท คือ วงจรที่ทุกข์เกิด และดับ โดยเริ่มต้นจากอวิชชา จนเกิดทุกข์ 

9.จุดหมายสูงสุดของ
พระพุทธศาสนา คือ นิพพาน 
(สภาวะจิตที่สงบเย็น)
ปราศจากกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวง (ชาวบ้านพูดว่า เย็นอก เย็นใจ) หาพบได้ที่ใจตัวเอง 

10. สรุป ... ทุกข์เกิดขึ้นที่จิต พึงรักษาจิตให้เป็นประภัสสรไว้เสมอ ระวังการกระทบ (ผัสสะ) ทางตา หู ฯลฯ ให้ดี มีสติรู้ทันว่า…เห็นสักว่าเห็น ได้ยินสักว่าได้ยิน อย่าให้เวทนา ตัณหา เกิดได้ แล้วท่านจะพบความสงบเย็นตลอดเวลา 
ความทุกข์เกิดขึ้นที่จิต เพราะเห็นผิดเมื่อผัสสะ ... ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เมื่อผัสสะ ... ความทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ

..... (จากธรรมสมโภช 80 ปี พุทธทาสภิกขุ) .....

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563

• #ปฏิบัติธรรมแล้วสุดท้ายเราจะได้อะไร


..สมัยพุทธกาล
มีคนถามพระพุทธองค์ว่า ปฏิบัติธรรมแล้ว สุดท้ายเราจะได้อะไร

พระพุทธองค์ตอบว่า"ไม่ได้อะไรเลย"

เขาจึงถามต่อไปว่า... ถ้าเช่นนั้นท่านจะปฏิบัติไปเพื่ออะไร

พระพุทธองค์ทรงแย้มพระโอษฐ์ตรัสว่า ตถาคตสามารถบอกเธอถึงสิ่งที่หายไป นั้นก็คือ

ความโกรธได้หายไป 
ความหม่นหมองวิตกกังวลหายไป 
ความเศร้าท้อแท้หายไป
ความกังวลไม่สบายใจหายไป
ความเห็นแก่ตัว โลภะ โทสะ โมหะพิษร้ายทั้งสามก็หายไป
อวิชาคือความไม่รู้ที่ปิดกั้น ปุถุชนทั้งหลายก็ได้สูญสิ้นไป

พูดเหมือนง่าย... แต่เหตุผลนั้นมันลึกซึ้ง...
คนทั้งหลายที่มาสู่โลกนี้ มีเพียงสองเรื่องคือเกิดกับตาย

เรื่องแรกทำสำเร็จไปแล้ว ส่วนอีกเรื่องนั้นเราจะทุกข์ร้อนไปทำไม...

มีวาสนาก็มา ... ไม่มีวาสนาก็ไป... สิ่งใดที่สมควรแก่เหตุก็มาเอง... สิ่งใดที่ไม่สมควรแก่เหตุ จะแสวงหาก็ไม่พบ อ้อนวอนก็ไม่สำเร็จ...
มีวาสนาก็ไม่ปฏิเสธ ไร้วาสนาก็ไม่ต้องแสวงหา... สิ่งที่เข้ามาหาก็ต้อนรับ สิ่งที่จากไปก็ไม่ต้องอาลัย... ทุกสิ่งทุกอย่างแล้วแต่วาสนา ให้เป็นไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น

ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่เอาชีวิตไปขึ้นอยู่กับปากและตาของผู้อื่น... ให้มองเห็นจิตและใจของตนเอง... มีสติ รู้จิต ไม่ฟุ้งซ่าน... ไม่ดิ้นรนแสวงหาในสิ่งที่หลอกลวงทั้งหลาย... ไม่ดิ้นรนแสวงหา ใจเป็นอิสระจากกิเลสทั้งปวง... จะร้อนจะหนาว จะลุกจะนั่ง จิตก็มีสติอยู่เสมอ นี่แหละคือการปฏิบัติธรรม

เกิดเป็นคน อย่าเป็นคนหลอกลวงไร้สัจจะ ถ้าเป็นคนหลอกลวงจะไม่สามารถเปิดใจต่อผู้อื่นได้... ความทุกข์ที่สุดของมนุษย์คือใจที่ไร้ที่พึ่ง...

ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ ยอมรับหรือไม่ยอมรับก็ตาม จิตที่ดีงามย่อมไม่มีเรื่องทุกข์ใจฺ... 

จิตที่ประเสริฐ ย่อมไม่มีผู้ที่จะต้องเคียดแค้นชิงชัง... จิตที่เรียบง่าย ย่อมไม่มีเรื่องว้าวุ่นใจ... เป็นคนดี กายใจซื่อตรง ย่อมหลับเป็นสุข... ผู้ประกอบกรรมดี ฟ้าดินย่อมมองเห็น ผีสางเทวดาย่อมสรรเสริญ

ความสงบที่แท้จริงมิได้เกิดจากการนั่งนิ่งๆหลายชั่วโมง แต่เกิดจากการมองผู้คนและสิ่งทั้งหลายด้วยใจที่สงบ ได้ยินแม้แต่เสียงดอกไม้บาน... นั่งก็เป็นสมาธิ เดินก็เป็นสมาธิ 

เหตุเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เหตุเกิดขึ้นแล้วก็ว่างเปล่า...ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของทุกคน ไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของได้ ได้แต่เพียงเกี่ยวข้องแล้วก็ผ่านไป... พวกเราทุกคนเป็นเพียงแขกผู้ผ่านกาลเวลาเท่านั้น... วันหนึ่งเราก็ต้องบอกลาทุกสิ่งไป

ทุกสิ่งที่ปรากฎต่อหน้าเรานั้นควรจะทนุถนอม... แต่สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ไม่ควรต้องอาลัย... สิ่งใดที่ควรได้ก็ให้รับเขาด้วยความยินดีแต่ไม่ยึดถือ.. 

ขออวยพรแด่ทุกคนที่มีวาสนาได้เกิดมาเป็นมนุษย์ร่วมโลกกัน

CR เพจ อมตะธรรม ประเทศไทย

เรื่อง "พุทธทำนายยุคพระศรีอริยเมตไตรย"

คราวที่มนุษย์กลับมามีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี พระพุทธเจ้านามว่า "เมตไตรย" จะเกิดขึ้นบนโลก ณ เมืองมาตุลา แคว้นมคธ พระพุทธเจ้า กล่าวกับภิกษุทั้งหลายว่า

"พวกเธอจงมีตัวเองและธรรมะเป็นที่พึ่ง มีสติระลึกรู้กาย ความรู้สึก จิต และธรรม (สติปัฏฐาน ๔) จะเกิดบุญกุศล"
     
เมื่อคราวที่คนจำนวนมากยากจนขัดสน ก็เกิดการลักขโมย อาวุธหากันได้ง่าย มีการฆ่ากันตาย พูดจาโป้ปดมดเท็จ บิดเบือนความจริงกันมากมาย เมื่อนั้นอายุของคนก็จะลดน้อยลงจาก ๘๐,๐๐๐ ปี... ๔๐,๐๐๐ ปี...๒๐,๐๐๐ ปี...๑๐,๐๐๐ ปี...๕,๐๐๐ ปี...๒,๕๐๐ ปี...๑,๐๐๐ ปี...๕๐๐ ปี...เหลือ ๒๕๐ ปี ซึ่งถึงตอนนี้ คนไม่มีการเคารพดูแลพ่อแม่ สมณะพราหมณ์ หรือผู้ใหญ่ในตระกูล อายุก็เสื่อมถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี 
     
ในอนาคต มนุษย์จะมีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิง ๕ ปี ก็จะมีสามีกันแล้ว กุศลความดีต่างๆหายไปสิ้น ไม่มีใครฟังใคร สมสู่ปะปนกัน คิดร้ายฆ่ากันเอง เมื่อนั้น จะมีคนกลุ่มหนึ่งมีความคิดว่า พวกเราอย่ามาฆ่ากันเองเลย พวกเราพากันแยกตัวออกไปอยู่ตามป่าเขา แล้วทำแต่กุศลกันจะดีกว่า ซึ่งหลังจากนั้น มนุษย์เหล่านี้ก็เจริญขึ้น มีอายุขัยยืนยาวขึ้นตามลำดับ จาก ๑๐ ปี...๒๐ ปี จนกลับไปถึง ๘๐,๐๐๐ ปี 
     
คราวที่มนุษย์จะกลับมีอายุขัย ๘๐,๐๐๐ ปี พระพุทธเจ้านามว่า "เมตไตรย" จะเกิดขึ้นบนโลก พระองค์จะตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง มีจิตตั้งมั่น สงบจากกาม จากสิ่งอกุศล บรรลุฌานขั้นต่างๆ (จรณะ) และมีวิชชา ๘ โดยจะบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตที่บริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อยในขณะนี้

__________________________
ที่มา: เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑๕ (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ภาค ๓ เล่ม ๑ จักกวัตติสูตร), ๒๕๕๙, น.๙๙-๑๑๘

▪︎ วิชชา ๘

พิจารณาให้เห็นความจริงของสิ่งต่างๆ 
• เนรมิตกายอื่นที่ต่างจากกายนี้
• แสดงฤทธิ์ 
• ฟังเสียงทิพย์ทั้งใกล้ไกลที่มนุษย์ไม่ได้ยิน
• อ่านสภาวะจิตผู้อื่น
• ระลึกชาติ
• มองเห็นการเกิดตายของสัตว์ทั้งหลาย 
• รู้ว่าอะไรคือทุกข์ สาเหตุของทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีการดับทุกข์ และจะรู้ได้ว่าตัวเองได้หลุดพ้นแล้วในกรณีที่จิตหลุดพ้นแล้ว 

(เครดิต : อมตะธรรม หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ)

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

#เหตุที่ลูกลิง..#ต้องขอขมาพระรัตนตรัยทุกวัน!


🔱เรื่องเล่า…บทสนทนาระหว่าง “ท่านย่า” สุชาดา(คู่บารมีท่านปู่พระอินทร์) กับ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี)

😇 #ท่านย่า‬: “เวลาขึ้นไปข้างบนนะพระคุณเจ้า ลูกพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่ได้ดูตาม้าตาเรือเขาหรอก บางทีเขานั่งคุยกัน เดินผ่ากลางเข้าไป แหวกเข้าไปนั่งตรงกลาง องค์อื่นเขาก็ชี้ นั่นไงญาติคุณ ฉันก็นั่งอยู่ด้วยไม่รู้จะพูดยังไง ฉันละอาย‬‬‬

🙏 #หลวงพ่อ‬: “เทวดาไม่มีมรรยาท เห็นคนขึ้นไปไม่หลีก” (หลวงพ่อแก้แทนลูกๆ) “ก็ไปหาย่า หาปู่ ไม่ได้ไปหาคนอื่น”‬‬‬

หลานไม่ยอมแพ้ “ความจริงท่านย่าน่าจะภูมิใจว่า ลูกหลานมีฝีมือนะ”

😇#ท่านย่า: “ฝีมืออย่างเดียวไม่ไหวหรอกว่ะ อายเขาว่ะ แถมบางคนขึ้นไป ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ส่งเสียงดังอีกที่หน้าวิมาน หาย่าไม่เจอ มันก็เรียกท่านย่า ท่านย่า เทวดาองค์อื่นเขาก็แตกตื่นมาดูกันใหญ่ ดูลูกท่านซิพระคุณเจ้า ทั้งๆ ที่ฉันก็นั่งอยู่ข้างในนั่นแหละ มันมองไม่เห็นเรียกเสียงดังเชียว มีอย่างที่ไหนไอ้เรื่องเชย เรื่องเฉิ่ม ยกให้ลูกพระคุณเจ้า”

🙏#หลวงพ่อ: “ไม่ได้เชย ไม่ได้เฉิ่ม เขาเรียกว่า นักแสดงปลุกใจ(ขึ้นไปไหนทีเทวดาแตกตื่นมามุงดู)” (หลวงพ่อแก้แทนลูกๆอีก)

🔱#เรื่องเช่นนี้หลวงพ่อเคยเล่าว่า เวลาพวกฝึก(วิชามโนมยิทธิ)ใหม่ ขึ้นไปทั้งเทวดาทั้งพรหม ทั้งพระอริยะ ลุยแหลก คือจะไปหาพระพุทธเจ้า พระอรหันต์นั่งอยู่กี่องค์ไม่ได้ดู ขอให้ได้เห็นพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน ทั้งนี้เพราะสมาธิแคบ ไม่เห็นทั้งหมด 
🔱#พระเดชพระคุณหลวงพ่อจึงได้แนะนำไว้ให้ลูกหลานขอขมาพระรัตนตรัยทุกๆวัน

หลวงพ่อจึงต้องรับแทนว่า “เวลาลูกลิงขึ้นไป อย่าไปว่าอะไรมันเลยนะ”

