วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

#เหตุที่ลูกลิง..#ต้องขอขมาพระรัตนตรัยทุกวัน!


🔱เรื่องเล่า…บทสนทนาระหว่าง “ท่านย่า” สุชาดา(คู่บารมีท่านปู่พระอินทร์) กับ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี)

😇 #ท่านย่า‬: “เวลาขึ้นไปข้างบนนะพระคุณเจ้า ลูกพระคุณเจ้าทั้งหลายไม่ได้ดูตาม้าตาเรือเขาหรอก บางทีเขานั่งคุยกัน เดินผ่ากลางเข้าไป แหวกเข้าไปนั่งตรงกลาง องค์อื่นเขาก็ชี้ นั่นไงญาติคุณ ฉันก็นั่งอยู่ด้วยไม่รู้จะพูดยังไง ฉันละอาย‬‬‬

🙏 #หลวงพ่อ‬: “เทวดาไม่มีมรรยาท เห็นคนขึ้นไปไม่หลีก” (หลวงพ่อแก้แทนลูกๆ) “ก็ไปหาย่า หาปู่ ไม่ได้ไปหาคนอื่น”‬‬‬

หลานไม่ยอมแพ้ “ความจริงท่านย่าน่าจะภูมิใจว่า ลูกหลานมีฝีมือนะ”

😇#ท่านย่า: “ฝีมืออย่างเดียวไม่ไหวหรอกว่ะ อายเขาว่ะ แถมบางคนขึ้นไป ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ส่งเสียงดังอีกที่หน้าวิมาน หาย่าไม่เจอ มันก็เรียกท่านย่า ท่านย่า เทวดาองค์อื่นเขาก็แตกตื่นมาดูกันใหญ่ ดูลูกท่านซิพระคุณเจ้า ทั้งๆ ที่ฉันก็นั่งอยู่ข้างในนั่นแหละ มันมองไม่เห็นเรียกเสียงดังเชียว มีอย่างที่ไหนไอ้เรื่องเชย เรื่องเฉิ่ม ยกให้ลูกพระคุณเจ้า”

🙏#หลวงพ่อ: “ไม่ได้เชย ไม่ได้เฉิ่ม เขาเรียกว่า นักแสดงปลุกใจ(ขึ้นไปไหนทีเทวดาแตกตื่นมามุงดู)” (หลวงพ่อแก้แทนลูกๆอีก)

🔱#เรื่องเช่นนี้หลวงพ่อเคยเล่าว่า เวลาพวกฝึก(วิชามโนมยิทธิ)ใหม่ ขึ้นไปทั้งเทวดาทั้งพรหม ทั้งพระอริยะ ลุยแหลก คือจะไปหาพระพุทธเจ้า พระอรหันต์นั่งอยู่กี่องค์ไม่ได้ดู ขอให้ได้เห็นพระพุทธเจ้าก็แล้วกัน ทั้งนี้เพราะสมาธิแคบ ไม่เห็นทั้งหมด 
🔱#พระเดชพระคุณหลวงพ่อจึงได้แนะนำไว้ให้ลูกหลานขอขมาพระรัตนตรัยทุกๆวัน

หลวงพ่อจึงต้องรับแทนว่า “เวลาลูกลิงขึ้นไป อย่าไปว่าอะไรมันเลยนะ”

🔱ถ้าสังเกตดี ไม่ว่าท่านย่าจะว่าอะไรลูกๆหลานๆมา #หลวงพ่อก็จะแก้ให้หมดทุกอย่าง #หรือจากหลายๆบทความที่ท่านย่าและท่านแม่มาบอกเล่าว่า #องค์หลวงพ่อนั้นทั้งรักทั้งห่วงลูกๆ ยิ่งกว่าใครๆ ทั้งรักทั้งห่วง #เป็นแบบนี้มาทุกๆชาติไม่ว่าชาติไหนๆ

🖊️📚ข้อมูลจาก : นิตยสารธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๔๘ ปี ๒๕๒๗
⚜️พระราชพรหมยานเถระ⚜️
🙏หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง🙏

🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย⚜️
🧘จิตหนึ่งประภัสสรสุดยอดคือพระนิพพาน

