วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567

จุดประสงค์ของทรสมาธินี้คืออะไร

สวัสดีวันนี้ให้จะพูดถึงเรื่องสมาธิ การทำสมาธินั่นน่ะอันดับแรกที่สุด ทุกคนจะต้องรู้จักจุดประสงค์ ว่าจุดประสงค์ของทรสมาธินี้คือ อะไร
ท่านทั้งหลายการทำการทำงาน ตลอดจนกระทั่งทำทุกสิ่งทุกอย่าง เขาก็ต้องรู้จักจุดประสงค์ ถ้าไม่รู้จักจุดประสงค์แล้ว การทำงานก็ไม่สำเร็จ เขาจะทำบริษัทรถยนต์ก็ต้องรู้จักจุดประสงค์ว่าจะต้องการอะไร หรือเขาจะทำไร่ทำนา จุดประสงค์คือต้องการอะไร

การทำสมาธิก็เช่นเดียวกัน จุดประสงฆ์ก็คือ "พลังจิต" ทำไมเราต้องการพลังจิต เพราะว่าพลังจิตเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าพลังจิตนั้นจะเกิดขึ้นจาก "จิตที่เป็นสมาธิ" ก่อนที่จิตจะเป็นสมาธินี่มันจะมีอารมณ์มากมาย เมื่อมีอารมณ์มากมายแล้วจิตมันก็ไม่ใช่เป็นสมาธิ

พอเมื่อเริ่มต้นจะทำสมาธิเราก็ใช้คำบริกรรมจะ "พุทโธ" ก็ได้ หรืออย่างอื่นก็ได้ นึกคำบริกรรมอยู่อันเดียว ไม่ใช่ออกเสียงนึกคำบริกรรม เมื่อนึกคำบริกรรมแล้วอารมณ์ที่มากมายเหลือล้น มันก็เหลืออารมณ์อันเดียวคือ "พุทโธ" เมื่อเหลืออารมณ์อันเดียวคือพุทโธนี้จิตก็เริ่มเป็นหนึ่ง 

เมื่อจิตเริ่มเป็นหนึ่ง "จิตก็เป็นสมาธิ" เมื่อจิตเป็นสมาธิจิตก็ผลิตพลังจิตเป็นอโตมาติก เมื่อผลิตพลังจิตแล้วพลังจิตนั้นก็จะสะสมไว้ที่จิต แล้วก็จะ "ไม่มีวันสูญสลายตัว" เมื่อทำ 2 ครั้ง 3 ครั้ง 4 ครั้ง 100 ครั้ง พันครั้งหรือกี่ครั้งก็ตาม พลังจิตเหล่านี้จะเข้าไปรวมตัวกันเป็นพลังจิต แล้วก็ไม่สูญสลายตัวเพิ่มเติมขึ้นจนกว่าที่จะพอเพียงแก่ความต้องการ

เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วนี่ความสุขก็เกิดขึ้น เขาเรียกว่า ความสุขความปีติ ความความเอิบอิ่ม ความสบาย ความเบาต่างๆ เหมือนลอยไปในอากาศ สิ่งเหล่านี้จะเป็นอานิสงส์ของการทำสมาธิ เหมือนกันกับคนที่รับประทานอาหาร การรับประทานอาหารน่ะมันจะมี "รสอร่อย" แล้วก็จะมีอาหารที่เป็นวิตามินโปรตีนไปบำรุงเลี้ยงร่างกาย

ที่จริงแล้วนั่นรสอร่อยไม่ได้เป็นวิตามินโปรตีน เพียงแต่ว่าชวนให้รับประทานเท่านั้น ส่วนสิ่งที่จะเป็นวิตามินโปรตีนให้แก่ร่างกายนั่นคือ ข้าวปลาอาหาร รับประทานเข้าไปแล้วก็กลายเป็นเลือดเป็นเนื้อเป็นชีวิต อันนั้นเป็นตัวหลัก

เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาที่ทำสมาธิก็เกิดความชื่นชม หรือเกิดความยินดี หรือเกิดความเอิบอิ่ม ความเอิบอิ่มเหล่านั้นนั่นน่ะเป็นผลมาจากสมาธิ หมายความว่าเมื่อทำสมาธิมีพลังจิตแล้วพลังจิตก็กลายเป็น "กระแสจิต"

กระแสจิตนั่นแหละที่ทำให้เรามีความสุขความสบาย และกระแสจิตนั่นเองที่เราเรียกกันว่า "ฌาน" เพราะฉะนั้นฌานมันก็จะต้องมี ที่เอ่อพระพุทธเจ้าได้แสดงไว้ว่า มันมีรูปฌานและอรูปฌาน ฌานตั้งแต่ฌานที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เรียกว่า "รูปฌาน" แล้วฌานต่อไปคือ "อรูปฌาน" นั้นมี อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะ เอ่อเป็นอรูปฌาน

ฌานนั้นจะเกิดขึ้นเองไม่ได้จะต้องมีสมาธิ สมาธิจะต้องผลิตพลังจิต ผลิตพลังจิตพลังจิตก็จะต้อง เอ่อกลายเป็นกระแสจิต กระแสจิตกลายเป็นฌานเป็นตามลำดับไปอย่างนั้น

#จุดประสงค์การทำสมาธิ
#สมาธิ --> #ผลิตพลังจิต --> #กระแสจิต --> #ฌาน

สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
ถอดข้อความจากคลิป: 
สถาบันพลังจิตตานุภาพ สาขา 160 วัดสารนาถธรรมาราม

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567

มรรคมีองค์ 8

**มรรคมีองค์ 8 ย่อลงใน ศีล สมาธิ ปัญญา**
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้

1. **อธิสีลสิกขา** ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ

2. **อธิจิตสิกขา** ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ

3. **อธิปัญญาสิกขา** ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ที่มา
[#พระไตรปิฎก]

