วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

หลักธรรมในวันอาสาฬหบูชา

เนื่องด้วย วันอาสาฬหบูชา มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงขึ้นในโลก และได้ทรงแสดงเป็นครั้งแรกในวันอาสาฬหบูชานี้ หลักธรรมสำคัญในพระสูตรบทนี้จึงเป็นธรรมะสำคัญที่พุทธศาสนิกชนควรนำไปพิจารณาและทำความเข้าใจ และอาจจะเรียกได้ว่าหลักธรรมในพระสูตรดังกล่าวเป็นหลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา[45] ซึ่งเนื้อหาในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มี 3 ตอน ดังนี้

สิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง[แก้]

ส่วนแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และ อัตตกิลมถานุโยค กล่าวคือทรงแสดงสิ่งที่ไม่ควรเสพสองอย่าง อันได้แก่ การปฏิบัติตนย่อหย่อนสบายกายเกินไป (กามสุขัลลิกานุโยค) และการปฏิบัติตนจนทรมานกายเกินไป (อัตตกิลมถานุโยค) คือทรงแสดงการปฏิเสธลักษณะของลัทธิทั้งปวงที่มีในสมัยนั้นดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
  • การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1
  • การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1"
— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย

ศาสดา
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
พระรัตนตรัย
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม(เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก· พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรม
ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8· ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38
นิกาย
เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ

การที่พระพุทธองค์ตรัสปฏิเสธแนวทางสองอย่างดังกล่าวมาในขณะเริ่มปฐมเทศนา เพื่อแสดงให้รู้ว่า พระพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้พ้นจากทุกข์ด้วยการแก้ปัญหานอกกายคือ หนีความทุกข์ด้วยการมัวแต่แสวงหาความสุข (หนีความทุกข์อย่างไม่ยั่งยืน เพราะต้องแสวงหามาปรนเปรอตัณหาไม่สิ้นสุด) หรือหาทางพ้นทุกข์ด้วยการกระทำตนให้ลำบาก (สู้หรืออยู่กับความทุกข์อย่างโง่เขลา ขาดปัญญา ทำตนให้ลำบากโดยใช่เหตุ) เพื่อที่จะทรงขับเน้นหลักการที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงต่อไปว่า มีความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากแนวคิดพ้นทุกข์เดิม ๆ ซึ่ง เป็นการประกาศแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก อันได้แก่การแก้ทุกข์ที่ตัวต้นเหตุ คือ แก้ที่ภายในใจของเราเอง คือ มัชฌิมาปฏิปทาของพระพุทธองค์

มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง)[แก้]

หลักธรรมในพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร มีจุดเด่นคือเน้นทางสายกลาง ให้มนุษย์มองโลกตามความเป็นจริง (แก้ทุกข์ที่ใจ) เพื่อพบกับความสุขที่ยั่งยืนกว่า
สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในปฐมเทศนาต่อมาคือ มัชฌิมาปฏิปทา คือ หลังจากทรงกล่าวปฏิเสธแนวทางพ้นทุกข์แบบเดิม ๆ แล้ว ได้ทรงแสดงเสนอแนวทางพ้นทุกข์ใหม่แก่โลก คือ มัชฌิมาปฏิปทา หรือ ทางสายกลาง คือ การปฏิบัติที่ไม่สุดตึงด้านใดด้านหนึ่ง อันได้แก่การดำเนินตามมรรคมีองค์ 8 ซึ่งควรพิจารณาจากข้อความจากพระโอษฐ์โดยตรง ดังนี้
"ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อริยสัจสี่[แก้]