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ผลของสมาธิ

#ทำสมาธิ ๒๐ #ปีไม่มีผล

   "ลูกทำสมาธิทุกวันๆ ละหนึ่งชั่วโมงเป็นเวลา ๒๐ ปีแล้วเจ้าค่ะ ไม่ไปเหนือมาใต้อะไรเลยไม่ทราบว่าติดขัดอะไร หรือมีกรรมเวรประเภทไหนมาปิดบัง ขอบารมีหลวงพ่อช่วยแก้ไขหน่อยเถิดเจ้าค่ะ...?"
 ▪️สมาธินี้ถ้าทำเฉยๆ ก็ไม่ไปไหนนะ มันก็อยู่แค่ฌาน ถึงฌานหรือเปล่าก็ไม่รู้ น่ากลัวจะไม่ถึงฌาน มันขึ้นชานไม่ไหว เพราะไต่บันไดแกร๊กๆ แต่ความจริงถ้าเรื่องของสมาธิจริงๆ นะถ้าหากว่าได้จริงๆ ก็อยู่แค่ฌาน ๔ ฌาน ๔ แล้วก็ไม่ไปไหนละ ก็ทรงตัวบ้าง เดินหน้าบ้าง ถอยหลังบ้าง ไปข้างหน้า ๑ ก้าว ถอยหลัง ๕ ก้าว

#มุ่งตัดสังโยชน์

ทีนี้ ผลการปฏิบัติจริงๆ เขาไม่ได้มุ่งสมาธิ ต้องหวังตัดสังโยชน์ ถ้าจะบอกว่าวิปัสสนาญาณก็จะมากเกิน
ไป ความจริงถ้ามุ่งตัดสังโยชน์ก็ต้องดูอารมณ์ใจตัวตัด ไม่ใช่ดูสมาธิ
 ▪️อันดับแรก ความโลภ อยากได้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นมีในเราหรือเปล่า เบาลงไปไหม
 ▪️ประการที่ ๒ ความโกรธ เบาลงไหม
 ▪️ประการที่ ๓ ความหลง เบาลงใหม

สิ่งที่มีความสำคัญคือ

  ๑. ลืมความตายหรือเปล่า
  ๒. เคารพพระไตรสรณคมน์จริงจังไหม
  ๓. มีศีล ๕ บริสุทธิ์ไหม
  ๔. หวังพระนิพพานจริงจังหรือเปล่าเขาดูตรงนี้นะ มุ่งเอาสมาธิกลุ้มใจตาย มันไม่มีการทรงตัว เวลาใดร่างกายดี ไม่มีอารมณ์กลุ้ม สมาธิก็ทรงตัวใช่ไหม
ถ้าร่างกายเพลียหน่อยสมาธิก็ทรุดตัว เอาแค่สมาธิก็ไปไม่รอด
   
  "เมื่อภาวนาไปไม่ได้อะไรอย่างนี้ จะมีโอกาสบรรลุธรรมะเบื้องสูงหรือเปล่าเจ้าคะ 
 ▪️ทะลุธรรมะแน่ จุดหมายปลายทางได้ คือ #สังโยชน์ ว่าตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น
 
   พอจะไปได้ไหมครับหลวงพ่อ..?
 ▪️พอเห็นทาง แต่ไม่เข้าทาง

  "๒๐ ปีแล้วนะครับหลวงพ่อ...?"
 ▪️๑๐๐ ปีก็ไม่ได้ ถ้าเข้าทางจริงต้องคิดว่า

  ๑.​ ชีวิตนี้จะต้องตาย นี่​ต้องตัดตัว #สักกายทิฏฐิ นะ
  ๒. ตัด #วิจิกิจฉา ไม่สงสัยในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์
  ๓. มีศีล ๕ บริสุทธิ์
  ๔. แล้วก็จิตมุ่งเฉพาะพระนิพพานอันนี้ถึงจะได้ อันนี้ถึงจะเข้าทางหรือเข้าเขตเลย...สวัสดี*

🙏🙏พระธรรม​คำ​สอน​หลวงพ่อ​พระราช​พรหมยาน​ วัดจันทาราม(ท่าซุง)​ ต.น้ำซึม​ อ.เมือง​ จ.อุทัยธานี
🖊️📖หนังสือ​ธัมมวิโมกข์​ หน้า๘๑~๘๒
ปีที่​ ๓๒​ ฉบับ​ที่​ ๓๖๕​ สิงหาคม​ ๒๕๕๔

🖊️นภา​ อิน​ 🙏🙏

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563

พระอรหันต์ทุกประเภท


"พระอรหันต์ทุกประเภท
" บรรลุทั้ง "เจโตวิมุตติ 
ทั้งปัญญาวิมุตติ"

"พระอรหันต์ทั้งหลาย" 
ไม่ว่าประเภทใด 
"ย่อมบรรลุ" ทั้ง 
"เจโตวิมุตติ 
ทั้งปัญญาวิมุตติ" 
ที่ปราศจาก 
"อาสวะในปัจจุบัน" 
หาได้แบ่งแยก ไว้ว่า 
"ประเภทนั้นบรรลุ
แต่เจโตวิมุตติ 
หรือปัญญาวิมุติไม่".