ปฏิจจสมุปบาท

“ ปฏิจจสมุปบาท ”
...พุทธทาสภิกขุ 
...สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
.
สิ่งที่เรียกว่า“ชีวิต” เป็นกระแส
ไหลไป เนื่องกัน เปลี่ยนแปลงไป 
เรียกว่า“ปฏิจจสมุปบาท” ไม่มีตัวตนที่แท้จริง
.
.... “ สิ่งที่เรียกว่า “ชีวิต” มันมีกระแส โสตะ...โสตะ หรือ โสดา แปลว่า กระแส หมายความว่า เนื่องกันและไหลไป เนื่องกัน เปลี่ยนแปลงไป เนื่องกันด้วยการเปลี่ยนแปลงไป อย่างนี้เรียกว่า กระแส - โสตะ, 
.... จะต้องรู้จักกระแสแห่งชีวิตโดยตรง ว่ามันเป็นอย่างไร มันเป็นอย่างไรกันก่อน ถ้าว่าจะเอากันตามธรรมดาสามัญ ชาวบ้านทั่วไปก็ไม่ต้องรู้เรื่องอะไรนัก นอกจากทำมาหากิน หาประโยชน์ หาความร่ำรวย หาอำนาจวาสนา แล้วมันก็จะพอ แต่เดี๋ยวนี้เราต้องการที่มันประณีตละเอียดสุขุมมากกว่านั้น คือ กระแสของชีวิตที่เยือกเย็น เราต้องรู้มากกว่าที่ชาวบ้านคนเดินถนนเขารู้กัน จึงมีการศึกษาสิ่งที่ควรจะรู้ ก็คือ สิ่งที่เป็นหัวข้อที่เราศึกษาเล่าเรียนกันนั่นแหละ แต่ว่าเป็นชั้นลึก เรียกว่า “ปรมัตถ์” จะแจกออกไปให้เห็นชนิดที่ถูกต้องและเพียงพอสัก ๕ หัวข้อ 
.... ขอให้ฟังให้ดี จำไว้ให้ได้ คือคําว่า “ธาตุ” ธา-ตุ ธาตุตามธรรมชาติ แล้วธาตุก็ปรุงให้เกิดมี “อายตนะ” อายตนะภายในด้วยภายนอกด้วย อายตนะก็ปรุงให้มีสิ่งที่เรียกว่า “ขันธ์” ขันธ์ทั้ง ๕ ในสิ่งที่เรียกว่าขันธ์นั้นมีกระแสแห่ง “ปฏิจจสมุปบาท” เป็นเรื่องข้อที่ ๔ ใน ปฏิจจสมุปบาท นั้นมีสิ่งเลวร้ายอยู่โดยเฉพาะ คือ “ความทุกข์” ..ความทุกข์
.... ดังนั้น เราจึงต้องเรียนกัน ๕ หัวข้อเป็นอย่างน้อย เรื่องธาตุ เรื่องอายตนะ เรื่องขันธ์ แล้วก็ เรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วก็ เรื่องทุกข์ 
.... บางคนอาจจะคิดว่า โอ๊ะ! จู้จี้ พิรี้พิไร อะไรก็ไม่รู้ ไม่อยากจะสนใจ มันก็ไม่รู้ ถ้าเมื่อไม่อยากจะสนใจมันก็ไม่รู้ แลเห็นว่าเป็นเรื่องครึคระ เป็นเรื่องของชาววัด ก็ยังไม่ต้องการจะรู้ ก็เลยไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่า “ชีวิต” หรือ กระแสทางดำเนินของสิ่งที่เรียกว่า “ชีวิต”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยายอบรมนวกภิกษุในพรรษา ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๓ ณ สวนโมกขพลาราม หัวข้อเรื่อง “การควบคุมกระแสแห่งชีวิต” พิมพ์ในหนังสือชุดหมุนล้อธรรมจักร เล่มชื่อว่า “กระแสชีวิต” หน้า ๘๖-๘๗
---------------------------------------
.
จะควบคุมกระแสปฏิจจสมุปบาทไม่ให้เกิดทุกข์
คือ..อย่าโง่เมื่อมีผัสสะ (เมื่ออารมณ์กระทบ)
.
…. “ปฏิจจสมุปบาท” นั่นแหละ คือเรื่องตัวชีวิตตัวเรา แล้วก็ถูกให้ความหมายผิดๆว่า “ตัวกู ตัวกู” แต่ที่ถูกนั้นไม่ใช่ตัวกู เป็นเพียง“กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท” เกิดขึ้นตามกฎของธรรมชาติ โดยอาศัยธาตุทั้ง ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ - ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ คือธาตุทั้ง ๖ มันทําให้เกิดอัตตภาพร่างกายนี้ขึ้นมา แล้วก็เป็นที่ตั้งแห่งกระแสของปฏิจจสมุปบาทตามกฎของธรรมชาติ ถ้ารู้จักตัวเองหรืออัตภาพของตัวเองเพียงเท่านี้ ก็จะดับทุกข์ได้ เป็นความจริงที่ลึกซึ้ง เพราะว่าเมื่อเห็นความจริงข้อนี้แล้ว มันดับทุกข์ได้นี่...