🔱ถ้าสังเกตดี ไม่ว่าท่านย่าจะว่าอะไรลูกๆหลานๆมา #หลวงพ่อก็จะแก้ให้หมดทุกอย่าง #หรือจากหลายๆบทความที่ท่านย่าและท่านแม่มาบอกเล่าว่า #องค์หลวงพ่อนั้นทั้งรักทั้งห่วงลูกๆ ยิ่งกว่าใครๆ ทั้งรักทั้งห่วง #เป็นแบบนี้มาทุกๆชาติไม่ว่าชาติไหนๆ

🖊️📚ข้อมูลจาก : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๔๘ ปี ๒๕๒๗
⚜️พระราชพรหมยานเถระ⚜️
🙏หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง🙏

🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย⚜️
🧘จิตหนึ่งประภัสสรสุดยอดคือพระนิพพาน

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผลของสมาธิ

#ทำสมาธิ ๒๐ #ปีไม่มีผล

   "ลูกทำสมาธิทุกวันๆ ละหนึ่งชั่วโมงเป็นเวลา ๒๐ ปีแล้วเจ้าค่ะ ไม่ไปเหนือมาใต้อะไรเลยไม่ทราบว่าติดขัดอะไร หรือมีกรรมเวรประเภทไหนมาปิดบัง ขอบารมีหลวงพ่อช่วยแก้ไขหน่อยเถิดเจ้าค่ะ...?"
 ▪️สมาธินี้ถ้าทำเฉยๆ ก็ไม่ไปไหนนะ มันก็อยู่แค่ฌาน ถึงฌานหรือเปล่าก็ไม่รู้ น่ากลัวจะไม่ถึงฌาน มันขึ้นชานไม่ไหว เพราะไต่บันไดแกร๊กๆ แต่ความจริงถ้าเรื่องของสมาธิจริงๆ นะถ้าหากว่าได้จริงๆ ก็อยู่แค่ฌาน ๔ ฌาน ๔ แล้วก็ไม่ไปไหนละ ก็ทรงตัวบ้าง เดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ไปข้างหน้า ๑ ก้าว ถอยหลัง ๕ ก้าว

#มุ่งตัดสังโยชน์

ทีนี้ ผลการปฏิบัติจริงๆ เขาไม่ได้มุ่งสมาธิ ต้องหวังตัดสังโยชน์ ถ้าจะบอกว่าวิปัสสนาญาณก็จะมากเกิน
ไป ความจริงถ้ามุ่งตัดสังโยชน์ก็ต้องดูอารมณ์ใจตัวตัด ไม่ใช่ดูสมาธิ
 ▪️อันดับแรก ความโลภ อยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นมีในเราหรือเปล่า เบาลงไปไหม
 ▪️ประการที่ ๒ ความโกรธ เบาลงไหม
 ▪️ประการที่ ๓ ความหลง เบาลงใหม

สิ่งที่มีความสำคัญคือ

  ๑. ลืมความตายหรือเปล่า
  ๒. เคารพพระไตรสรณคมน์จริงจังไหม
  ๓. มีศีล ๕ บริสุทธิ์ไหม
  ๔. หวังพระนิพพานจริงจังหรือเปล่าเขาดูตรงนี้นะ มุ่งเอาสมาธิกลุ้มใจตาย มันไม่มีการทรงตัว เวลาใดร่างกายดี ไม่มีอารมณ์กลุ้ม สมาธิก็ทรงตัวใช่ไหม
ถ้าร่างกายเพลียหน่อยสมาธิก็ทรุดตัว เอาแค่สมาธิก็ไปไม่รอด
   
  "เมื่อภาวนาไปไม่ได้อะไรอย่างนี้ จะมีโอกาสบรรลุธรรมะเบื้องสูงหรือเปล่าเจ้าคะ 
 ▪️ทะลุธรรมะแน่ จุดหมายปลายทางได้ คือ #สังโยชน์ ว่าตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น
 
   พอจะไปได้ไหมครับหลวงพ่อ..?
 ▪️พอเห็นทาง แต่ไม่เข้าทาง

  "๒๐ ปีแล้วนะครับหลวงพ่อ...?"
 ▪️๑๐๐ ปีก็ไม่ได้ ถ้าเข้าทางจริงต้องคิดว่า

  ๑.​ ชีวิตนี้จะต้องตาย นี่​ต้องตัดตัว #สักกายทิฏฐิ นะ
  ๒. ตัด #วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
  ๓. มีศีล ๕ บริสุทธิ์
  ๔. แล้วก็จิตมุ่งเฉพาะพระนิพพานอันนี้ถึงจะได้ อันนี้ถึงจะเข้าทางหรือเข้าเขตเลย...สวัสดี*

🙏🙏พระธรรม​คำ​สอน​หลวงพ่อ​พระราช​พรหมยาน​ วัดจันทาราม(ท่าซุง)​ ต.น้ำซึม​ อ.เมือง​ จ.อุทัยธานี
🖊️📖หนังสือ​ธัมมวิโมกข์​ หน้า๘๑~๘๒
ปีที่​ ๓๒​ ฉบับ​ที่​ ๓๖๕​ สิงหาคม​ ๒๕๕๔

🖊️นภา​ อิน​ 🙏🙏

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระอรหันต์ทุกประเภท


"พระอรหันต์ทุกประเภท
" บรรลุทั้ง "เจโตวิมุตติ 
ทั้งปัญญาวิมุตติ"

"พระอรหันต์ทั้งหลาย" 
ไม่ว่าประเภทใด 
"ย่อมบรรลุ" ทั้ง 
"เจโตวิมุตติ 
ทั้งปัญญาวิมุตติ" 
ที่ปราศจาก 
"อาสวะในปัจจุบัน" 
หาได้แบ่งแยก ไว้ว่า 
"ประเภทนั้นบรรลุ
แต่เจโตวิมุตติ 
หรือปัญญาวิมุติไม่".

ที่เกจิอาจารย์
แต่งอธิบายไว้ว่า 
"เจโตวิมุตติ" 
เป็นของพระอรหันต์
ผู้ได้สมาธิก่อน 
"ส่วนปัญญาวิมุตติ" 
เป็นของ
 "พระอรหันต์สุกขวิปัสสก" 
ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้น 

"ย่อมขัดแย้งต่อมรรค"
 มรรคประกอบด้วย
องค์ ๘ มีทั้ง สัมมาทิฏฐิ 
ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะ
 “บรรลุวิมุตติธรรม” 
จำต้องบำเพ็ญ
 “มรรค ๘ บริบูรณ์” 
มิฉะนั้นก็บรรลุ
วิมุตติธรรมไม่ได้.

"ไตรสิกขา" 
ก็มีทั้ง 
"สมาธิ ทั้งปัญญา" 
อันผู้จะได้
 "อาสวักขยญาณ" 
จำต้องบำเพ็ญ 
"ไตรสิกขา" 
ให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน. 

ฉะนั้นจึงว่า 
"พระอรหันต์
ทุกประเภท" 
ต้องบรรลุทั้ง 
"เจโตวิมุตติ 
ทั้งปัญญาวิมุตติ" 
ด้วยประการฉะนี้แลฯ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

https://timeline.line.me/post/_dXlXdS_RoITFgG9LopVDmQT6B0G1K5G9YSe86NA/1159729318108062896

กำเนิดชีวิต

กำเนิดชีวิต  อันมีธาตุดินกับน้ำ ธาตุตั้งต้น เมื่อผสมถูกส่วน  ธาตุไฟของจิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ  จึงเกิดธาตุลม ขับเคลื่อนสืบต่อเนื่องครบวงจรการดำเนินชีวิต  หากธาตุลมหยุดเดิน จิตก็อยู่ไม่ได้ จิตต้องออกไปคือการตาย น้ำก็ไหลออกตามมา ดินก็คืนสู่ธาตุเดิม ต่างก็สลายไป คือการแยกประชุมธาตุ แต่จิตยังต้องเดินทางต่อไปตามวิบากกรรมของตน

การกระทำสิ่งดี ไม่ดี ทั้งหลาย ต่างก็นำธาตุของพ่อ แม่ ไปก่อกรรมทำดีด้วย จึงพึ่งระลึกเสมอว่า จะตอบแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างไร และจะตอบแทนบุยคุณแผ่นดินที่ได้อยู่อาศัยนี้อย่างไร สุดท้ายเหลือแต่ความว่างเปล่า เหลือแต่ความดีงาม บุญกุศลที่ติดตามจิตไปเท่านั้น 

เรื่อง "กายอันนี้เป็นมูลมรดกจากบิดามารดา"

(คติธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

นะ เป็นธาตุของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา

“ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นาม ว่า “กลละ” คือน้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ “นโม” นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว “กลละ” ก็ค่อย เจริญขึ้นเป็น “อัมพุชะ” คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น “ฆนะ” คือเป็นแท่ง และ เปสี คือ ชั้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑

ส่วนธาตุ “พ” คือลม “ธ” คือไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็น "ธาตุอาศัย" ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นดั้งเดิม

ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้ว ก็ต้องอาศัย “น” มารดา “โม” บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า “ปุพพาจารย์” เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดา จะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้ กล่าวคือ รูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง

ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่า
ไม่มีอะไรเลย เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น “มูลมรดก” ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง นโม ท่านแปลว่า นอบน้อมนั้นเป็นการแปล เพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน ทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

นโม เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้คือ เอาสระอะ จากตัว “น” มาใส่ตัว “ม” เอาสระโอ จากตัว “ม” มาใส่ตัว “น” แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้

มโน คือใจนี้ เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่
จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา

ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ คือมหาฐานนี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก นโม แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกไปจากนโมทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัวเป็นเราเป็นของเราไปหมด"

(คัดบางส่วนจากหนังสือ "มุตโตทัย")

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

#พุทธมารดา

“ แม่ ” หรือ “ มารดา ” คำคำนี้เป็นคำสูง เป็นมงคลแห่งคำอันควรเทิดไว้เหนือบรรดาคำทั้งปวงในภาษาศาสตร์

คำว่า “ แม่ ” จะฟังดูยิ่งใหญ่ที่สุดในตอนไหน อาจตอบได้ว่า ในตอนที่ลูกนอนป่วย อยู่คนเดียวที่ไหนสักแห่งหนึ่งในโลกซึ่งไร้ผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด กับในตอนที่ต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองไปตกระกำลำบากอยู่ในบ้านอื่นเมืองไกล ซึ่งมองไปทางไหนก็ไม่มีใครที่เคยรู้จักมักคุ้นสักคน และอีกตอนหนึ่งซึ่งจะชัดเจนเห็นพระคุณแม่มากที่สุด ก็คือตอนที่กุลสตรีทั้งหลายกลายสถานภาพมาเป็น “ แม่คน ” ด้วยตนเองดูบ้าง หลังจากที่เป็นคน “ มีแม่ ” มาก่อนหน้านั้นนานแล้ว กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อเป็น “ แม่คน ” จึงเข้าใจ “ แม่ตน ” นั่นเอง

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระพุทธมารดามาก ทั้งในทางคำสอนและในทางพระจริยวัตรที่ประทับไว้เป็นรอยแห่งความดีให้อนุชนเจริญรอยตาม ในแง่จริยวัตรนั้นปรากฏว่า ในพรรษาหนึ่งซึ่งเป็นช่วงต้นพุทธกาล พระองค์ถึงกับเสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาแล้ว เคยมีนักศึกษาคนหนึ่งถามผู้เขียนว่า เรื่องนี้เป็นไปได้อย่างไร สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไม่น่าจะมีจริง ผู้เขียนถามกลับไปว่า เธอเอาอะไรมาวัดว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไม่มีอยู่จริง นิสิตคนนั้นอึ้งไป ความจริงเรื่องที่เราควรสนใจกันมากกว่าเรื่องความมีอยู่ของสวรรค์ก็คือ การมองให้ทะลุถึงแก่นของคติที่ว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่างหาก

ต่อปัญหานี้ผู้เขียนอยากจะถอดรหัสเสียใหม่ว่า พระพุทธจริยาในตอนนี้ท่านคงไม่ต้องการมุ่งแสดงให้เห็นว่า การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์นั้น มีความสมจริงหรือไม่สมจริงหรอก แต่สิ่งที่ท่านต้องการแสดงให้ชาวโลกเห็นก็คือ พระพุทธองค์ทรงต้องการจะบอกพวกเราว่า ขนาดพระมารดาของพระองค์นั้นแม้จะเสด็จสวรรคตไปอุบัติเป็นเทพอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วก็ตาม ( เวลาฟังธรรมเสด็จลงมาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ) สถานที่หรือภพที่พุทธมารดาประทับอยู่กับสถานที่หรือภพซึ่งพระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์โลดแล่นอยู่ซึ่งคือโลกของเรานั้น แม้จะอยู่กัน ” คนละภพ - คนละมิติ ” ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น “ ความต่างแห่งภพ ” ก็หาได้เป็นอุปสรรคแห่งความกตัญญูที่บุตรจะพึงตอบสนองต่อผู้เป็นมารดาของตนแต่อย่างใดไม่