ที่เกจิอาจารย์
แต่งอธิบายไว้ว่า 
"เจโตวิมุตติ" 
เป็นของพระอรหันต์
ผู้ได้สมาธิก่อน 
"ส่วนปัญญาวิมุตติ" 
เป็นของ
 "พระอรหันต์สุกขวิปัสสก" 
ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้น 

"ย่อมขัดแย้งต่อมรรค"
 มรรคประกอบด้วย
องค์ ๘ มีทั้ง สัมมาทิฏฐิ 
ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะ
 “บรรลุวิมุตติธรรม” 
จำต้องบำเพ็ญ
 “มรรค ๘ บริบูรณ์” 
มิฉะนั้นก็บรรลุ
วิมุตติธรรมไม่ได้.

"ไตรสิกขา" 
ก็มีทั้ง 
"สมาธิ ทั้งปัญญา" 
อันผู้จะได้
 "อาสวักขยญาณ" 
จำต้องบำเพ็ญ 
"ไตรสิกขา" 
ให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน. 

ฉะนั้นจึงว่า 
"พระอรหันต์
ทุกประเภท" 
ต้องบรรลุทั้ง 
"เจโตวิมุตติ 
ทั้งปัญญาวิมุตติ" 
ด้วยประการฉะนี้แลฯ

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

https://timeline.line.me/post/_dXlXdS_RoITFgG9LopVDmQT6B0G1K5G9YSe86NA/1159729318108062896

กำเนิดชีวิต

กำเนิดชีวิต  อันมีธาตุดินกับน้ำ ธาตุตั้งต้น เมื่อผสมถูกส่วน  ธาตุไฟของจิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ  จึงเกิดธาตุลม ขับเคลื่อนสืบต่อเนื่องครบวงจรการดำเนินชีวิต  หากธาตุลมหยุดเดิน จิตก็อยู่ไม่ได้ จิตต้องออกไปคือการตาย น้ำก็ไหลออกตามมา ดินก็คืนสู่ธาตุเดิม ต่างก็สลายไป คือการแยกประชุมธาตุ แต่จิตยังต้องเดินทางต่อไปตามวิบากกรรมของตน

การกระทำสิ่งดี ไม่ดี ทั้งหลาย ต่างก็นำธาตุของพ่อ แม่ ไปก่อกรรมทำดีด้วย จึงพึ่งระลึกเสมอว่า จะตอบแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างไร และจะตอบแทนบุยคุณแผ่นดินที่ได้อยู่อาศัยนี้อย่างไร สุดท้ายเหลือแต่ความว่างเปล่า เหลือแต่ความดีงาม บุญกุศลที่ติดตามจิตไปเท่านั้น 

เรื่อง "กายอันนี้เป็นมูลมรดกจากบิดามารดา"

(คติธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

นะ เป็นธาตุของมารดา โม เป็นธาตุของบิดา

“ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นาม ว่า “กลละ” คือน้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ “นโม” นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว “กลละ” ก็ค่อย เจริญขึ้นเป็น “อัมพุชะ” คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น “ฆนะ” คือเป็นแท่ง และ เปสี คือ ชั้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑

ส่วนธาตุ “พ” คือลม “ธ” คือไฟนั้น เป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตายลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็น "ธาตุอาศัย" ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นดั้งเดิม

ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้ว ก็ต้องอาศัย “น” มารดา “โม” บิดาเป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดา ว่า “ปุพพาจารย์” เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดา จะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้ กล่าวคือ รูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง

ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่า
ไม่มีอะไรเลย เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น “มูลมรดก” ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง นโม ท่านแปลว่า นอบน้อมนั้นเป็นการแปล เพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน ทำการฝึกหัดปฏิบัติตน ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