…. ทีนี้ มันก็มีปัญหาอยู่ที่ว่า จะควบคุมกระแสปฏิจจสมุปบาทได้อย่างไร ก็คือว่า อย่าให้โง่เมื่อผัสสะ #จะควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทไม่ให้เกิดความทุกข์ก็คือ“อย่าโง่”เมื่อผัสสะ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ และผัสสะ และจะมีเวทนา นั่นนะ ตรงที่ผัสสะนะ ควบคุมไว้ได้อย่าให้มันโง่ ให้มันเป็นผัสสะฉลาด ผัสสะฉลาดเรียกว่า “วิชชาสัมผัส” คือสัมผัสด้วยวิชชา ถ้าไม่อย่างนั้นมันโง่ เป็นอวิชชา ก็เรียกว่า “อวิชชาสัมผัส”
.
พุทธทาสภิกขุ
ที่มา : ธรรมบรรยาย หัวข้อเรื่อง “ปฏิจจสมุปบาทที่ควรศึกษา” บรรยายเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๔ จากหนังสือ “ปฏิจจสมุปบาทที่ควรศึกษา” หน้า ๒๗, ๓๑
---------------------------------------
.
“ปฏิจจสมุปบาท” แสดงให้เห็นอะไร?
สิ่งทั้งหลาย คือกระแสเหตุปัจจัย 
มิใช่มีตัวตนที่เที่ยงแท้เป็นจริง
“ หลักปฏิจจสมุปบาท 
แสดงให้เห็นอาการที่สิ่งทั้งหลายสัมพันธ์
เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อกันอย่างเป็นกระแส 
ในภาวะที่เป็นกระแสนี้ 
ขยายความหมายออกไปให้เห็นแง่ต่างๆ ได้ 
คือ
.
… สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์
เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน
… สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์ 
… สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย 
… สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียว 
… สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน 
… สิ่งทั้งหลายไม่มีมูลการณ์ หรือต้นกําเนิดเดิมสุด
.
…. พูดอีกนัยหนึ่งว่า 
อาการที่สิ่งทั้งหลายปรากฏเป็นรูปต่างๆ 
มีความเจริญ ความเสื่อม เป็นไปต่างๆ นั้น 
แสดงถึงสภาวะที่แท้จริงของมันว่า 
เป็น “กระแส” หรือ “กระบวนการ” 
ความเป็นกระแส
แสดงถึงการประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบต่างๆ 
รูปกระแสปรากฏเพราะองค์ประกอบ
ทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน 
กระแสดําเนินไปแปรรูปได้
เพราะองค์ประกอบต่างๆไม่คงที่อยู่แม้แต่ขณะเดียว องค์ประกอบทั้งหลายไม่คงที่อยู่แม้แต่ขณะเดียวเพราะไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน 
ตัวตนที่แท้จริงของมันไม่มีมันจึงขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ เหตุปัจจัยต่างๆสัมพันธ์ต่อเนื่องอาศัยกันจึงคุมรูปเป็นกระแสได้ ความเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องอาศัยกันแสดงถึงความไม่มีต้นกําเนิดเดิมสุดของสิ่งทั้งหลาย
…. พูดในทางกลับกันว่า ถ้าสิ่งทั้งหลายมีตัวตนแท้จริง ก็ต้องมีความคงที่ ถ้าสิ่งทั้งหลายคงที่แม้แต่ขณะเดียว ก็เป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้ เมื่อเป็นเหตุปัจจัยแก่กันไม่ได้ ก็ประกอบกันขึ้นเป็นกระแสไม่ได้ เมื่อไม่มีกระแสแห่งปัจจัย ความเป็นไปในธรรมชาติก็มีไม่ได้ และถ้ามีตัวตนที่แท้จริงอย่างใดในท่ามกลางกระแสความเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างแท้จริงก็เป็นไปไม่ได้ กระแสแห่งเหตุปัจจัยที่ทําให้สิ่งทั้งหลายปรากฏโดยเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ดําเนินไปได้ก็เพราะสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน และสัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน
…. ภาวะที่ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วสลายไป เรียกว่า “อนิจจตา” ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยเกิดสลาย มีความกดดันขัดแย้งแฝงอยู่ ไม่สมบูรณ์ในตัว เรียกว่า “ทุกขตา” ภาวะที่ไร้ตัวตนที่แท้จริงของมันเอง เรียกว่า “อนัตตตา”