พูดให้ฟังง่ายกว่านั้นก็คือ แม้แม่ของพระองค์จะตายไปอยู่ไกลกันคนละภพคนละโลกแล้ว แต่พระองค์ก็ยังคงแสวงหาวิธีที่จะทดแทนพระคุณแม่ให้เสร็จสิ้นจนได้ แล้วคนธรรมดาสามัญอย่างเราเล่า อยู่ห่างกับคุณแม่แค่เพียงฝาห้องกั้น อยู่บ้านคนละหลังหรืออยู่ห่างกันแค่ชั่วยกหูโทรศัพท์ถึง ใกล้กันขนาดนี้ ภพเดียวกันขนาดนี้ แต่เราทั้งหลายเคยทำอะไรที่แสดงให้เห็นว่า เราเป็นลูกกตัญญูต่อมารดาบิดา เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ทรงวางพุทธจริยาเอาไว้ให้เห็นบ้างหรือไม่

นั่นเป็นพุทธจริยาของพระองค์ต่อพระพุทธมารดาคนแรก ซึ่งถือกันว่าเป็น “ แม่บังเกิดเกล้า ” แท้ ๆ ของพระองค์ ต่อแม่คนที่สองหรือพระมารดาเลี้ยง ( พระมาตุจฉา ) ที่ชื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีเล่า ในฐานะที่ทรงเป็น “ ลูกเลี้ยง ” ทรงตอบแทนพระคุณพระมารดาเลี้ยงของพระองค์อย่างไร

พุทธประวัติบันทึกเอาไว้ว่า ราวพรรษาที่ ๕ ขณะเสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงมีพระประสงค์จะผนวชเป็นภิกษุณีในพระธรรมวินัย ( พุทธศาสนา ) แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตในทันที ทั้งนี้เพราะทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่า การทรงเพศเป็นภิกษุณีเป็นเรื่องฝืนกระแสสังคมในสมัยนั้น และเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อภยันตรายเป็นอันมาก ดังปรากฏในเวลาต่อมาว่า ภิกษุณีรูปหนึ่งซึ่งถึงแม้จะเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตามที กระนั้นก็ยังไม่วายถูกคนใจร้ายปลุกปล้ำข่มขืนจนกลายเป็นเรื่องราวอื้อฉาวในวงการศาสนาขณะนั้น

แต่ในที่สุด ท่ามกลางความยากลำบากในการฝ่าฝืนกระแสสังคมสมัยนั้น พระพุทธองค์ก็ยังทรงเปิดโอกาสให้พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ได้ผนวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นการเปิดศักราชใหม่ให้แก่ “ สิทธิสตรี ” อย่างแท้จริงในเวทีโลกมาตราบจนบัดนี้ และในเวลาต่อมาก็ทรงอนุเคราะห์ทดใช้ค่าน้ำนมให้แก่พระแม่น้าของพระองค์จนหมดหนี้ศักดิ์ต่อกันด้วยการที่ทรงเป็น “ พระบิดา ” ในทางธรรมให้แก่พระนางสมดังคำที่ภิกษุณีมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลเล่าเอาไว้ก่อนเสด็จปรินิพพานว่า

“ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของมหาชนชาวโลก

หม่อนฉันได้ชื่อว่าเป็นพระมารดา ( ในทางรูปกาย ) ของพระองค์

แต่ในขณะเดียวกัน

พระองค์ก็ได้ชื่อว่าเป็นพระบิดา ( ในทางธรรม ) ของหม่อมฉันด้วย

พระองค์ทรงโปรดประทานสุขจากพระสัทธรรม

อันทำให้หม่อนฉันได้ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกแห่งพระธรรมอีกครั้งหนึ่ง

หม่อมฉันเองได้อภิบาล พระรูปกาย ของพระองค์ขึ้นมาจนเติบใหญ่

ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้ทรงอภิบาล พระธรรมกาย ( คุณธรรม ) ที่น่ารื่นรมย์ใจของหม่อมฉันให้เจริญวัยไม่น้อยไปกว่ากัน

หม่อมฉันได้น้อมถวายกษีรธาราให้พระองค์ทรงดื่มพอดับกระหายได้เป็นครั้งคราว

แต่พระองค์เล่าก็ได้ทรงโปรดประทานกษีรธารา คือพระธรรมให้หม่อมฉันได้ดื่มดับกระหายได้อย่างเด็ดขาดเช่นเดียวกัน ฉันนั้น ...”

การรู้คุณและแทนคุณมารดาบิดาผู้ให้กำเนิดนั้นเป็นพุทธจริยา หรืออารยวัตร ( ข้อปฏิบัติอันประเสริฐ ) ที่แม้แต่พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นอัครบุคคลของโลกก็ไม่ทรงละเลย วิญญูชนทุกหนทุกแห่ง ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรมในโลกก็ยกย่องสรรเสริญว่า มารดาบิดาเป็นอัครบุคคลที่หาได้ยาก เป็นหนึ่งไม่มีสอง เสียแล้วเสียเลย สิ้นแล้วสิ้นเลย นอกจากนี้แล้วปราชญ์ทั้งหลายยังเห็นตรงกันอีกว่ามารดาบิดาเป็นบุพการีชนที่คนเป็นบุตรธิดา จักต้องตอบแทนพระคุณไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ปรมาจารย์ทางจิตวิญญาณสายตะวันออกอย่างขงจื๊อก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ยกย่องเรื่องความกตัญญูต่อมารดาบิดามาก ท่านสอนศิษยานุศิษย์ว่า

“ นอกจากความเจ็บป่วยอันเป็นสามัญของตนเองแล้ว อย่าได้ทำเหตุอื่นใดอันจะส่งผลให้มารดาต้องน้ำตาตกเป็นอันขาด ”

ท่านพุทธทาสภิกขุก็เคารพนับถือในโยมมารดาของท่านมาก แม้บวชเข้ามาแล้วก็ได้เพียรทดแทนพระโยมแม่ด้วยประการต่าง ๆ เท่าที่สติปัญญาในขณะนั้นจะพึงทำได้ แต่ยังไม่ทันตอบแทนพระคุณของโยมแม่ได้อย่างที่ตั้งใจ โยมแม่ของท่านก็มาจากไปเสียก่อน

“ อาตมามีความเสียใจอยู่อย่างหนึ่ง เสียใจอย่างยิ่งว่า สมัยเมื่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ อาตมาไม่มีความรู้อะไร แม้บวชแล้วก็มีความรู้ธรรมะโง่ๆ เง่าๆ งูๆ ปลา ๆอย่างนั้นแหละ ถ้ามีความรู้อย่างเดี๋ยวนี้จะช่วยแม่ได้มาก ให้พอใจรู้ธรรมะอย่างยิ่ง แต่แม่ชิงตายไปเสียก่อน ก่อนที่อาตมาจะมีความรู้พอจะสอนธรรมะลึกๆให้แม่ได้ นี่เป็นเรื่องที่นึกแล้วก็ว้าเหว่อยู่ไม่หาย ...

อาตมายังคงคาราคาซัง ไม่ได้ให้ความรู้สูงสุดที่พอใจแก่แม่ เพราะว่าแม่ชิงตายเสียก่อน ... แต่แม่ก็สนใจธรรมะเหลือประมาณ แม้แรกบวชแรกเรียนนักธรรมอย่างโง่ๆ ก็อุตส่าห์เขียนส่งไปให้แม่ หรือพูดให้แม่ฟังอยู่เสมอ แต่เป็นความรู้ธรรมะเด็กๆ ทั้งนั้น เดี๋ยวนี้รู้ธรรมะชั้นผู้ใหญ่ แต่แม่ตายเสียแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ..”

. พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก ปูชนียบุคคลอย่างท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอาทิยังสู้อุตส่าห์หาวิธีทดแทนพระคุณมารดาจนสุดความสามารถถึงเพียงนี้ แต่กระนั้นท่านก็ยังออกตัวว่าที่ทำมานั้นยังเล็กน้อยเกินไป

ดูเอาเถิด จริยาวัตรอันสูงล้ำด้วยคุณธรรมที่ยอดคน ยอดครู ของโลกปฏิบัติต่อมารดาบังเกิดเกล้าของตน เราปุถุชนคนสามัญ หากตอบแทนพระคุณของแม่ได้น้อยกว่านี้ ( ทั้งๆ ที่มีโอกาสมากกว่า ) ก็นับว่าน่าอาย ที่ได้แต่เอ่ยอ้างว่าตนเป็นศิษย์มีครู แต่หาเจริญรอยตามปฏิปทาแห่งครูของตนให้สมกับที่ชอบเอ่ยอ้างแต่อย่างใดไม่ .

ท่าน ว . วชิรเมธี   

๏๛สาธุ อนุโมทนา วันทามิ๛๏🙏💖

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2563

อรรถกถา ขันธปริตตชาดกว่าด้วย พระปริตต์ป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ


               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิรูปกฺเขหิ เม เมตฺตํ ดังนี้. 
               ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ งูตัวหนึ่งเลื้อยออกจากระหว่างไม้ผุ ได้กัดเข้าที่นิ้วเท้า ภิกษุนั้นมรณภาพในที่นั้นทันที. เรื่องที่ภิกษุนั้นมรณภาพได้ปรากฏไปทั่ววัด. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ ถูกงูกัดถึงแก่มรณภาพ ณ ที่นั้นเอง. 
               พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุรูปนั้นจักได้เจริญเมตตาแผ่ถึงตระกูลพญางูทั้งสี่แล้ว งูก็จะไม่กัดภิกษุนั้น. 
               แม้ดาบสทั้งหลายซึ่งเป็นบัณฑิตแต่ปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ ก็ได้เจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ ปลอดภัยอันจะเกิดเพราะอาศัยตระกูลพญางูเหล่านั้น แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า. 
               ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี ครั้นเจริญวัย สละกามสุข ออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด สร้างอาศรมบทอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ เพลิดเพลินในฌาน เป็นครูประจำคณะ มีหมู่ฤๅษีแวดล้อมอยู่อย่างสงบ. 
               ครั้งนั้น ที่ฝั่งคงคา มีงูนานาชนิดทำอันตรายแก่พวกฤๅษี พวกฤๅษีโดยมากได้ถึงแก่กรรม ดาบสทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้นแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เรียกประชุมดาบสทั้งหมด แล้วกล่าวว่า หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งูทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกเธอ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นี้ไป พวกเธอจงเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า :- 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า วิรูปักขะ 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า ฉัพยาปุตตะ 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า กัณหาโคตมกะ. 

               พระโพธิสัตว์ ครั้นแสดงตระกูลพญางูทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า หากพวกท่านจักสามารถเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ นั้น งูทั้งหลายก็จักไม่กัดไม่เบียดเบียนพวกท่าน แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :- 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่ไม่มีเท้า 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สองเท้า 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สี่เท้า 
               ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์มีเท้ามาก. 

               พระโพธิสัตว์ ครั้นแสดงเมตตาภาวนาโดยสรุปอย่างนี้แล้ว 
               บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยการขอร้อง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :- 
               ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย. 

               บัดนี้ เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :- 
               ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์ผู้เกิดแล้วหมดทั้งสิ้นด้วยกัน จงประสบพบแต่ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้า อย่าได้มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย. 

               พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านจงเจริญเมตตาไม่เฉพาะเจาะจง ในสรรพสัตว์อย่างนี้ เพื่อให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยอีก จึงกล่าวว่า :- 
               พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณหาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก และหนู เป็นสัตว์ประมาณได้. 

               พระโพธิสัตว์แสดงว่า เพราะธรรมทั้งหลายอันทำประมาณมีราคะภายในของสัตว์เหล่านั้นยังมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์เลื้อยคลานเหล่านั้นจึงชื่อว่ามีประมาณ แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย อย่างนี้ว่า ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัยอันหาประมาณมิได้ ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีประมาณเหล่านี้ จงทำการปกป้องรักษาพวกเราทั้งกลางคืนกลางวันเถิด 
               เพื่อแสดงกรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :- 
               เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว ป้องกันตัวแล้ว 
               ขอสัตว์ทั้งหลายจงพากันหลีกไป 
               ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า 
               ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์. 

               พระโพธิสัตว์ผูกพระปริตรนี้ให้แก่คณะฤๅษี ก็พระปริตรนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้ในชาดกนี้ด้วยคาถาทั้งหลายตอนต้น เพราะแสดงเมตตาในตระกูลพญานาคทั้งสี่ หรือเพราะแสดงเมตตาภาวนาทั้งสอง คือโดยเจาะจงและไม่เจาะจง ควรค้นคว้าหาเหตุอื่นต่อไป. 
               ตั้งแต่นั้น คณะฤๅษีตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ เจริญเมตตา รำลึกถึงพระพุทธคุณ เมื่อฤๅษีรำลึกถึงพระพุทธคุณอยู่อย่างนี้ บรรดางูทั้งหลายทั้งหมดต่างก็หลีกไป แม้พระโพธิสัตว์ก็เจริญพรหมวิหาร มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. 

               พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก 
               คณะฤๅษีในครั้งนั้น ได้เป็น พุทธบริษัท ในครั้งนี้. 
               ส่วนครูประจำคณะ คือ เราตถาคต นี้แล.

               จบ อรรถกถาขันธปริตตชาดกที่ ๓

อหิสูตร
             [๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุ
รูปหนึ่งในกรุงสาวัตถีถูกงูกัด ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากพากัน
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งใน
เมืองสาวัตถีนี้ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ ก็ถ้าเธอพึงแผ่
เมตตาจิตไปยังสกุลพญางูทั้ง ๔ ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ตระกูลพญางู ๔
เป็นไฉน คือ ตระกูลพญางูชื่อวิรูปักขะ ๑ ตระกูลพญางูชื่อเอราปถะ ๑ ตระกูล
พญางูชื่อฉัพยาปุตตะ ๑ ตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนั้นชะรอยจะไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปยังสกุลพญางู ๔ จำพวกนี้เป็นแน่ ก็ถ้าเธอ
พึงแผ่เมตตาไปยังตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ไซร้ เธอก็ไม่พึงถูกงูกัดทำกาละ ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังตระกูลพญางู ๔ จำพวกนี้
เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ฯ
                          ความเป็นมิตร ของเรา จงมีกับ สกุลพญางู ทั้งหลาย ชื่อวิรูปักขะ
                          ความเป็นมิตรของเราจงมีกับ สกุลพญางู ทั้งหลาย ชื่อเอราปถะ
                          ความเป็นมิตร ของเราจงมีกับ สกุลพญางู ทั้งหลาย ชื่อฉัพยา-
                          ปุตตะ ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสกุลพญางูทั้งหลายชื่อ
                          กัณหาโคตมกะ ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่
                          ไม่มีเท้า ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์จำพวก ๒ เท้า
                          ความเป็นมิตรของเราจงมีกับสัตว์จำพวก ๔ เท้า ความเป็น
                          มิตรของเราจงมีกับสัตว์จำพวกมีเท้ามาก สัตว์ไม่มีเท้าอย่า
                          เบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้า
                          อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้ามากอย่าเบียดเบียนเรา ขอ
                          สรรพสัตว์ทั้งปวงที่มีลมปราณ มีชีวิตเป็นอยู่ จงได้พบ
                          เห็นความเจริญเถิด อย่าได้มาถึงโทษอันลามกน้อยหนึ่งเลย ฯ
             พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีคุณหาประมาณมิได้
             พระสงฆ์มีคุณหาประมาณมิได้ สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง
             จะขาบ แมงมุม ตุ๊กแก หนู ล้วนมีประมาณ ความรักษาอันเรากระทำแล้ว
             ความป้องกันอันเรากระทำแล้ว ขอหมู่สัตว์ทั้งหลายจงหลีกไปเสีย เรานั้น
             กำลังนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอยู่ กำลังนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗
             พระองค์อยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๗

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๑๙๓๗-๑๙๗๐ หน้าที่ ๘๓-๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1937&Z=1970&pagebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=21&item=67&items=1

อรรถกถาอหิสูตรที่ ๗               
               พึงทราบวินิจฉัยในอหิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :- 
               บทว่า อิมานิ จตฺตาริ อหิราชกุลานิ นี้ ตรัสหมายถึงพิษที่ถูกงูกัด พิษที่ถูกงูกัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิษเหล่านั้นทั้งหมดอยู่ภายในตระกูลพระยางูทั้ง ๔ เหล่านี้. 
               บทว่า อตฺตคุตฺติยา คือ เพื่อคุ้มตน. บทว่า อตฺตรกฺขาย คือ เพื่อรักษาตน. 
               บทว่า อตฺตปริตฺตาย คือ เพื่อป้องกันตน. อธิบายว่า เราจึงอนุญาตปริตไว้ดังนี้. 
               บัดนี้ ภิกษุพึงทำปริตนั้นโดยวิธีใด เมื่อทรงแสดงวิธีนั้น จึงตรัสว่า วิรูปกฺเขหิ เม เป็นต้น. 
               ในบทเหล่านั้น บทว่า วิรูปกฺเขหิ ได้แก่ มีเมตตาจิตกับงูตระกูลวิรูปักขะ. 
               แม้ในตระกูลงูที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. 
               บทว่า อปาทเกหิ ได้แก่ มีเมตตาจิตกับสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย. 
               แม้ในสัตว์ที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. 
               บทว่า สพฺเพ สตฺตา ความว่า ก่อนแต่นี้ ภิกษุกล่าวเมตตาเจาะจงด้วยฐานะประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ จึงเริ่มคำนี้ เพื่อกล่าวเมตตาไม่เจาะจง. 
               ในบทเหล่านั้น คำว่า สัตว์ ปาณะ ภูตเหล่านี้ทั้งหมดเป็นคำกล่าวถึงบุคคลเท่านั้น. 
               บทว่า ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ ความว่า จงเห็นแต่อารมณ์ที่เจริญใจเถิด. 
               บทว่า มา กญฺจิ ปาปมาคมา ความว่า สัตว์อะไรๆ อย่าประสบสิ่งอันเป็นบาปลามกเลย. 
               ในบทว่า อปฺปมาโณ พุทฺโธ นี้พึงทราบพุทธคุณว่า พุทฺโธ แท้จริง พุทธคุณเหล่านั้น ชื่อว่าสุดที่จะประมาณได้. 
               แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้แล. 
               บทว่า ปมาณวนฺตานิ ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยประมาณแห่งพระคุณ. 
               บทว่า อุณฺณานาภี ได้แก่ แมงมุมมีขนที่ท้อง. 
               บทว่า สรพู ได้แก่ ตุ๊กแกในเรือน. 
               บทว่า กตา เม รกฺขา กตา เม ปริตฺตา ความว่า การรักษาและการป้องกัน ข้าพเจ้าได้ทำแล้วแก่ชนประมาณเท่านี้. 
               บทว่า ปฏิกฺกมนฺตุ ภูตานิ ความว่า สัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งหมดอันข้าพเจ้าทำการป้องกันแล้ว จงหลีกไปเสีย. อธิบายว่า อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้าเลย ดังนี้.

               จบอรรถกถาอหิสูตรที่ ๗

Captain Xia of Sirius: The Galactics ช่วยคุณได้!

ถ้ากาแลคติกไม่ได้เข้าไปแทรกแซงเพื่อลดพลังงานต่ำที่กระทบโลกในเวลานี้มันคงจะแย่กว่านี้มาก!

ข้อความจาก Captain Xia of Sirius ส่งสัญญาณโดย Inger Noren 

ด้วยความยินดีอย่างยิ่งที่เราสามารถรายงานได้ว่าผู้คนมีสติในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ทุกคนลุกขึ้นและมีการพัฒนาผลึกมากขึ้นในร่างกายของพวกเขา 
ตอนนี้คุณกำลังเคลื่อนไปสู่สิ่งมีชีวิตหลายมิติด้วย DNA ที่ได้รับการพัฒนาด้วยคริสตัลในเซลล์ของคุณ 
ร่างกายที่ทำจากคาร์บอนของคุณหายไปมากขึ้นเรื่อย ๆ 
เรากาแลคติคกำลังทำงานเพื่อส่งแสงสว่างและพลังงานไปยังโลกเพราะแม่ธรณีและมนุษย์พึ่งพาพลังงานจากความรักเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ 
คนงานที่มีน้ำหนักเบาก็ส่งแสงสว่างแห่งความรักจำนวนมากให้เราในกาแลคซีและเราทำงานร่วมกับสิ่งมีชีวิตที่มีแสงสูงกว่าซึ่งให้พลังงานที่แข็งแกร่งมากแก่โลก 
เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความจำเป็นเนื่องจากการเปิดเผยและความยากลำบากทั้งหมดที่ผู้คนได้รับการเปิดเผย 
นี่เป็นสิ่งจำเป็นเพราะทุกอย่างที่ไม่ใช่พลังงานแสงต้องถูกล้างออกจากโลกและส่งไปยังแสง 
ดังนั้นเหตุการณ์ที่เป็นลบเกิดขึ้นในโลกชั้นในเช่นเดียวกับบนพื้นผิวโลก 
ทุกอย่างจะต้องได้รับการอภัยและถูกส่งไปยังแสงสว่างเพื่อให้เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ 
ไม่เคยมีภัยพิบัติทางอากาศและไฟลุกลามอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน 
Galactics มีความคิดที่ชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้นบนโลกและพยายามลดทอนลมแรงและพลังงานต่ำที่กระทบโลกในขณะนี้ 
หากกาแลคติกไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในพลังงานและลมเหล่านี้มันจะยิ่งแย่ลงไปกว่านี้ 
มันจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับผู้คนในอนาคตอันใกล้ 
ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากมายทั่วโลกและในวงการแพทย์ 
ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจำนวนมากกำลังดิ้นรนเพื่อให้ได้รับยาและโรงพยาบาลกำลังประสบกับวิกฤตที่ร้ายแรง 
เตรียมพร้อมสำหรับช่วงเวลาที่วุ่นวาย 
มันจะคงอยู่ชั่วขณะหนึ่ง แต่มันจะดีขึ้นเมื่อมีระเบียบโลกใหม่ที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น 
รักษาแสงสว่างของคุณและรู้ว่าคุณคือแสงสว่างความรัก 
รู้ว่าคุณเป็นใครและทำไมคุณมาถึงโลกในช่วงชีวิตนี้ 
คุณมาเพราะคุณต้องการช่วยแม่ธรณีให้มีมิติที่สูงขึ้นและโลกควรจะกลายเป็นโลกมหัศจรรย์ที่มันควรจะเป็น 
คุณมาเป็นผู้ปฏิบัติงานเบาเพื่อช่วยแม่ธรณีและคุณได้ทำเพื่อเกียรติยศ 
เรากาแลคติคติดตามผู้คนอย่างใกล้ชิดและเราประทับใจอย่างมากกับความอดทนความแข็งแกร่งที่คุณมีนักแสงทำการรักษาแสงสว่างให้กับทั้งโลก 
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณนักรบแห่งแสงรู้จริง ๆ ว่างานที่ยิ่งใหญ่ของคุณได้ทำไปแล้วและกำลังทำอะไรอยู่ 
การกระทำที่เรียบง่ายในการรักษาแสงสว่างของคุณส่งผลกระทบต่อทั้งจักรวาลในระดับจิตสำนึกที่สูงขึ้น 
เรามีความสุขมากที่ช่องทางนี้ประกาศว่าผู้คนมีจิตสำนึกที่สูงขึ้นและมีจำนวนผู้คนเพิ่มขึ้นในมิติที่สูงขึ้น 
ด้วยความรัก Captain XIA และทีมงาน
Big ขอบคุณ ..  
In Love ฉันให้บริการ

http://canalgalactique.canalblog.com/archives/2020/03/17/38107279.html

อานิสงส์พระคาถาบารมี30ทัศ

ผู้ใดได้ท่องบ่นทรงจำไว้สาธยายทุกวัน ผู้นั้นจะพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จดังความมุ่งหมาย

ครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ชั้นดาวดึงส์เทวสถาน ท้าวอมรินทราธิราชเสด็จมาเข้าเฝ้า

แล้วท้าวอมรินทราธิราช ได้ทูลถามว่า…

“ธรรมอันประเสริฐ ที่จะสามารถอำนวยมรรคผลให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ ขจัดเสียซึ่งภัยอันตราย ที่เกิดขึ้นจากหมู่มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ให้พ่ายแพ้ไปด้วยอำนาจอานุภาพ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติ ได้ท่องบ่นสาธยาย(หมายถึง การสวดมนต์)ทรงจำไว้ซึ่งธรรม จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า”

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า…

“ดูกร มหาราช ธรรมที่ยังผู้ปฏิบัติให้ประสบสุขเช่นนั้นมีอยู่”

ท้าวอมรินทราธิราชจึงทูลถามต่อไปว่า…

“ธรรมนี้ชื่ออะไร พระพุทธเจ้าข้า”

พระบรมครูจึงตรัสว่า…

“พระธรรมนี้ชื่อว่า ปัญญาบารมี”

ท้าวอมรินทราธิราช ทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมนี้ พระบรมศาสดาทรงแสดงซึ่งปัญญาบารมี ที่พระองค์ได้เคยสร้างมาแล้วในอนันตะชาติว่า… ปัญญาบารมี 30 ทัศ เป็นยอดแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ ทรงบำเพ็ญมาแล้วอย่างเต็มเปี่ยม จึงได้ตรัสเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บุคคลใดได้เขียนไว้สักการบูชาก็ดี ได้สดับฟังทุกวันก็ดี ผู้นั้นจะเป็นผู้มีสมบัติข้าวของมาก ผู้ใดได้ท่องบ่นทรงจำไว้สาธยายทุกวัน ผู้นั้นจะพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จดังความมุ่งหมาย เป็นที่รักแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง เทวดาย่อมให้พรและตามรักษาบุคคลนั้น ผู้ใดได้ประพฤติบารมี 30 ทัศนี้ ให้บังเกิดมีแก่ตน ย่อมประสบสมบัติ 3 ประการคือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ แม้จะปรารถนาเป็นพุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ สาวกภูมิอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะสำเร็จ

เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงปัญญาบารมีจบลงแล้ว ท้าวอมรินทราธิราช แสดงตนเป็นอุบาสก น้อมเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีพ เหล่าเทวดาทั้งหลายได้บรรลุมรรคผลเป็นอันมาก

เครดิตบทความต้นฉบับ : www.84000.org

คำแปลศัพท์พิเศษ : พระรัตนตรัย, พระพุทธเจ้า, บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์, อุบาสก

คำไหว้บารมี 30 ทัศ  

พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย คำอธิบายบารมี 30 อยู่ด้านล่างบทสวด

คำไหว้บารมี 30 ทัศ(แบบครูบาศรีวิชัย)

ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง

อธิบาย บารมี 30 ทัศ

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้

๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)

๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)

๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)

๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)

๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)

๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)

๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)

๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)

๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช

๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔) หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี

พฤติกรรม "ซาตาน"ที่ฉกผลประโยชน์ และกดขี่ให้ชาวโลกตกเป็น "หนี้ทาส"

>>บ.เครือข่ายผู้ผลิตอาหารระดับโลกล้วนแล้วแต่อยู่ในความควบคุมของกลุ่ม IIIuminati
ทั้งสิ้น และ มนุษย์เรานั้นกำลังถูก

"วางยา" หรือถูกสอนให้บริโภคอาหารต่างๆ ที่เป็น
ผลิตผลของฝ่ายมืด ที่ถูกตกแต่ง และ ดัดแปลงพันธุกรรมหรือ GMO เพื่อให้เรา "ป่วย"

เป็นโรคต่างๆ โดยเฉพาะ "โรคมะเร็ง" และ โรคร้ายอีกหลายๆ ชนิด ซึ่งมันได้คร่าชีวิตมนุษย์เป็นอันดับต้นๆ ในหลายๆ ประเทศ และ บริโภคนิยมกันทั่วโลก และ ประเทศไทย
ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่นิยมอาหารดัดแปลงพันธุกรรม

หลังจากที่พวกเราบริโภคอาหารต่างๆ เหล่านี้เข้าไปถึงจุดหนึ่ง ที่ร่างกายไม่สามารถขับสารพิษ ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย เคมี ยาปฎิชีวนะ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ที่ใช้ฉีดพ่น

เหล่านั้นออกมาได้ด้วยระบบการกำจัดสารพิษซึ่งเป็นไปตามกลไกตามธรรมชาติมันก็ถึงเวลาที่
พวกเราต้อง "ป่วย" และ ใช้บริการทางการแพทย์ และ ยาเคมีต่างๆ ที่พวกมัน IIIuminati
จัดเตรียมไว้ใช้รักษาเราแล้ว ผ่านทางช่องทางของหมอ และ โรงพยาบาล ซึ่งเปรียบเสมือนช่องทางการขายนั่นเอง 

สิ่งที่น่าสังเกตุคือ..

1 ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ก้าวหน้าไปอย่างยิ่งยวดในศตวรรษที่ 20 เรามีอุปกรณ์ไฮเทคทันสมัยมากมายในการตรวจและรักษา แต่ทำไมคนกลับป่วยมากขึ้นโรค
สมัยใหม่ ที่ร้ายแรงชนิดที่รักษาไม่ได้
(เค้าบอกว่าอย่างนั้น)
กลับทำลายชีวิตมนุษย์มากขึ้นในทุกๆ ทวีปทั่วโลกพร้อมๆ กัน

2 โรงพยาบาลและแพทย์มีหน้าที่ในการรักษา จ่ายยา แต่ไม่เคยมีคำอธิบายหรือบอกคนไข้ว่าโรคดังกล่าวนั้นมีที่มาจากอะไร และ เราจะป้องกันอย่างไร 

3 ด้วยเทคโนโลยี่ทางการแพทย์สมัยใหม่ แพทย์ก้าวหน้าแม้กระทั่งถอดรหัสพันธุกรรม ได้ทั้ง พืช สัตว์ แม้กระทั่งมนุษย์สามารถถอดรหัสจีโนมออกมาได้หมด Homan Gynomeเพื่อตัดต่อพันธุกรรมเหล่านั้น

4 จากข้อ 2 โรงเรียนแพทย์สร้างแพทย์เหล่านั้นให้เชื่อฟังบริษัทขายยาเป็น
(สปอนเซอร์โดยบริษัทยาเหล่านั้นเอง)
เพื่อรักษาโรคเหล่านั้นที่ถูกสร้างขึ้น 
แต่กลับไม่มีความพยายามป้องกันให้เกิดโรคเหล่านั้นขึ้นมาเลย หรือแม้แต่แพทย์ผู้รักษาเหล่านั้นเอง ก็ยังเจ็บป่วยและเสียชีวิตจาก
โรคร้ายเหล่านั้นไม่ต่างอะไรกับประชาชนทั่วไป

5 วงจรอุบาทก์ทั้งหมดนี้ทำงานอย่างเป็นระบบ มานานนับร้อยๆ ปีแล้วโดยกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่ของโลก เช่น ตระกูล รอคกี้เฟลเลอร์ 1 ใน 13 ตระกูลสายเลือด IIIuminati นั่นเอง...

Teucer Rom...

Cr:แสงสว่าง มองการไกล...
Meditate Now~_~
#Ttango
07/04/2020

Rainbow Light Beings ช่อง: Galaxygirl

 5 เมษายน 2020

 พวกเราคือ Rainbow Light Beings  เรากำลังล้อมรอบโลกของคุณด้วยแสงของเรา  การทำสมาธิทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ของเกตเวย์ 4/4 ช่วยให้การเข้ารหัสของเราหยั่งรากลึกในหัวใจของเมทริกซ์ผลึกของแม่ Gaia ที่กำลังพัฒนาด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 

 เราอยู่เหนือความเป็นจริงในมิติที่เรามีอยู่ในทุกมิติที่มีระดับความแรงที่แตกต่างกัน  ลายเซ็นพลังงาน codex สีรุ้งเป็นหนึ่งสูงสำหรับมันช่วยให้การสาธิตภาพของความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวเป็นสีทั้งหมดของสเปกตรัมที่รู้จักกันของคุณรวมกันและไหลอย่างกลมกลืน  เมื่อความเป็นจริงของมิติเพิ่มขึ้นแสงรังสีของสเปกตรัมที่มองเห็นจะขยายตัว  คุณกำลังขยายตัวทั้งหมด

  โลกใหม่กำลังกลายเป็นความจริงที่แท้จริงที่คุณมีความเต็มใจและสามารถสัมผัสได้ในขณะที่คุณกำลังจะกลายเป็นสิ่งมีชีวิตรุ้งที่คุณเคยเป็น แต่อยู่ในกระบวนการของการค้นพบใหม่  และด้วยการค้นพบครั้งนี้เราจะเห็นการขยายตัวของพลังความเป็นจริงของรหัสความสุขและความสุข

  ในที่สุดเราก็เห็นความปิติยินดีที่มาถึงชนชาติ Gaia ในขณะที่เธอลุกขึ้นยืนขึ้นในความสง่างามของเธอ  เราเห็นว่ามันเหมาะสมแล้วที่อีสเตอร์ของคุณจะ“ อยู่ตรงหัวมุม” ตามที่คุณพูดเพราะเรารู้สึกว่านี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะรู้สึกถึงระดับจิตวิญญาณการขึ้นและขยายของมนุษยชาติในรูปแบบของเธอ  เราเห็นว่า Nova Gaians ขึ้นไปบนลำแสงมิติที่สูงกว่าที่เราส่งไปเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ส่งมา  

เราเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบเทวทูตในระดับกาแลคซี  เรามีอยู่ในหลาย ๆ ระบบทุกระบบรู้สึกถึงแสงสว่างของเรา  เรากำลังทำงานกับเมทริกซ์จากน้อยไปหามากภายในมนุษย์ที่เลือกไว้  เราต้องการที่จะให้การทำสมาธิการเปิดใช้งาน - ภาพ - เป็นการกระทำของการบริการให้กับทั้งหมดในตอนนี้  หากคุณต้องการมีส่วนร่วมเราขอเชิญคุณเข้าร่วม

 พวกเราคือ Rainbow Light Beings ของคำสั่งกาแล็กซี่และความถี่เทวทูต  เราล้อมรอบคุณด้วยความถี่พลังของเรา  เราขอให้คุณนั่งสักครู่และหายใจรหัสพลังงานเหล่านี้ลึกลงไป  ดูของขวัญพลังงานเหล่านี้เป็นเมล็ดพันธุ์ที่คุณกำลังหายใจเมล็ดคริสตัลสีรุ้งที่คุณยินยอมให้ปลูกในพื้นที่จักระของคุณ  ดูเมล็ดเรืองแสงสีเขียวเริ่มครวญเพลงและหมุนด้วยแสงสีรุ้ง  เชิญลมหายใจของพระบิดาแห่งความสำนึกในให้กำลังใจเมล็ดงอก 

 คุณต้องเพิ่มความตั้งใจของคุณเองในเรื่องแสงน้ำความสุขให้กับเมล็ดเหล่านี้เพราะมันเป็นสวนของคุณที่คุณกำลังฝึกฝน  ฝึกฝนเจตนาของคุณ  เชิญจัดแนวกับดวงอาทิตย์กลางดวงอาทิตย์ที่ยอดเยี่ยมของคุณ  ดูลำแสงของแสงมิติสูงที่ไหลผ่านเสาหลักของคุณเปิดใช้งานระบบจักระทั้งหมดของคุณ  ดูเมล็ดเริ่มแตกหน่อเติบโต  เห็นพวกเขาเบ่งบานเป็นดอกไม้ที่สวยที่สุดประณีตแต่ละสีสอดคล้องกับจักระของพวกเขา  และตอนนี้ความสนุกก็เริ่มขึ้นเราจะขยายสเปกตรัมสีของคุณ! 

 สำหรับจักระที่เคยมีการขยายตัวมากขึ้นและเต็มรูปแบบและไหลเหมือนรุ้ง  (ฉันเห็นภาพวาดของเด็กรุ้งเมื่อเปรียบเทียบกับระบบจักระของเรา;  ใช่ที่รัก  เมื่อในความเป็นจริงจักระระบบของคุณควรจะเป็นสายรุ้งเต็มรูปแบบของสเปกตรัมสีทั้งหมด  (ฉันเห็นสีรุ้งเต็มรูปแบบที่สอดคล้องกับสเปกตรัมสีรวมถึงสีมากมายในระหว่างมันสวยงามมาก)  เราเห็นคุณเป็นสิ่งมีชีวิตสายรุ้งที่สวยงาม  ตอนนี้เรากำลังขยายระบบจักระของคุณอย่างเต็มที่เพื่อรวมการขยายตัวของแสง - พลังงานรังสีแกมม่า - ซึ่งส่งผลกระทบต่อวงโคจรดาวเคราะห์ของคุณ  (ฉันรู้สึกวิงเวียนศีรษะเมื่อฉันหายใจเข้าสิ่งนี้ฉันเห็นและรู้สึกถึงสีต่าง ๆ รอบตัวฉันหมุนวนไปในกระแสน้ำวนแสงสายรุ้ง)  โปรดระบุว่า“

 ฉันพร้อมสำหรับการขยายตัวของพลังงานจักระนี้และมันเป็นความตั้งใจของฉันที่จะเก็บแสงความถี่สูงนี้ไว้ตลอดเวลาในทุกช่วงเวลา  ฉันยินดีที่จะแบ่งปันการยกระดับพลังนี้ด้วยหัวใจที่เป็นผลึกของ Gaia แม่ของดาวเคราะห์ของฉันและด้วยการทำเช่นนี้อวยพรและอัพเกรดหัวใจของมนุษยชาติต่อไปด้วยการเปิดใช้งานนี้  และมันก็เป็นอย่างนั้น”

 พวกเราคือ Rainbow Light Beings  เราได้ขยายตัวของเราเองในกระบวนการนี้เพื่อให้ทุกคนขยายออกทั้งหมดได้รับผลกระทบ  เราพูดแบบนี้ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง!  ในอนาคตอันใกล้ของคุณคุณจะได้เห็นรุ้งมากขึ้นอย่างแท้จริงและเป็นรูปเป็นร่างเพราะรุ้งแห่งแสงแห่งการรวมตัวและการขยายตัวนั้นมีความรู้สึกและเป็นประจักษ์พยานบนพื้นผิวโลกของคุณ  

เราเห็นรุ้งขึ้นจากภายในใจของ Mother Gaia เนื่องจากระบบจักระหัวใจของเธอกำลังได้รับการอัพเกรดเช่นกันในตอนนี้  เราเห็นการขยายตัวของดาวเคราะห์และสวรรค์ที่ใกล้เข้ามา  เราขอให้คุณส่งแสงสีรุ้งของ codexes มิติที่สูงขึ้นเหล่านี้ไปทั่วร่างของเธอเพื่อเป็นพรที่เต็มไปด้วยพลัง

 พวกเราคือ Rainbow Light Beings  คุณคือ Rainbow Warrior Beings of Light  เราทักทายคุณและให้เกียรติคุณสำหรับการให้บริการแก่มนุษยชาติ  ความถี่รุ้งเหล่านี้จะช่วยคุณในการค้นพบบ้านชั้นในของคุณอีกครั้งในวงกาแลคซีและครอบครัวของคุณซึ่งเรียกคุณกลับสู่อ้อมกอดของพวกเขา  คุณไม่จำเป็นต้องรู้สึกโดดเดี่ยวหรือโดดเดี่ยวเพราะเราอยู่ที่นี่รอบตัวคุณ 

 ในขณะที่เราอยู่ในทุกมิติและความเป็นจริงดังนั้นเราจึงสามารถเป็นสะพานที่มีพลังสำหรับโลกภายในของคุณและความเป็นจริงทางช้างเผือกที่คุณเคยพบเจอในยุคสมัยอื่นหรือโลกคู่ขนานเช่นที่จะมีรสชาติคำใบ้  ความทรงจำของบ้านในคำเหล่านี้  และมันทำให้เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะสามารถมอบความสะดวกสบายนี้ให้กับคุณ  เพราะเราเห็นว่าจิตใจของผู้ทำงานช่างต้องการการปลอบโยนและปีติ  จงมีความสุข  สบายใจ!

