วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

5 กรรมหนักที่ต้องห้าม ถึงอนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม ๕
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน

กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพานตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด

มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต ได้แก่การฆ่ามารดา ฆ่าบิดาฆ่าพระอรหันต์ ด้วยเจตนา คือจงใจฆ่า แม้สำคัญผิดคิดว่าเป็นคนอื่นสัตว์อื่น ก็ไม่พ้นโทษอันชื่อว่า อนันตริยกรรม เพราะมีเจตนา จึงเป็นการฆ่าที่สมบูรณ์

โลหิตุปบาท ได้แก่ทำร้าย คือพยายามฆ่าพระพุทธเจ้า แต่ฆ่าไม่สำเร็จ เพียงแต่ทำให้บาดเจ็บ แม้เพียงพระโลหิตห้อ (โป่ง นูนช้ำเลือด) ขึ้น

สังฆเภท ได้แก่ยังสงฆ์ให้แตกกัน คือทำลายพระสงฆ์ผู้พร้อม-เพรียงกัน ในสีมาเดียวกัน ในวัดใดวัดหนึ่ง ให้แตกเป็นก๊ก จนถึงไม่ร่วมอุโบสถสังฆกรรม ต้องแยกออกทำอุโบสถสังฆกรรม หรือปวารณา-กรรม หรือสังฆกรรมอื่นๆ เป็น ๒ หมู่

กรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ แต่ละอย่างๆ จัดเป็นบาปอันหนักที่สุดเพราะมาดา บิดา เป็นผู้มีพระคุณต่อบุตรมากที่สุด บุตรใดฆ่ามารดาบิดาผู้บังเกิดเกล้าของตนได้ ก็นับว่าเป็นคนเลวคนชั่วที่สุด เขาย่อมฆ่าคนอื่นๆ ได้แน่นอน พระอรหันต์ เป็นผู้หมดจดจากกิเลส เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างยิ่ง เป็นนาบุญสูงสุดของชาวโลก ผู้ใดฆ่าพระอรหันต์ได้ก็นับว่าเป็นคนเลวคนชั่วที่สุด เขาย่อมฆ่าคนอื่นที่ยังมีกิเลสได้อย่างแน่นอน
กรรมเหล่านี้ ชื่อว่า “อนันตริยกรรม” แปลว่า กรรมที่ไม่มีระหว่าง คือผู้ใดทำเข้าแล้ว แม้จะทำกรรมดีต่างๆ ลบล้าง ก็ไม่อาจลบล้างได้ ผู้นั้นตายลง คงได้รับผลของกรรมนี้ทันที ไม่มีผลของกรรมอื่นมาคั่นในระหว่างตัวอย่างเช่น พระเจ้าอชาตศัตรู ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระชนก ภายหลังทรงสำนึกผิด จึงทรงสร้างกรรมดีเป็นอันมาก ทรงเป็นศาสนูปถัมภก ในคราวปฐมสังคายนา ซึ่งนับว่ามีอุปการคุณต่อพระศาสนาเป็นอย่างยิ่ง สมควรจะได้เป็นพระอริยะแต่ก็ไม่ได้เป็น พอสิ้นพระชนม์ก็ต้องตกนรกทันที ผลของกรรมดีนั้น
ช่วยให้พ้นจากขุมนรกที่จะต้องตกเพราะปิตุฆาตได้เพียงชั้น ๑ เท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลจาก www.ธรรมศึกษา.com / palungjit

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น