…. ปฏิจจสมุปบาทแสดงให้เห็นภาวะทั้ง ๓ นี้ในสิ่งทั้งหลาย และแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนปรากฏรูปออกมาเป็นต่างๆ ในธรรมชาติ
…. สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏมี จึงเป็นเพียงกระแสความเป็นไปแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา อาจเรียกสั้นๆ ว่า “กระบวนธรรม” ซึ่งถือได้ว่าเป็นคําแปลของคําบาลีที่ท่านใช้ว่า “ธรรมปวัตติ” ( ธมฺมปฺปวตฺติ )
…. ภาวะและความเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนี้ มีแก่สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรม ทั้งที่เป็นนามธรรม ทั้งในโลกฝ่ายวัตถุ ทั้งแก่ชีวิตที่ประกอบพร้อมด้วยรูปธรรมนามธรรม โดยแสดงตัวออกเป็นกฏธรรมชาติต่างๆ คือ
… ธรรมนิยาม กฎความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล 
… อุตุนิยาม กฎธรรมชาติฝ่ายอนินทรียวัตถุ 
… พีชนิยาม กฎธรรมชาติฝ่ายอินทรียวัตถุรวมทั้งพันธุกรรม 
… จิตตนิยาม กฎการทํางานของจิต และ..
… กรรมนิยาม กฎแห่งกรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องความสุขความทุกข์ของชีวิต และเป็นเรื่องที่จริยธรรมจะต้องเกี่ยวข้องโดยตรง
…. เรื่องที่ควรย้ำเป็นพิเศษ เพราะมักขัดกับความรู้สึกสามัญของคน คือ ควรย้ำว่า กรรมก็ดี กระบวนการแห่งเหตุผลอื่นๆ ทุกอย่างในธรรมชาติก็ดี เป็นไปได้ก็เพราะสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง (เป็นอนิจจัง) และไม่มีตัวตนของมันเอง (เป็นอนัตตา) ถ้าสิ่งทั้งหลายเป็นของเที่ยง มีตัวตนจริงแล้ว กฎธรรมชาติทั้งมวลรวม ทั้งหลักกรรมย่อมเป็นไปไม่ได้ นอกจากนั้น กฎเหล่านี้ยังยืนยันด้วยว่า ไม่มีมูลการณ์หรือต้นกําเนิดเดิมสุดของสิ่งทั้งหลาย เช่น พระผู้สร้าง เป็นต้น
.
ความหมายของ เหตุ และ ปัจจัย
เบื้องแรกควรเข้าใจความหมายของถ้อยคําเป็นพื้นไว้ก่อน
ในที่ทั่วไป หรือเมื่อใช้ตามปกติ คําว่า “เหตุ” กับ “ปัจจัย” ถือว่าใช้แทน กันได้
แต่ในความหมายที่เคร่งครัด ท่านใช้ “ปัจจัย” ในความหมายที่กว้าง แยกเป็นปัจจัยต่างๆ ได้หลายประเภท ส่วนคําว่า “เหตุ” เป็นปัจจัยอย่างหนึ่ง ซึ่งมีความหมายจํากัดเฉพาะ กล่าวคือ
…. “ปัจจัย” หมายถึง สภาวะที่เอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เปิดโอกาส เป็นที่อาศัย เป็นองค์ประกอบร่วม หรือเป็นเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะให้สิ่งนั้นๆเกิดมีขึ้น ดําเนินต่อไป หรือเจริญงอกงาม
…. ส่วนคําว่า “เหตุ” หมายถึง ปัจจัยจําเพาะ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดผลนั้นๆ
…. “เหตุ” มีลักษณะที่พึงสังเกต นอกจากเป็นปัจจัยเฉพาะ และเป็นตัวก่อให้เกิดผลแล้ว ก็มีภาวะตรงกับผล (สภาวะ) และเกิดสืบทอดลําดับ คือตามลําดับก่อนหลังด้วย
…. ส่วน “ปัจจัย” มีลักษณะเป็นสาธารณะ เป็นตัวเกื้อหนุนหรือเป็นเงื่อนไข เป็นต้น อย่างที่กล่าวแล้ว อีกทั้งมีภาวะต่าง (ปรภาวะ) และไม่เกี่ยวกับลําดับ (อาจเกิดก่อน หลัง พร้อมกัน ร่วมกัน หรือต้องแยกกันไม่ร่วมกันก็ได้)
…. ตัวอย่างเช่น เม็ดมะม่วงเป็น “เหตุ” ให้เกิดต้นมะม่วง และพร้อมกันนั้น ดิน น้ำ อุณหภูมิ โอชา (ปุ๋ย) เป็นต้น ก็เป็น “ปัจจัย” ให้ต้นมะม่วงนั้นเกิดขึ้นมา 
…. มีเฉพาะเหตุคือเม็ดมะม่วง แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องไม่พร้อม หรือไม่อํานวย ผลคือ ต้นมะม่วงก็ไม่เกิดขึ้น”
.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต )
ที่มา : จากหนังสือ “พุทธธรรม ฉบับเดิม” หน้า ๙๑-๙๓ , ๑๙๘
# ท. ส. ปัญญาวุฑโฒ – รวบรวม. #