สุดท้ายทรงแสดงสิ่งที่ทำให้พระองค์ตรัสรู้ คือทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ และ "กิจ" ที่ควรทำในอริยสัจ 4 ประการ เพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ โดยแก้ที่สาเหตุของทุกข์ กล่าวคือ ทุกข์ ควรรู้ สมุทัย ควรละ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ลงมือปฏิบัติ
โดยข้อแรกคือ ทุกข์ ในอริยสัจทั้งสี่ข้อนั้น ทรงกล่าวถึงสิ่งเป็นความทุกข์ทั้งปวงในโลกไว้ดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ ก็เป็นทุกข์ ความตาย ก็เป็นทุกข์ การเจอสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"
— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่าการ ยึดถือ ในสิ่งทั้งปวงนั่นเองเป็น "สาเหตุแห่งความทุกข์" คือ
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ "ตัณหา" อันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา."
— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่าทุกข์สามารถดับไปได้ โดยการ ดับที่ตัวสาเหตุแห่งทุกข์ คือ ไม่ยึดถือว่ามีความทุกข์ หรือเราเป็นทุกข์ กล่าวคือ สละถอนเสียซึ่งการถือว่ามีตัวตน อันเป็นที่ตั้งของความทุกข์ (เมื่อไม่มีการยึดมั่นถือมั่นในใจว่าตนนั้นมี "ตัวตน" ที่เป็นที่ตั้งของความทุกข์ ทุกข์ย่อมไม่มีที่ยึด จึงไม่มีความทุกข์[46]) ดังนี้
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือด้วยมรรคคือ "หมดราคะ" "สละ" "สละคืน" "ปล่อยไป" "ไม่พัวพัน"."
— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงผลของการปฏิบัติกิจในศาสนาแล้ว จึงได้ตรัสแสดงมรรค คือวิธีปฏิบัติตามทางสายกลางตามลำดับ 8 ขั้น เพื่อหลุดพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง คือ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้แหละ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 เจรจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1พยายามชอบ 1 ระลึกชอบ 1 ตั้งจิตชอบ 1
— พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
โดยสรุป พระพุทธองค์ตรัสเรียงวิธีแก้ทุกข์ โดยแสดงให้เห็นปัญหา (ทุกข์) สาเหตุของปัญหา (สมุทัย) และจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหาคือการดับทุกข์ (นิโรธ) โดยทรงแสดงวิธีปฏิบัติ (มรรค) ไว้ท้ายสุด เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ทราบจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติก่อน เพื่อการเข้าใจไม่ผิด และจะได้ปฏิบัติโดยมุ่งไปยังจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้โดยไม่คลาดเคลื่อน

การประกอบพิธีอาสาฬหบูชาในประเทศไทย[แก้]

การกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย[แก้]

พระพิมลธรรม (ชอบ อนุจารี) ผู้เสนอให้มีการจัดงานวันอาสาฬหบูชาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
วันอาสาฬหบูชาได้รับการกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2501 โดยคณะสังฆมนตรี (มหาเถรสมาคม) ในสมัยนั้น ได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา (ในประเทศไทย) ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) [4] โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้น เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[5]
ไม่ปรากฏหลักฐานในประเทศไทยว่าในสมัยก่อน พ.ศ. 2501 เคยมีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชามาก่อน ทำให้การกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของสำนักสังฆนายกในครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดแบบแผนการประกอบพิธีนี้อย่างเป็นทางการ โดยหลังจากปี พ.ศ. 2501 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มมีการรณรงค์ให้มีการประกอบพิธีอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ร่วมใจกันประกอบพิธีนี้กันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายไปทุกจังหวัด จนกลายเป็นพิธีสำคัญของพุทธศาสนิกชนไทยตั้งแต่นั้นมา ดังนั้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2505 คณะรัฐมนตรีนำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จึงได้ลงมติให้ประกาศกำหนดเพิ่มให้วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีไม่มีอธิกมาส) และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หลัง (ในปีมีอธิกมาส) เป็นวันหยุดราชการประจำปีอีก 1 วัน[1] เพื่อเป็นการให้ความสำคัญกับวันสำคัญยิ่งของชาวพุทธนี้และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนที่จะไปประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยอีกประการหนึ่ง

วันอาสาฬหบูชาในปฏิทินสุริยคติไทย[แก้]