นโม เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้คือ เอาสระอะ จากตัว “น” มาใส่ตัว “ม” เอาสระโอ จากตัว “ม” มาใส่ตัว “น” แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่า ใจ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ทั้งกายทั้งใจ เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้

มโน คือใจนี้ เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่
จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมดได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา

ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ คือมหาฐานนี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก นโม แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมบัติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกไปจากนโมทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติ บัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะ จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลงถือว่าตัวเป็นเราเป็นของเราไปหมด"

(คัดบางส่วนจากหนังสือ "มุตโตทัย")

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2563

#พุทธมารดา

“ แม่ ” หรือ “ มารดา ” คำคำนี้เป็นคำสูง เป็นมงคลแห่งคำอันควรเทิดไว้เหนือบรรดาคำทั้งปวงในภาษาศาสตร์

คำว่า “ แม่ ” จะฟังดูยิ่งใหญ่ที่สุดในตอนไหน อาจตอบได้ว่า ในตอนที่ลูกนอนป่วย อยู่คนเดียวที่ไหนสักแห่งหนึ่งในโลกซึ่งไร้ผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด กับในตอนที่ต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองไปตกระกำลำบากอยู่ในบ้านอื่นเมืองไกล ซึ่งมองไปทางไหนก็ไม่มีใครที่เคยรู้จักมักคุ้นสักคน และอีกตอนหนึ่งซึ่งจะชัดเจนเห็นพระคุณแม่มากที่สุด ก็คือตอนที่กุลสตรีทั้งหลายกลายสถานภาพมาเป็น “ แม่คน ” ด้วยตนเองดูบ้าง หลังจากที่เป็นคน “ มีแม่ ” มาก่อนหน้านั้นนานแล้ว กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า เมื่อเป็น “ แม่คน ” จึงเข้าใจ “ แม่ตน ” นั่นเอง

พระพุทธองค์ทรงยกย่องพระพุทธมารดามาก ทั้งในทางคำสอนและในทางพระจริยวัตรที่ประทับไว้เป็นรอยแห่งความดีให้อนุชนเจริญรอยตาม ในแง่จริยวัตรนั้นปรากฏว่า ในพรรษาหนึ่งซึ่งเป็นช่วงต้นพุทธกาล พระองค์ถึงกับเสด็จขึ้นไปแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาแล้ว เคยมีนักศึกษาคนหนึ่งถามผู้เขียนว่า เรื่องนี้เป็นไปได้อย่างไร สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไม่น่าจะมีจริง ผู้เขียนถามกลับไปว่า เธอเอาอะไรมาวัดว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไม่มีอยู่จริง นิสิตคนนั้นอึ้งไป ความจริงเรื่องที่เราควรสนใจกันมากกว่าเรื่องความมีอยู่ของสวรรค์ก็คือ การมองให้ทะลุถึงแก่นของคติที่ว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่างหาก

ต่อปัญหานี้ผู้เขียนอยากจะถอดรหัสเสียใหม่ว่า พระพุทธจริยาในตอนนี้ท่านคงไม่ต้องการมุ่งแสดงให้เห็นว่า การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์นั้น มีความสมจริงหรือไม่สมจริงหรอก แต่สิ่งที่ท่านต้องการแสดงให้ชาวโลกเห็นก็คือ พระพุทธองค์ทรงต้องการจะบอกพวกเราว่า ขนาดพระมารดาของพระองค์นั้นแม้จะเสด็จสวรรคตไปอุบัติเป็นเทพอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้วก็ตาม ( เวลาฟังธรรมเสด็จลงมาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ) สถานที่หรือภพที่พุทธมารดาประทับอยู่กับสถานที่หรือภพซึ่งพระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์โลดแล่นอยู่ซึ่งคือโลกของเรานั้น แม้จะอยู่กัน ” คนละภพ - คนละมิติ ” ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น “ ความต่างแห่งภพ ” ก็หาได้เป็นอุปสรรคแห่งความกตัญญูที่บุตรจะพึงตอบสนองต่อผู้เป็นมารดาของตนแต่อย่างใดไม่