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2567

#เรื่องวันข้าวประดับประดิน#

หลวงปู่ชา สุภัทโท เทศนา...
#เรื่องวันข้าวประดับประดิน#
  • อย่างวันนี้แหละที่เรียกว่า วันข้าวประดับประดิน บรรพบุรุษของเราทั้งหลาย ที่บ้านเรา ที่ต้องห่อข้าว ห่อข้าวเล็ก ๆ กล้วยบ้างข้าวบ้างอะไรบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ห่อเสร็จแล้วก็เอาไปวางไว้บริเวณวัดบริเวณหน้าวัดต่าง ๆ เพื่อคิดว่าจะให้ผีพ่อผีแม่นั้นมากิน อืม เป็นธรรมดา เป็นธรรมเนียมของพวกเราทั้งหลาย ทำมาก็เพราะอะไร เพราะเป็นอนุสติ ความระลึกถึงผู้มีพระคุณ แต่ไม่รู้จักว่าจะทำอย่างไร ก็เลยทำปีหนึ่งผ่านไป นึกถึงบิดามารดา ท่านเคยพาทำก็เลยทำ ก็เลยเอาแกง เอาส้ม เอาข้าว เอาหวาน เอาอะไรต่าง ๆ พากันห่อแล้วไปวางไว้

ตามภาษาบุญชนิดนี้เรียกว่าข้าวประดับประดิน ข้าวประดับดิน คือทำบุญอุทิศให้ผีพ่อผีแม่เรา ซึ่งเรามาควรนึกดูว่าในหนึ่งปีเราเอาให้กินหนึ่งครั้ง มันจะเหลืออยู่มั๊ย?!! และให้กินนิดเดียวด้วยซ้ำ ห่อใส่ใบตองกล้วยห่อเท่าสองสามนิ้วนี่ กล้วยลูกหนึ่งก็ตัดสี่ชิ้นห้าชิ้น แล้วให้กินเพื่ออุทิศให้ ผีพ่อผีแม่ผีปู่ย่าตายายเรากิน ปีหนึ่งทำครั้งหนึ่งน่ะ

  ถ้าหากว่าเรารอเอาบุญตอนตาย ถ้าเขาห่อให้เรากินแบบนี้ มันจะเป็นอย่างไร??!! หือ!! นี่แหละ การกระทำบุญให้ทานนั้น ให้เราวิจัย ให้เราพิจารณา ฉะนั้นบุญกุศลอันนี้ ให้พวกเราถือเสียว่า ให้ทำเอาตอนแต่เมื่อเรามีชีวิตอยู่ บางคนทอดธุระ น่ะ หาข้าวของเงินทอง ให้ลูกหลาน เพื่อไปสร้างบุญสร้างกุศลให้ แล้วก็ตายไปเฉย ๆ เพื่อให้เขาทำให้ คนนี้คิดผิดมาก ไม่มีที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้ทำบุญตอนตาย ให้บุคคลอื่นทำให้นั้นไม่มี ไม่ใช่เรื่องอะไรหรอก

เรื่องการทำบุญให้คนตายนั้น มันก็เป็นกตัญญูกตเวที แก่บุคคลที่มีคุณ จะให้มันเต็มเม็ด เต็มหน่วยนั้น ไม่มีหรอก พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สรรเสริญ ถึงแม้ว่าฟังพระธรรมเทศนาก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เกี่ยวถึงคนตายฟังธรรม ฟังเทศน์ ท่านไม่ได้เกี่ยว เพราะมันฟังไม่เป็น..ฯ|.