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป[47]
ปีวันที่วันที่วันที่
ปีชวด29 กรกฎาคม พ.ศ. 253917 กรกฎาคม พ.ศ. 25514 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู19 กรกฎาคม พ.ศ. 25407 กรกฎาคม พ.ศ. 255223 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ปีขาล8 กรกฎาคม พ.ศ. 254126 กรกฎาคม พ.ศ. 255312 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ปีเถาะ27 กรกฎาคม พ.ศ. 254215 กรกฎาคม พ.ศ. 25541 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง16 กรกฎาคม พ.ศ. 25432 สิงหาคม พ.ศ. 255520 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง5 กรกฎาคม พ.ศ. 254422 กรกฎาคม พ.ศ. 255610 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย24 กรกฎาคม พ.ศ. 254511 กรกฎาคม พ.ศ. 255729 มิถุนายน พ.ศ. 2569
ปีมะแม13 กรกฎาคม พ.ศ. 254630 กรกฎาคม พ.ศ. 255818 กรกฎาคม พ.ศ. 2570
ปีวอก31 กรกฎาคม พ.ศ. 254719 กรกฎาคม พ.ศ. 25596 กรกฎาคม พ.ศ. 2571
ปีระกา21 กรกฎาคม พ.ศ. 25488 กรกฎาคม พ.ศ. 256025 มิถุนายน พ.ศ. 2572
ปีจอ10 กรกฎาคม พ.ศ. 254927 กรกฎาคม พ.ศ. 256115 กรกฎาคม พ.ศ. 2573
ปีกุน29 กรกฎาคม พ.ศ. 255016 กรกฎาคม พ.ศ. 25623 กรกฎาคม พ.ศ. 2574

การประกอบพิธีทางศาสนาในวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย[แก้]

พระราชพิธี[แก้]

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดชทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
การพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวันอาสาฬหบูชานี้มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา[48] ซึ่งเดิมก่อน พ.ศ. 2501เรียกเพียง การพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา[49] แต่หลังจากมีการกำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. 2501 แล้ว[5] สำนักพระราชวังจึงได้กำหนดเพิ่มวันอาสาฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมา[50] การพระราชพิธีนี้โดยปกติมี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นองค์ประธานในการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล[51] และบางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทน[52] โดยสถานที่ประกอบพระราชพิธีหลักจะจัดในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดบวรนิเวศวิหารและภายในพระบรมมหาราชวัง การสำคัญของพระราชพิธีคือการถวายพุ่มเทียนเครื่องบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมทั้งการพระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ซึ่งรับอาราธนามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวังจำนวน 150 รูป ทุกปี[53] เป็นต้น ซึ่งการพระราชพิธีนี้เป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ขององค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

พิธีสามัญ[แก้]

ชาวพุทธนิยมเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา เพื่อเป็นการปฏิบัติภาวนารำลึกถึงคุณที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมที่ตรัสรู้แก่ชาวโลกเป็นครั้งแรกในวันนี้
การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาของประชาชนทั่วไปนี้ พุทธศาสนิกชนชาวไทยโดยทั่วไปนิยมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่าง ๆ ภายในวัด เพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาในวัน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
โดยแนวปฏิบัติในการประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาตามประกาศสำนักสังฆนายก[5] ที่คณะสงฆ์ไทยได้ถือเป็นแบบแผนมาจนถึงปัจจุบันนี้คือ ให้คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจัดเตรียมสถานที่ก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา โดยมีการทำความสะอาดวัด และเสนาสนะต่าง ๆ จัดตั้งเครื่องพุทธบูชา ประดับธงธรรมจักรและเมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก็ให้จัดการแสดงพระธรรมเทศนาตลอดทั้งวัน เมื่อถึงเวลาค่ำให้มีการทำวัตรสวดมนต์และสวดบทพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร มีการแสดงพระธรรมเทศนาในเนื้อหาเรื่องในพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร นำสวดบทสรภัญญะบูชาคุณพระรัตนตรัย และให้พระสงฆ์นำเวียนเทียนบูชาพระพุทธปฏิมา อุโบสถ หรือสถูปเจดีย์ เมื่อเสร็จการเวียนเทียนอาจให้มีการเจริญจิตตภาวนา สนทนาธรรม แต่กิจกรรมทั้งหมดนี้ควรให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 24.00 น. ของวันนั้น เพื่อพักผ่อนเตรียมตัวก่อนเริ่มกิจกรรมวันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) ในวันรุ่งขึ้นต่อไป
การประกอบพิธีวันอาสาฬหบูชาในปัจจุบันนี้นอกจากการเวียนเทียน ทำบุญตักบาตรฯ ในวันสำคัญแล้ว ยังมีหน่วยงานภาครัฐ องค์กรทางศาสนา และภาคประชาชน ร่วมกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นมากมาย เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและประชาสัมพันธ์กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่น กิจกรรมสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชา เป็นต้น

การจัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึกวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย[แก้]

นอกจากภาครัฐจะประกาศให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการและให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในวันอาสาฬหบูชาแล้ว ยังได้เคยมีการจัดพิมพ์จำหน่ายตราไปรษณียกรที่ระลึกในวันอาสาฬหบูชาอีกด้วย โดยจะให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันเริ่มจำหน่ายตราไปรษณียกร ซึ่งรูปแบบที่จัดพิมพ์ลงในตราไปรษณียกรที่ระลึกวันอาสาฬหบูชานั้น ส่วนใหญ่จะจัดพิมพ์เป็นรูปพระพุทธประวัติ[54]หรือพระพุทธรูป[55][56] มีบ้างที่จัดพิมพ์เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องชาดก[57]
โดยตราไปรษณียากรชุดวันอาสาฬหบูชานี้ รัฐบาลไทยได้เริ่มจัดพิมพ์เพื่อเป็นที่ระลึกและร่วมเฉลิมฉลองในฐานะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537[55] แต่ไม่ได้มีการจัดพิมพ์ออกจำหน่ายทุกปีดังเช่นวันวิสาขบูชา[58][59] และปรากฏว่าภาพที่นำมาตีพิมพ์ส่วนใหญ่ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับวันอาสาฬหบูชาแต่อย่างใด เช่น ตีพิมพ์เป็นภาพพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร นิทานมโหสถชาดก เป็นต้น โดยปรากฏภาพที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวันอาสาฬหบูชาในไปรษณียากรที่ออกจำหน่ายเนื่องในโอกาสอื่นแทน เช่น วันเด็กแห่งชาติ[60]เป็นต้น
ตราไปรษณียากรที่ตีพิมพ์ภาพที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับวันอาสาฬหบูชาเท่าที่ปรากฏในประเทศไทย คือตราไปรษณียากรที่ระลึกชุดวันเด็กแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2539 โดยในครั้งนั้นตีพิมพ์เป็น 1 ราคา มี 3 แบบ ด้วยกัน โดยแต่ละแบบเป็นรูปภาพเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาในประเทศไทย คือ ภาพวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา ซึ่งภาพที่ตีพิมพ์รูปภาพวันอาสาฬหบูชาในครั้งนั้น เป็นตราไปรษณียากรราคาจำหน่าย 2 บาท เป็นรูปวาดผลงานของเด็กนักเรียนที่ชนะการประกวด โดยเป็นรูปวาดพระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี มีรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ด้านซ้ายของรูปบนพระแท่นดอกบัวใต้ร่มไม้ใหญ่ ข้าง ๆ มีรูปกวางแสดงถึงสวนป่าสารนาถตามตำนานป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ด้านขวาล่างมีรูปฤๅษีเบญจวัคคีย์ในชุดฤๅษี 4 ท่าน และรูปพระโกณฑัญญะในชุดพระสงฆ์ 1 องค์ นั่งพนมมือสดับพระปฐมเทศนา แสดงถึงการอุบัติของพระสงฆ์องค์แรกในโลกครบเป็นองค์พระรัตนตรัย ด้านบนกลางภาพเป็นรูปพระธรรมจักรเปล่งรัศมี แสดงถึงการเริ่มประกาศพระสัจจธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขอบด้านซ้ายมีคำว่า "วันเด็กแห่งชาติ ๒๕๓๙ CHILDREN'S DAT 1996" มุมขวาล่างมีคำว่า "2 บาท BAHT" ทั้งหมดพิมพ์เป็นชนิดราคา 2 บาท มีราคาเดียวเท่านั้น ซึ่งกล่าวได้ว่าแม้ตราไปรษณียากรดังกล่าวจะไม่ใช่ตราไปรษณียากรที่ตีพิมพ์เนื่องในวันอาสาฬหบูชาโดยตรง แต่ก็เป็นตราไปรษณียากรไทยรูปแบบเดียวที่ตีพิมพ์ภาพที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับวันอาสาฬหบูชามากที่สุดเท่าที่ปรากฏในปัจจุบัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น