พูดให้ฟังง่ายกว่านั้นก็คือ แม้แม่ของพระองค์จะตายไปอยู่ไกลกันคนละภพคนละโลกแล้ว แต่พระองค์ก็ยังคงแสวงหาวิธีที่จะทดแทนพระคุณแม่ให้เสร็จสิ้นจนได้ แล้วคนธรรมดาสามัญอย่างเราเล่า อยู่ห่างกับคุณแม่แค่เพียงฝาห้องกั้น อยู่บ้านคนละหลังหรืออยู่ห่างกันแค่ชั่วยกหูโทรศัพท์ถึง ใกล้กันขนาดนี้ ภพเดียวกันขนาดนี้ แต่เราทั้งหลายเคยทำอะไรที่แสดงให้เห็นว่า เราเป็นลูกกตัญญูต่อมารดาบิดา เหมือนอย่างที่พระพุทธองค์ทรงวางพุทธจริยาเอาไว้ให้เห็นบ้างหรือไม่

นั่นเป็นพุทธจริยาของพระองค์ต่อพระพุทธมารดาคนแรก ซึ่งถือกันว่าเป็น “ แม่บังเกิดเกล้า ” แท้ ๆ ของพระองค์ ต่อแม่คนที่สองหรือพระมารดาเลี้ยง ( พระมาตุจฉา ) ที่ชื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีเล่า ในฐานะที่ทรงเป็น “ ลูกเลี้ยง ” ทรงตอบแทนพระคุณพระมารดาเลี้ยงของพระองค์อย่างไร

พุทธประวัติบันทึกเอาไว้ว่า ราวพรรษาที่ ๕ ขณะเสด็จนิวัติพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงมีพระประสงค์จะผนวชเป็นภิกษุณีในพระธรรมวินัย ( พุทธศาสนา ) แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตในทันที ทั้งนี้เพราะทรงตระหนักเป็นอย่างดีว่า การทรงเพศเป็นภิกษุณีเป็นเรื่องฝืนกระแสสังคมในสมัยนั้น และเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อภยันตรายเป็นอันมาก ดังปรากฏในเวลาต่อมาว่า ภิกษุณีรูปหนึ่งซึ่งถึงแม้จะเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตามที กระนั้นก็ยังไม่วายถูกคนใจร้ายปลุกปล้ำข่มขืนจนกลายเป็นเรื่องราวอื้อฉาวในวงการศาสนาขณะนั้น

แต่ในที่สุด ท่ามกลางความยากลำบากในการฝ่าฝืนกระแสสังคมสมัยนั้น พระพุทธองค์ก็ยังทรงเปิดโอกาสให้พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ได้ผนวชเป็นภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นการเปิดศักราชใหม่ให้แก่ “ สิทธิสตรี ” อย่างแท้จริงในเวทีโลกมาตราบจนบัดนี้ และในเวลาต่อมาก็ทรงอนุเคราะห์ทดใช้ค่าน้ำนมให้แก่พระแม่น้าของพระองค์จนหมดหนี้ศักดิ์ต่อกันด้วยการที่ทรงเป็น “ พระบิดา ” ในทางธรรมให้แก่พระนางสมดังคำที่ภิกษุณีมหาปชาบดีโคตมีกราบทูลเล่าเอาไว้ก่อนเสด็จปรินิพพานว่า

“ ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของมหาชนชาวโลก

หม่อนฉันได้ชื่อว่าเป็นพระมารดา ( ในทางรูปกาย ) ของพระองค์

แต่ในขณะเดียวกัน

พระองค์ก็ได้ชื่อว่าเป็นพระบิดา ( ในทางธรรม ) ของหม่อมฉันด้วย

พระองค์ทรงโปรดประทานสุขจากพระสัทธรรม

อันทำให้หม่อนฉันได้ถือกำเนิดขึ้นมาในโลกแห่งพระธรรมอีกครั้งหนึ่ง

หม่อมฉันเองได้อภิบาล พระรูปกาย ของพระองค์ขึ้นมาจนเติบใหญ่

ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้ทรงอภิบาล พระธรรมกาย ( คุณธรรม ) ที่น่ารื่นรมย์ใจของหม่อมฉันให้เจริญวัยไม่น้อยไปกว่ากัน

หม่อมฉันได้น้อมถวายกษีรธาราให้พระองค์ทรงดื่มพอดับกระหายได้เป็นครั้งคราว

แต่พระองค์เล่าก็ได้ทรงโปรดประทานกษีรธารา คือพระธรรมให้หม่อมฉันได้ดื่มดับกระหายได้อย่างเด็ดขาดเช่นเดียวกัน ฉันนั้น ...”