ธรรมเทศนา
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

**แม่ที่มีลูกเป็นพระอรหันต์ถึง ๗ องค์**

**พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรนิพพาน**

ในปัจฉิมโพธิกาล ขณะที่พระบรมศาสดาประทับ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี
พระสารีบุตรถวายวัตปฏิบัติแด่พระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลลาไปสู่ที่พักของตนนั่งสมาธิเข้า
สมาบัติ เมื่อออกจากสมาบัติแล้วพิจารณาตรึกตรองว่า **“ธรรมดาประเพณีแต่โบราณมา พระบรม
ศาสดาทรงนิพพานก่อน หรือพระอัครสาวกนิพพานก่อน”** ก็ทราบแน่ชัดในใจว่า **“พระอัครวาวก
นิพพานก่อน”
**จากนั้นได้พิจารณาอายุสังขารของตนเองก็ทราบว่า **“จะมีอายุดำรงอยู่ได้ อีก ๗ วัน เท่า
นั้น”** จึงพิจารณาต่อไปว่า **“เราควรจะไปนิพพานที่ไหนดีหนอ**

และพระเถระ **ก็นึกถึงพระราหุลว่า พระราหุล**

**ไปนิพพานที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ดาวดึงส์เทวโลก
พระอัญญาโกณฑัญญะ ไปนิพพานที่สระฉัททันต์ ป่าหิมพานต์**”

ลำดับนั้น พระเถระได้ปรารภ
ถึงมาดาของตนว่า:-
“**มารดาของเรานี้ ได้เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์** **ถึงกระนั้นก็ยังไม่เลื่อมใสใน
พระรัตนตรัย แล้วอุปนิสัยมรรคผลจะพึงมีแก่มารดาของเราบ้างหรือไม่หนอ**”

ครั้นพระเถระพิจารณาไปก็ได้ทราบว่า **“มารดานั้นมีอุปนิสัยแห่งพระโสดาบัน**” **จึงตก
ลงใจที่จะไปนิพพานที่บ้านของตน เพื่อโปรดมารดาเป็นวาระสุดท้าย**

เมื่อคิดดังนี้แล้ว พระเถระได้สั่งให้พระจุนทะ ผู้เป็นน้องชาย ให้ไปแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้เป็นศิษย์ว่า “จะไปเยี่ยมมารดาที่นาลันทา ขอให้ภิกษุทั้งหลายเตรียมบริขารให้พร้อม เพื่อเดิน
ทางไปด้วยกัน” จากนั้นพระเถระ ก็ทำความสะอาดปัดกวาดกุฏิที่พักอาศัยของตน แล้วออกมายืน
ดูข้างนอก พลางกล่าวว่า “การได้เห็นที่พักอาศัยครั้งนี้เป็นปัจฉิมทัศนา โอกาสที่จะได้กลับมา
เห็นอีกนั้นไม่มีอีกแล้ว” เมื่อพระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็พาพระ
สงฆ์เหล่านั้นไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลลาว่า:-

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้ ชีวิตของข้าพระองค์เหลืออีก ๗ วัน เท่านั้น ข้าพระองค์ขอ
ถวายบังคมลาปรินิพพาน ขอพระองค์ทรงพระกรุณาอนุญาตให้ข้าพระองค์สละอายุสังขารใน
ครั้งนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า”
**“สารีบุตร เธอจะไปนิพพานที่ไหน ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์จะไปนิพพาน ณ ห้องที่ข้าพระองค์เกิดในเมืองของ
มารดา พระเจ้าข้า”
**“สารีบุตร เธอจงกำหนดการนั้นโดยควรเถิด สารีบุตร บรรดาภิกษุน้อย ๆ ของเธอ จะ
ได้เห็นพี่ชายดุจเธอนั้นได้ยากยิ่ง เธอจงแสดงธรรมอันเป็นที่ต้องแห่งความระลึกแก่ภิกษุน้อง ๆ
ของเธอเหล่านั้นเถิด”
พระเถระเมื่อได้รับพุทธประทานโอกาสเช่นนั้น **จึงแสดงปาฏิหาริย์ เหาะขึ้นไปบน
อากาศสูง ๑ ชั่วลำตาล จนถึง ๗ ชั่วลำตาลโดยลำดับ แล้วกลับลงมาถวายบังคมพระบรมศาสดา
ในแต่ละครั้ง จากนั้นจึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ ท่ามกลางอากาศแล้วลงมาถวายบังคมลา
พระผู้มีพระภาค คลานถอยออกจากพระคันธกุฎี
**ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จลุกออกมาส่งพระเถระ ถึงหน้า
พระคันธกุฎี พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กระทำประทักษิณเวียน ๓ รอบ ประคองอัญชลี
นมัสการทั้ง ๔ ทิศ พลางกราบทูลลาว่า:-