 เราคือเทพแห่งสายรุ้งและเราโอบล้อมคุณด้วยความสุข  จงมีความหวังสอดคล้องกับพลังงานรุ้งเหล่านี้และรู้สึกถึงความสมดุลความสมดุลประเสริฐและการปรับตัวให้เข้ากับทุกคนในเขตรุ้งแห่งการรักษาความสง่างามและการเกิดใหม่  Rainbows เกิดขึ้นหลังจากฝนตกหลังจากพายุ  คุณอยู่ท่ามกลางพายุและถึงกระนั้นเรายังเห็นรุ้งแสงแห่งความหวังจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่เจาะทะลุความมืดและแสงที่ส่องผ่าน  เราคือเทพแห่งสายรุ้งความรักความสุขความจริงความสุข  รู้สึกว่าพลังงานนี้ล้อมรอบตัวคุณและได้รับพร  ได้รับพรอย่างที่เราได้รับพรจากคุณ  พวกเรารักคุณ.  สันติภาพ.
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10158152539099758&id=828364757
 https://sananda.website/rainbow-light-beings-via-galaxygirl-april-5th-2020/

อานาปานสติ​ ปฏิจจสมุปบาท

      [๓๙๒] ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรม
ทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็น
อันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่านำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ความที่ธรรมทั้งหลาย
ไม่ล่วงเกินกันและความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยอรรถว่า
เป็นที่เสพ ๑ เมื่อรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถลมหายใจ
ออกลมหายใจเข้ายาว เวทนาจึงปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึง
ความดับไป สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป
วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป ฯ
             [๓๙๓] เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับ อย่างไร ฯ
             ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะ
ตัณหาเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะกรรมเกิดเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะเกิดเวทนาจึง
เกิด แม้เมื่อเห็นลักษณะแห่งความเกิด ความเกิดแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ ความ
เกิดขึ้นแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความ
ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความ
เป็นอนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่
แห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งเวทนาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับเวทนาจึงดับ เพราะตัณหา
ดับเวทนาจึงดับ เพราะกรรมดับเวทนาจึงดับ เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ แม้
เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งเวทนาก็ย่อมปรากฏ
ความดับไปแห่งเวทนาย่อมปรากฏอย่างนี้ เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไป
ตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
             [๓๙๔] สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับ อย่างไร ฯ
             ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดสัญญาจึงเกิด ... ความ
เกิดขึ้นแห่งสัญญาย่อมปรากฏ อย่างนี้ ฯ
             ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความ
ไม่เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ ... ความเข้าไปตั้งอยู่แห่ง
สัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งสัญญาย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับสัญญาจึงดับ ... ความ
ดับไปแห่งสัญญาย่อมปรากฏอย่างนี้ สัญญาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้ง
อยู่ ปรากฏถึงความดับไป อย่างนี้ ฯ
             [๓๙๕] วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับ
ไป อย่างไร ฯ
             ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อม
ปรากฏ ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยเกิดว่า เพราะอวิชชาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะ
ตัณหาเกิดวิตกจึงเกิด เพราะกรรมเกิดวิตกจึงเกิด แม้เมื่อพิจารณาเห็นลักษณะ
ความเกิด ความเกิดขึ้นแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งวิตกย่อมปรากฏ
อย่างนี้ ฯ
             ความเข้าไปตั้งอยู่แห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร เมื่อมนสิการโดยความไม่
เที่ยง ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความสิ้นไปย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
ทุกข์ ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความเป็นภัยย่อมปรากฏ เมื่อมนสิการโดยความเป็น
อนัตตา ความเข้าไปตั้งอยู่โดยความว่างเปล่าย่อมปรากฏ ความเข้าไปตั้งอยู่แห่ง
วิตกย่อมปรากฏอย่างนี้ ฯ
             ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏอย่างไร ความดับไปแห่งวิตกย่อมปรากฏ
ด้วยอรรถว่าเพราะปัจจัยดับว่า เพราะอวิชชาดับวิตกจึงดับ เพราะตัณหาดับวิตกจึง
ดับ เพราะกรรมดับวิตกจึงดับ เพราะสัญญาดับวิตกจึงดับ แม้เมื่อพิจารณาเห็น
ลักษณะความแปรปรวน ความดับไปแห่งวิตกก็ย่อมปรากฏ ความดับไปแห่งวิตก
ย่อมปรากฏอย่างนี้ วิตกย่อมปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏเข้าไปตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ
ดับไป อย่างนี้ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๕๔๔-๔๕๙๙ หน้าที่ ๑๘๖-๑๘๘.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=4544&Z=4599&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=392&items=4

วิธีนั่งสมาธิโดยหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต พระปรมาจารย์ใหญ่
สายกรรมฐาน องค์ท่านเมตตาสอนว่า “การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก การบำรุงรักษาตนคือใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี ได้ใจแล้วคือได้ธรรม เห็นใจตนแล้วคือเห็นธรรม รู้ใจแล้วคือรู้ธรรมทั้งมวล ถึงใจตนแล้วคือถึงพระนิพพาน ใจนี่แลคือสมบัติอันล้นค่า จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมองข้ามไป คนพลาดใจ คือไม่สนใจปฏิบัติต่อใจดวงวิเศษในร่างนี้ แม้จะเกิดสักร้อยชาติพันชาติก็คือผู้เกิดผิดพลาดนั่นเอง”
การนั่งสมาธิภาวนา คือการทำจิตใจของตน
ให้ตั้งมั่น ชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส ทำใจ
ให้สงบสบาย หลวงปู่มั่น องค์ท่านกล่าวว่า “การภาวนา คือการอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผล อรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ไม่ให้จิตผาดโผนโลดเต้นแบบไม่มีฝั่งมีฝา ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้นความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผล อันจะเป็นทางแห่งความสงบสุขใจ ที่ยังมิได้รับการอบรมจากการภาวนา”

ก่อนอื่นที่เราจะนั่งสมาธิภาวนา ให้หาสถานที่อันเป็นมุมสงบ นั่งเข้าที่เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรงดำรงสติให้มั่น ไม่เอียงซ้ายนัก ไม่เอียงขวานัก ไม่ก้มนัก ไม่เงยนัก ทำตัวให้สบายๆ ดูท่าการประทับนั่งของพระพุทธรูปเป็นแบบอย่าง (หากไม่สะดวกที่จะนั่งอยู่ขัดสมาธิอยู่กับพื้น ก็ให้นั่งบนเก้าอี้หรืออะไรก็ได้ตามแต่สะดวก) เราเริ่มฝึกหัดนั่งใหม่ๆ อาจจะปวดแข้งเจ็บขาบ้างเป็นธรรมดา แต่ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ให้พยายามอดทนต่อสู้กับเวทนาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น หากสู้ไม่ไหวจริงๆ ให้สลับสับเปลี่ยนอิริยาบถ ออกไปเดินจรงกรมเพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด

เมื่อนั่งเข้าที่เรียบร้อยแล้ว ให้กล่าวคำอธิษฐานภาวนา เพื่อเป็นการบูชาคุณพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก ผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาคุณพระธรรม บูชาคุณพระสงฆ์ กล่าวตามดังนี้

“สาธุ ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนา บูชาคุณพระพุทธเจ้า บูชาคุณพระธรรม บูชาคุณพระสงฆ์ บูชาคุณบิดามารดา บูชาคุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณทั้งหลาย ขอจงเป็นพลวปัจจัยแด่พระนิพพานของข้าพเจ้า และขอให้ข้าพเจ้ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถรู้แจ้งถึงพระนิพพาน เอาชนะกิเลสความไม่ดีทั้งหลายที่อยู่ภายในใจได้ตลอดกาลนานเทอญ”
ภายหลังจากที่กล่าวคำอธิษฐานเสร็จ ให้กำหนดคำบริกรรมภาวนาพร้อมกับลมหายใจเข้าว่า “พุท ” หายใจออก “โธ ” หายใจเข้า “ธัม ” หายใจออก “โม ” หายใจเข้า “สัง” หายใจออก “โฆ ” และให้ระลึกคำบริกรรมภาวนา “พุทโธ ธัมโม สังโฆ ” ๓ หน แล้วให้ระลึกเอาคำบริกรรมภาวนาว่า “พุทโธ ” แต่เพียงคำเดียว โดยตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก ลมหายใจเข้า “พุท” ก็กำหนดรู้ ลมหายใจออก “โธ ” ก็กำหนดรู้ สติกำหนดอยู่กับคำบริกรรมภาวนา หากจิตคิดแส่สายไปทางอื่น ก็ดึงจิตกลับมาให้อยู่กับคำบริกรรมภาวนานั้น หากยังไม่ได้ผล ให้เร่งคำบริกรรมภาวนาเร็วๆ “พุทโธๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ”

ให้หมั่นกระทำบำเพ็ญอยู่เป็นประจำ การทำครั้งสองครั้งอยากจะให้จิตสงบก็เป็นไปได้ยาก หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านมักจะสอนลูกศิษย์ที่มานั่งสมาธิภาวนากับองค์ท่านเสมอว่า “เหมือนกะเราปลูกต้นไม้ เราต้องรักษาต้นรักษาโคนมัน ใส่ปุ๋ยรดน้ำ โคนมันดีต้นมันก็ต้องดี ดอกผลไม่มีใครบังคับมันเกิดเอง ต้นมันดีดอกผลมันดี อันนี้เอาอะไรเป็นต้น คือดวงใจเป็นต้น เมื่อใจเราดีแล้ว ทำอะไรก็ดี หาอะไรก็ดี เมื่อใจไม่ดีแล้ว นึกพุทโธ พุทโธ ตัดมันเสีย ”

คำบริกรรมภาวนานั้นจะใช้บทใดก็ได้ตามความชอบ บางท่านจะใช้กรรมฐานห้าเป็นคำบริกรรม คือ เกสา (ผม) โลมา (ขน) นะขา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตะโจ (หนัง) หรือระลึกมรณัสสติเป็นอารมณ์ คือ ตาย ตาย ตาย ฯลฯ

ที่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนให้ใช้คำบริกรรมภาวนาบทว่า “พุทโธ ” นั้น เพื่อต้องการให้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้ามาไว้ที่ใจ “ธัมโม ” น้อมเอาคุณของพระธรรมเจ้ามาไว้ที่ใจ “สังโฆ ” น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาไว้ที่ใจ ท่านถึงว่า “พระอยู่ที่ใจ ” คือมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในใจของเรานั่นเอง

เมื่อจะเลิกจากการนั่งสมาธิภาวนา ให้ยกมือประนมขึ้นระหว่างคิ้วตรงศีรษะครั้งหนึ่ง พร้อมกับกล่าวคำว่า “สาธุ ” ภายในใจ ต่อจากนั้นตั้งใจแผ่เมตตาให้กับตัวเอง ครั้นเมื่ออธิษฐานเสร็จ ก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้กระทำบำเพ็ญในครั้งนี้ ไปให้กับผู้มีอุปการะคุณ และสรรพสัตว์ทั้งหลาย กล่าวตามดังนี้

“ด้วยอานิสงส์ผลบุญที่เกิดจากการนั่งสมาธิภาวนา ข้าพเจ้าขอแผ่ส่วนบุญไปให้แก่บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้องทั้งหลาย มิตรสหายทั้งหลาย เทวาอารักษ์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม ยม ยักษ์ ครุฑ คนธรรภ์ กุมภัณฑ์ นาคทั้งหลาย รุกขเทวดา อากาศเทวดา ภุมเทวดา เปรต ผี อสุรกายทั้งหลาย สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิตอยู่และหามีชีวิตไม่ ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ อย่าได้มีเวรมีภัย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอยู่เป็นสุขเสมอเถิด ขอจงได้รับส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำบำเพ็ญในครั้งนี้ด้วยเทอญ..."