การรู้คุณและแทนคุณมารดาบิดาผู้ให้กำเนิดนั้นเป็นพุทธจริยา หรืออารยวัตร ( ข้อปฏิบัติอันประเสริฐ ) ที่แม้แต่พระพุทธองค์ผู้ทรงเป็นอัครบุคคลของโลกก็ไม่ทรงละเลย วิญญูชนทุกหนทุกแห่ง ทุกศาสนา ทุกวัฒนธรรมในโลกก็ยกย่องสรรเสริญว่า มารดาบิดาเป็นอัครบุคคลที่หาได้ยาก เป็นหนึ่งไม่มีสอง เสียแล้วเสียเลย สิ้นแล้วสิ้นเลย นอกจากนี้แล้วปราชญ์ทั้งหลายยังเห็นตรงกันอีกว่ามารดาบิดาเป็นบุพการีชนที่คนเป็นบุตรธิดา จักต้องตอบแทนพระคุณไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ปรมาจารย์ทางจิตวิญญาณสายตะวันออกอย่างขงจื๊อก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ยกย่องเรื่องความกตัญญูต่อมารดาบิดามาก ท่านสอนศิษยานุศิษย์ว่า

“ นอกจากความเจ็บป่วยอันเป็นสามัญของตนเองแล้ว อย่าได้ทำเหตุอื่นใดอันจะส่งผลให้มารดาต้องน้ำตาตกเป็นอันขาด ”

ท่านพุทธทาสภิกขุก็เคารพนับถือในโยมมารดาของท่านมาก แม้บวชเข้ามาแล้วก็ได้เพียรทดแทนพระโยมแม่ด้วยประการต่าง ๆ เท่าที่สติปัญญาในขณะนั้นจะพึงทำได้ แต่ยังไม่ทันตอบแทนพระคุณของโยมแม่ได้อย่างที่ตั้งใจ โยมแม่ของท่านก็มาจากไปเสียก่อน

“ อาตมามีความเสียใจอยู่อย่างหนึ่ง เสียใจอย่างยิ่งว่า สมัยเมื่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ อาตมาไม่มีความรู้อะไร แม้บวชแล้วก็มีความรู้ธรรมะโง่ๆ เง่าๆ งูๆ ปลา ๆอย่างนั้นแหละ ถ้ามีความรู้อย่างเดี๋ยวนี้จะช่วยแม่ได้มาก ให้พอใจรู้ธรรมะอย่างยิ่ง แต่แม่ชิงตายไปเสียก่อน ก่อนที่อาตมาจะมีความรู้พอจะสอนธรรมะลึกๆให้แม่ได้ นี่เป็นเรื่องที่นึกแล้วก็ว้าเหว่อยู่ไม่หาย ...

อาตมายังคงคาราคาซัง ไม่ได้ให้ความรู้สูงสุดที่พอใจแก่แม่ เพราะว่าแม่ชิงตายเสียก่อน ... แต่แม่ก็สนใจธรรมะเหลือประมาณ แม้แรกบวชแรกเรียนนักธรรมอย่างโง่ๆ ก็อุตส่าห์เขียนส่งไปให้แม่ หรือพูดให้แม่ฟังอยู่เสมอ แต่เป็นความรู้ธรรมะเด็กๆ ทั้งนั้น เดี๋ยวนี้รู้ธรรมะชั้นผู้ใหญ่ แต่แม่ตายเสียแล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ..”

. พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวก ปูชนียบุคคลอย่างท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอาทิยังสู้อุตส่าห์หาวิธีทดแทนพระคุณมารดาจนสุดความสามารถถึงเพียงนี้ แต่กระนั้นท่านก็ยังออกตัวว่าที่ทำมานั้นยังเล็กน้อยเกินไป

ดูเอาเถิด จริยาวัตรอันสูงล้ำด้วยคุณธรรมที่ยอดคน ยอดครู ของโลกปฏิบัติต่อมารดาบังเกิดเกล้าของตน เราปุถุชนคนสามัญ หากตอบแทนพระคุณของแม่ได้น้อยกว่านี้ ( ทั้งๆ ที่มีโอกาสมากกว่า ) ก็นับว่าน่าอาย ที่ได้แต่เอ่ยอ้างว่าตนเป็นศิษย์มีครู แต่หาเจริญรอยตามปฏิปทาแห่งครูของตนให้สมกับที่ชอบเอ่ยอ้างแต่อย่างใดไม่ .

ท่าน ว . วชิรเมธี   

๏๛สาธุ อนุโมทนา วันทามิ๛๏🙏💖