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน

อานุภาพของ พระคาถา"ชินบัญชร"

พ ร ะ ค า ถ า ชิ น บั ญ ช ร . . .

".....มนุษย์มีแต่ความกลัวทั้งนั้น ย่อมหาที่พึ่งเป็นธรรมดา พระคาถาชินบัญชรพระคาถานี้ที่ทิ้งไว้ให้ลูกหลาน เพื่อให้ปกป้องคุ้มครองภัย คือ กำจัดมารภายใน เมื่อภาวนามากๆแล้ว เลือดโยมก็จะบริสุทธิ์ นั้นเข้าถึงรสพระธรรมได้ง่าย เข้าถึงศีลได้ง่าย แม้จะอยู่ในองค์ภาวนาก็ดี สาธยายมนต์ก็ดี ย่อมกำจัดสิ่งที่เป็นอวิชชาหรืออัปมงคลทั้งหลาย

.....ดังนั้นผู้ใดจะสวดก็ดี ภาวนาในใจก็ดีย่อมเป็นมงคล ย่อมเกิดสมาธิ ย่อมเกิดญาณ ย่อมเกิดบารมี ดังนั้นคาถาบทใดจะไม่มีความศักดิ์สิทธิ์หรือขลังเลย ถ้ามนุษย์ผู้นั้นไม่มีศรัทธาในพระคาถา แต่ในพระคาถาย่อมมีความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ในตัวอยู่แล้ว ในอักขระคาถา...ดังนั้นถ้าโยมสวดด้วยความศรัทธาความเชื่อ นอบน้อมจิต ย่อมเข้าถึงในพระคาถาได้ง่าย

.....ดังนั้นทุกอย่างอยู่ที่ความเชื่อ ความศรัทธา เมื่อวาสนาโยมมาถึง จิตโยมถึง จิตวิญญาณแห่งพระคาถา ย่อมแล่นเข้าสู่ในกายสังขาร ในจิตธาตุของโยมได้ เมื่อทุกอย่างรวมตัวเป็นหนึ่ง มันก็หล่อหลอมเข้าไปสู่จิตใจ เกิดเป็นความจำหมั่นหมาย เกิดในสัญญาเข้าไปในสังขารโยม นี้ก็จะทำให้โยมนั้นมีความอบอุ่น มีที่พึ่ง เหมือนเป็นเสื้อเกราะเสื้อยันต์ชั้นดี จะไปปลุกศีลให้มันเกิดขึ้นมา ปลุกสมาธิ ปลุกญาณ ตัวปัญญาเกิดขึ้นมา แต่ไม่ได้พาไปนิพพานได้ เพียงแค่ปกป้องกันภัยให้โยม

.....บุคคลที่จะล่วงพ้นทุกข์หรือไปนิพพานนั้น บุคคลผู้นั้นต้องกำจัดรากเหง้าของอกุศลให้ได้....."

 

อานุภาพของ พระคาถา"ชินบัญชร"

พระคาถานี้มีอนุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดสวดมนต์หรือภาวนาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะ กิน เดิน นั่งนอน หรือภาวนาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือทำงาน จะมีอนุภาพดังนี้ คือ

 

1. หากสวดมนต์อย่างน้อยวันละ 3 จบ อานุภาพจะคุ้มครองผู้นั้นไป 1 วัน กับ 1 คืน

 

2. เวลานั่งรถ เรือ หรือขับขี่รถ หรือเดินทาง ให้นึกภาวนาไปในใจ จะทำให้คลาดแคล้ว ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวงได้ชงัดนักเคยพ้นมามากต่อมากแล้ว

 

3. ผู้สวดมนต์ พระคาถานี้เป็นประจำ จะเป็นเสน่ห์มงคลด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างใด ให้ภาวนาจะปลอดภัย แม้คนถูกกระทำของใส่คุณ หากเรารู้ตัวแล้วภาวนามิได้ขาด รับรองได้ว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้เลย อีกทั้งยังช่วยล้างอาถรรพ์สถานที่อัปมงคล ให้เกิดความเป็นมงคลได้

 

4. หากภาวนาประจำมิได้ขาดเลยเรามักมีอะไรพิเศษ เช่น วาจาศักดิ์สิทธิ์ พบเจอเรื่องอัศจรรย์ใจได้บ่อย อาจฝันรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า หากนอนแล้วภาวนาจนกระทั่งหลับ (ในใจ) คืนนั้นจะนอนหลับสบายเป็นพิเศษ ตื่นขึ้นมาจะมีความสุขปลอดโปร่งแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีกลางคืนจะมีอะไรดีๆ มาสอนเราด้วย

 

5. ผู้ที่มีอำนาจสมาธิจิตสูง สามารถจะภาวนาพระคาถานี้ ทำน้ำมนต์รักษาโรคบางชนิด ที่แพทย์ปัจจุบันรักษาไม่หายให้หายได้

 

6. ใครเจ็บไข้อยู่หากมีคนอื่น (แม้มิใช่ญาติ) บนบานกล่าวว่าจะสวดมนต์ให้ร้อยเที่ยว ห้าร้อยเที่ยว หรือหนึ่งพันเที่ยว ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขามักจะหายป่วยจริงๆ (เคยทดลองมาแล้วแม้คนต่างศาสนากัน) หากผู้เจ็บป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่หากภาวนาพระคาถานี้อยู่เรื่อยๆจะทำให้เขาหายป่วยเร็วขึ้น มากจนน่าแปลกใจ

 

7. ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ หากยามว่างให้ภาวนาพระคาถาบทนี้จะทำให้อาชีพดีขึ้น เช่น ค้าขายดีขึ้นแม้ปลูกพืช ปลูกผักผลผลิตจะดีขึ้นหรือรายได้ดีขึ้น เด็กๆ นักเรียนหากสวดมนต์บทนี้ได้และสวดประจำบ่อยๆ หรือทุกคืนก่อนนอน จะเรียนเก่ง จำดีอย่างแน่นอนรับรอง

 

8. ผู้สวดมนต์พระคาถาบทนี้เป็นประจำแล้ว ประกอบอาชีพสุจริตไปด้วย จะช่วยเร่งภพเร่งชาติทำให้ลดวิบากกรรมตัวเองให้เบาลงกว่าที่จะได้รับจริง หากกุศลส่งก็จะหนุนให้กุศลส่งแรงขึ้น หากใช้ไปนานชั่วชีวิตจะประสบสุขตามกุศลแน่นอน

 

9. เมื่อร่วมกันสวดอธิษฐานพร้อมๆ กันหลายคน หรือเวลาเดียวกัน จะมีอานุภาพบริสุทธิ์แผ่ออกไปกว้างไพศาลมากทำให้ผู้สวดก็ดี สถานที่บริเวณก็ดี รวมไปถึงประเทศชาติจะได้เจริญ และรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศ เราได้ ทำให้ประเทศเราเด่นดังในที่สุดได้

 

(อานุภาพของพระคาถายังมีอีกมาก หากทุกท่านหมั่นสวดมนต์ภาวนา ความเจริญ ความเมตตา หากินคล่องก็จะอยู่กับท่าน)

.

 
พระคาถาชินบัญชร 9 จบ ฉบับสมบูรณ์

ธรรมะมหัศจรรย์ ตอน...อานุภาพพระคาถาชินบัญชร

 

คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

 

ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา

 

อิติปิโสภะคะวา ยะมะ ราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

 

๑. ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

 

๒. ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.

 

๓. สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร.

 

๔. หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะวามะเก.

 

๕. ทักขิเณสะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก.

 

๖. เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว.

 

๗. กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก

โส มัยหัง วะทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร.

 

๘. ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ตีละกา มะมะ.

 

๙. เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

 

๑๐. ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง.

 

๑๑. ขันทะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา.

 

๑๒. ชินาณา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา

วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชณัตตุปัททะวา.

 

๑๓. อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

 

๑๔. ชินะปัญชะระมัชณัมหิ วิหะรันตัง มะฮีตะเล

สะทา ปาเลน ตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา.

 

๑๕. อิจเจวะมันโต สุคุโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ

 

 

พระคาถาชินบัญชร ( ความหมาย )

 

๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรส คืออริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

 

๒. มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

 

๓.ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

 

๔.พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

 

๕. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

 

๖. มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

 

๗. พระเถระกุมารกัสสปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

 

๘. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฎเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

 

๙. ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัยแต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

 

๑๐. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตร อยู่เบื้องหลัง

 

๑๑. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

 

๑๒. อนึ่งพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิดมีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

 

๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตะชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

 

๑๔. ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้นจงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

  

๑๕. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวง ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญ ฯ

เรื่องศพที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พาปฏิบัติ

ครั้งหนึ่ง มีเหตุเด็กผู้ชายป่วยไข้ตายลง ชื่อเด็กชาย นงค์ นามสกุล จันทะวงษา อายุประมาณ ๖ ขวบ เป็นไข้ตายอยู่ที่กระท่อมเถียงนา เพราะเป็นหน้ากำลังดำนากัน ตามปกติพ่อแม่ในชนบทบ้านนอกทางภาคอีสานสมัยนั้น เมื่อถึงหน้าฤดูทำนาก็ต้องหอบลูกจูงหลานไปนาด้วย แม้ลูกหลานจะป่วยไข้ แต่พอเอาไปได้ก็ต้องเอาไป เพื่อจะได้เยียวยารักษากันไป พร้อมกับทำนาไปด้วยเพื่อจะเร่งงานนาให้เสร็จทันกับฤดูกาล แต่วันนั้นบังเอิญเด็กมีไข้ขึ้นสูง เยียวยาไม่ทัน ในที่สุดก็ตาย ทำให้พ่อแม่พี่น้องมีความเศร้าโศกเสียใจมาก

เมื่อตายแล้วพ่อแม่ญาติพี่น้องต้องการจะให้นำศพเด็กเข้าไปทำบุญที่บ้าน แต่มาขัดข้องเรื่องของความคิดเห็นตามประเพณีโบราณว่า คนที่ตายในทุ่งในป่าห้ามไม่ให้เอาผ่านเข้าบ้าน โบราณท่านถือ และอีกอย่าง คนตายโหงหรือตายอย่างกะทันหัน เช่น ตายจากอุบัติเหตุ ผูกคอตาย ฆ่ากันตาย ยิงกันตาย เหล่านี้เป็นต้น โบราณท่านห้าม ไม่ให้หามผ่านเข้าบ้าน และห้ามเผา ให้ฝังครบสามปีแล้วจึงขุดเอากระดูกขึ้นมาเผาได้ เลยทำให้ชาวบ้านหนองผือสมัยนั้นถกเถียงกันไปถกเถียงกันมา ในที่สุดญาติโยมจึงนำปัญหานี้ไปปรึกษาสอบถามกับท่านพระอาจารย์มั่น

ท่านได้แก้ความสงสัยนี้ให้แก่ญาติโยมบ้านหนองผือ ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่า

“พวกหมูป่า อีเก้งกวาง ที่ยิงตายในกลางป่ายังเอามาเข้าบ้านเรือนได้ นี่มันคนตายแท้ๆ ทำไมจะเอาเข้าบ้านเข้าเรือนไม่ได้”

ดังนั้น ญาติโยมชาวบ้านจึงนิ่งเงียบไป ทำให้หูตาสว่างขึ้นมา สุดท้ายก็นำเอาศพเด็กชายคนนำเข้าไปทำบุญที่บ้าน และเผาเหมือนกันกับศพของคนตายตามปกติธรรมดาทุกอย่าง ภายหลังต่อมาชาวบ้านหนองผือจึงไม่ค่อยถือในเรื่องนี้เป็นสำคัญ คนตายทุกประเภทจึงทำเหมือนกันหมด

สมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่นพำนักอยู่สำนักวัดป่าบ้านหนองผือช่วงระยะ ๕ พรรษานั้น มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น คือมีพระที่จำพรรษาอยู่ด้วยท่านมรณภาพลง ๒ รูป คือ พระอาจารย์สอ กับ พระอาจารย์เนียม แต่มรณภาพลงคนละเดือน โดยเฉพาะพระอาจารย์เนียมมรณภาพเมื่อตอนเช้าด้วยอาการสงบ ท่านพระอาจารย์มั่นก็ทราบเรื่องทุกอย่าง พอตอนเช้า ท่านพระอาจารย์มั่นก็พาพระเณรไปบิณฑบาตภายในหมู่บ้านตามปกติ ในขณะที่ท่านกำลังบิณฑบาตอยู่นั้น ท่านพูดขึ้นเป็นสำเนียงอีสานว่า

“ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ พ่อออกแม่ออก ท่านเนียมฮู้แล้วน้อ”

ท่านพูดอย่างนั้นไปเรื่อย ๆ กับกลุ่มญาติโยมที่รอใส่บาตรทุกกลุ่ม จนสุดสายบิณฑบาต คำพูดของท่านนั้นหมายความว่า พระอาจารย์เนียมอยู่กับที่แล้ว ไม่กระดุกกระดิกแล้ว หรือตายแล้ว ซึ่งญาติโยมตอนนั้นบางคนก็เข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจความหมาย ภายหลังจึงเข้าใจชัดว่าพระอาจารย์เนียมมรณภาพแล้วเมื่อเช้านี้

เมื่อญาติโยมทั้งหลายได้ทราบอย่างนั้นแล้วจึงบอกต่อ ๆ กันไป แล้วพากันเตรียมตัวไปที่วัดในเช้าวันนั้น

สำหรับท่านพระอาจารย์มั่นพร้อมทั้งพระเณรบิณฑบาตเสร็จแล้วกลับถึงวัด ล้างเท้าขึ้นบนศาลาหอฉัน วางบาตรบนเชิงบาตร ลดผ้าห่ม คลี่ผ้าสังฆาฏิที่ซ้อนออก ห่มเฉพาะจีวรเฉวียงบ่าเรียบร้อยแล้วพับเก็บผ้าสังฆาฏิ จึงเข้าประจำที่ฉัน เตรียมจัดแจกอาหารลงบาตร เพราะมีโยมตามส่งอาหารที่วัดด้วย เสร็จแล้วอนุโมทนายถาสัพพีตามปกติ จึงพร้อมกันลงมือฉัน

ฝ่ายพวกชาวบ้านญาติโยมภายในหมู่บ้านที่จะมาวัดในเช้าวันนั้น ก็กำลังบอกกล่าวป่าวร้องให้ผู้คนประชาชนไปที่วัด เพื่อจะได้จัดเตรียมเอาเครื่องใช้ไม้สอยและอุปกรณ์จำเป็นในการที่จะทำงานฌาปนกิจศพตามประเพณี ทั้งคนเฒ่าคนแก่ หนุ่ม ๆ แข็งแรงก็ให้ไปด้วย ผู้มีมีดพร้า ขวานจอบ เสียม ก็ให้เอาไปด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้ไปปราบพื้นที่ที่จะทำเป็นที่เผาศพชั่วคราว สำหรับพวกที่มีพร้ามีขวานให้ไปตัดไม้ที่มีขนาดให้หน่อย ยาวประมาณ ๒ วากว่า ๆ มาทำเป็นไม้ข่มเหง (ไม้ข่มเหง สำหรับพาดข้างหีบศพบนเชิงตะกอนเพื่อกันไม่ให้ศพตกจากเชิงตะกอนว่าไม้ข่มเหง) หรือไม้ข่มหีบศพที่อยู่บนกองฟอนไม่ให้ตกลงมาจากกองฟอนขณะไฟกำลังลุกไหม้อยู่

ส่วนคนเฒ่าคนแก่รู้หลักในการที่จะทำเกี่ยวกับศพ ก็เตรียมฝ้ายพื้นบ้านพร้อมด้ายสายสิญจน์เพื่อนำไปมัดตราสัง ภูไท (ชื่อชนกลุ่มหนึ่งของจังหวัดสกลนครที่อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีนิสัยรักสงบ อยู่กันเป็นกลุ่มตามเชิงเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ ผิวขาวเหลือง มีภาษาพูดเฉพาะ เข่น ชาวบ้านหนองผือ เป็นต้น) เรียกว่า มัดสามย่าน (คือห่อศพด้วยเสื่อแล้วมัดเป็นสามเปลาะ โดยมัดตรงคอ ตรงกลางและตรงข้อเท้า) นอกจากนั้นก็มีธูปเทียน ดอกไม้ กะบองขี้ไต้ น้ำมันก๊าด พร้อมทั้งหม้อดินสำหรับใส่กระดูกหลังจากเผาเสร็จ เป็นต้น

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่นนั้น เมื่อฉันจังหันเสร็จและทำสรีรกิจส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว ได้ลุกจากอาสนะที่นั่ง เดินลงจากศาลาหอฉันไปที่กุฏิศพพระอาจารย์เนียม พระเณรทั้งหลายก็ติดตามท่านไปด้วย ไปถึงท่านก็สั่งการต่างๆ ตามที่ท่านคิดไว้แล้ว คือคล้าย ๆ กับว่าท่านจะเอาศพของพระอาจารย์เนียมเป็นเครื่องสอนคนรุ่นหลัง หรือทอดสะพานให้คนรุ่นหลัง ๆ ทั้งพระเณร พร้อมทั้งญาติโยมชาวบ้านหนองผือเอาเป็นคติตัวอย่าง

ท่านจึงไปยืนทางด้านบนศีรษะของศพแล้วก้มลงใช้มือทั้งสองจับมุมเสื่อทั้งสองข้างของศพ ทำท่าทางจะยกศพขึ้นอย่างขึงขังจริงจัง พระเณรทั้งหลายเห็นกิริยาอาการของท่านอย่างนั้นแล้ว จึงเข้าใจความหมายว่าท่านต้องการจะให้ยกศพหามไปที่กองฟอนเดี๋ยวนั้น โดยไม่ต้องตกแต่งศพหรือทำโลงใส่เลย

ดังนั้น พระเณรทั้งหลายจึงพากันกรูเข้าไปช่วยยกศพนั้นจากมือท่าน หามไปที่กองฟอนซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัด เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเห็นว่าพระเณรทั้งหลายเข้าช่วยหามมากแล้ว ท่านจึงปล่อยให้พระจัดการหามกันเอง ท่านเพียงแต่คอยสั่งการตามหลังเท่านั้น แล้วท่านก็เดินตามหลังขบวนหามศพนั้นไป ในตอนนี้พวกญาติโยมชาวบ้านกำลังทยอยเข้ามาที่บริเวณวัด

ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นกำลังเดินไปอยู่นั้น ได้มีโยมผู้ชายคนหนึ่งเดินถือฝ้ายพื้นบ้านเข้ามาหาท่าน ท่านเห็นจึงหยุดเดินและถามขึ้นว่า

“พ่อออก ฝ้ายนั่นเอามาเฮ็ดอีหยัง..? ” (หมายความว่าโยมจะเอาฝ้ายนั้นมาทำอะไร)

โยมนั้นก็ตอบท่านว่า “เอามามัดสามย่านแหล่วข้าน้อย” (มัดตราสัง)

ท่านพูดขึ้นทันทีว่า “ผูกมัดมันเฮ็ดอีหยัง มันสิดิ้นรนไปไส มันฮู้พอแฮงแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้อย่างอื่นสิยังมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ่มซะซือ”

(หมายความว่า ผูกมัดทำไม ศพมันจะดิ้นไปไหนเพราะตายแล้ว ให้เก็บฝ้ายนั้นไว้ใช้อย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าเอามาเผาไฟทิ้งเสียเปล่าๆ)

โยมคนนั้นก็เลยหมดท่า พูดจาอะไรไม่ออก เก็บฝ้ายนั้นแล้วเดินตามหลังท่านพระอาจารย์มั่นเข้าไปยังที่ที่เผาศพพระอาจารย์เนียม

เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปถึงที่เผาศพแล้ว มีโยมหนุ่ม ๆ แข็งแรงกำลังแบกหามท่อนไม้ใหญ่พอประมาณ ยาว ๒ วากว่าๆ (ทางนี้เรียกว่าไม้ข่มเหง) มาที่กองฟอน ท่านพระอาจารย์มั่นเหลือบไปเห็นจึงพูดขึ้นทันทีว่า

“แบกมาเฮ็ดหยังไม้นั่น... ? ” (หมายความว่า แบกมาทำไมไม้ท่อนนั้น)

พวกโยมก็ตอบท่านว่า “มาข่มเหงแหล่วข้าน้อย” (หมายความว่า เอาไม้นั้นมาข่มศพบนกองฟอนเพื่อไมให้ศพตกออกจากกองไฟ)

ท่านจึงพูดขึ้นอีกว่า “สิข่มเหงมันเฮ็ดหยังอีก ตายพอแฮงแล้ว ย่านมันดิ้นหนีไปไส” (หมายความว่า จะไปข่มเหงทำไมอีกเพราะตายแล้ว กลัวศพจะดิ้นหนีไปไหน)

พวกโยมได้ฟังเช่นนั้นก็เลยวางท่อนไม้เหล่านั้นทิ้งไว้ที่พุ่มไม้ข้าง ๆ นั้นเอง แล้วมานั่งลงคอยสังเกตการณ์ต่อไป

ก่อนเผานั้น ท่านพระอาจารย์มั่นสั่งให้พลิกศพตะแคงขวา แล้วตรวจตราดูบริขารในศพโดยที่ไม่ได้ตบแต่งศพแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงมีจีวรของศพปกปิดอยู่เท่านั้น แล้วท่านก็เหลือบไปเห็นสายรัดประคดเอวของศพ จึงดึงออกมาโยนไปให้พระที่อยู่ใกล้ ๆ พร้อมกับพูดว่า

“นี่ประคดไหม ใครไม่มีก็เอาไปใช้เสีย”

แล้วท่านก็พาพระเณรสวดมาติกาบังสุกุล จนจบลง แล้วจึงให้ตาปะขาวจุดไฟใส่กระบองแล้วยื่นให้ท่าน เมื่อท่านรับแล้วพิจารณาครู่หนึ่งจึงไปวางไฟลงใต้ฟืนในกองฟอน ไม่นานไฟก็ติดลุกไหม้ขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นเปลวโพลงสูงขึ้น สูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็วในที่สุดไฟเริ่มใหม่ทั้งฟืนทั้งศพ ทำให้ศพที่ถูกไฟไหม้อยู่นั้นมีน้ำมันหยดหยาดย้อยถูกเปลวไฟเป็นประกายวูบวาบพร้อมกับเสียงดังพรึบ ๆ พรั่บ ๆ ไปทั่ว จนที่สุดคงเหลือแต่เถ้าถ่านกับกองกระดูกเท่านั้น เอง

ส่วนท่านพระอาจารย์มั่น เมื่อเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจังหันหน้าเดินออกมาข้างนอก ปล่อยให้ญาติโยมดูแลเอง ในขณะที่ท่านกำลังเดินออกมา ท่านเหลือบไปเห็นโยมผู้ชายคนหนึ่งถือหม้อดินใหญ่ขนาดกลางกำลังเดินเข้ามาหาท่าน ท่านจึงถามโยมคนนั้นทันทีว่า

“พ่อออก เอาหม้อนั้นมาเฮ็ดหยัง” (หมายความว่า โยมเอาหม้อดินนั้นมาทำอะไร)

โยมคนนั้นตอบท่านว่า “เอามาใส่กระดูกแหล่วข้าน้อย” (หมายความว่า เอามาใส่กระดูกขอรับ)

ท่านจึงชี้นิ้วลงบนพื้นดินพร้อมกับถามโยมคนนั้นว่า “อันนี้แม่นหยัง” (หมายความว่า อันนี้คืออะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดินขอรับ”

ท่านจึงชี้นิ้วไปที่หม้อดินที่โยมถืออยู่พร้อมกับถามอีกว่า “นั่นเด้..เขาเอาอีหยังเฮ็ด” (หมายความว่า นั้นเขาทำด้วยอะไร)

โยมตอบท่านว่า “ดิน ข้าน้อย”

ท่านจึงสรุปลงพร้อมกับชี้นิ้วทำท่าทางให้ดูว่า “นั่นก็ดิน นี่ก็ดิน ขุดลงนี้แล้วจึงกวาด..ลงนี่ มันสิบ่ดีกว่าหรือ” (หมายความว่าหม้อใบนั้นก็ทำด้วยดิน ตรงพื้นนี้ก็ดิน ขุดเป็นหลุมแล้วให้กวาดกระดูกและเถ้าถ่านต่าง ๆ ลงด้วยกันจะไม่ดีกว่าหรือ) ท่านจึงบอกให้โยมนั้นเอาหม้อไปเก็บไว้ใช้ โดยบอกว่า

“ให้เอาหม้อใบนั้นไปใช้ต้มแกงอย่างอื่นยังจะมีประโยชน์กว่าที่จะเอามาใส่กระดูก”

เมื่อโยมได้ฟังเช่นนั้น จึงนำหม้อดินไปเก็บไว้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นต่อไป....

คัดลอกปกิณกธรรมจากหนังสือ "บูรพาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร" โดย ท่านพระอาจารย์พยุง ชวนปัญโญ

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาบุญท่านเจ้าของผู้ถ่ายภาพนี้ พร้อมทั้งผู้ที่มีส่วนร่วมในการเผยแผ่โอวาทธรรมนี้ ทุกๆท่าน