“**ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในที่สุดอสงไขยแสนกัปล่วงมาแล้ว ข้าพระองค์ได้หมอบลง
แทบพระบาทแห่งอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตั้งปณิธานปรารถนาพบพระองค์ และแล้ว
มโนรถของข้าพระพุทธเจ้า ก็สำเร็จสมประสงค์ ตั้งแต่ได้เห็นพระองค์เป็นปฐมทัศนา บัดนี้ การ
ได้เห็นพระองค์ ผู้เป็นนาถะของข้าพระพุทธเจ้าเป็นปัจฉิมทัศนา โอกาสที่จะได้เห็นพระองค์ ไม่
มีอีกแล้ว”
**พระเถระ กราบทูลเพียงเท่านี้แล้ว ถวายบังคมออกไปได้ระยะพอสมควรก้มกราบ
นมัสการลงที่พื้นพสุธา บ่ายหน้าออกจากพระเชตะวันมหาวิหารพร้อมด้วยภิกษุผู้เป็นบริวาร
๕๐๐ องค์

ท่านพระเถระเดินทาง ๗ วัน ก็ถึงบ้านนาลันทา หยุดพักภายใต้ร่มไม้ใกล้หมู่บ้านนั้น
และในเย็นวันนั้น อุปเรวัตตกุมาร ผู้เป็นหลานชายของท่าน ออกมานอกบ้านพบท่านแล้วจึงเข้า
ไปนมัสการ

**พระเถระสั่งหลานชายให้ไปแจ้งแก่โยมมารดาให้ทราบว่า “ขณะนี้ท่านมาพักอยู่
นอกบ้าน ให้จัดห้องที่ท่านเกิดไว้ให้ท่านด้วย”
**ฝ่ายนางพราหมณี มารดาของพระเถระได้ทราบข่าวก็ดีใจคิดว่า **“ลูกชายบวชตั้งแต่หนุ่ม
คงจะเบื่อหน่ายแล้วมาสึกเอาตอนแก่”**จึงสั่งให้คนรีบจัดห้องให้พระลูกชายพัก และสถานที่
สำหรับพระสงฆ์ที่ติดตามมาด้วยเหล่านั้น เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงให้อุปเรวัตตกุมารไปนิมนต์
พระเถระพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เข้ามาในบ้าน

**เทศน์โปรดโยมแม่แล้วนิพพาน
**ในราตรีนั้น พระเถระเกิดอาพาธอย่างแรงกล้า ถึงกับอาเจียนและถ่ายออกมาเป็นโลหิต
แต่ก็อดกลั้นด้วยขันติธรรม ได้แสดงธรรมโปรดมารดาพรรณา พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ
และพระสังฆคุณ **ยังมารดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา**
ได้ชื่อว่ากระทำปฏิการะสนองคุณมารดาดังที่ตั้งใจมา ปิดประตูนรก เปิดประตูสวรรค์ ให้แก่
มารดาได้สำเร็จ

ลำดับนั้น พระเถระบอกให้โยมมารดาออกไปข้างนอกแล้วถามพระจุนทะน้องชายว่า
“ขณะนี้เวลาล่วงราตรีสู่ยามที่เท่าไร ?” พระจุนทะน้องชายตอบว่า “ใกล้รุ่งสว่างแล้ว” จึงสั่งให้
ไปบอกแก่ภิกษุทั้งหลายให้มาประชุมพร้อมกัน เมื่อทุกท่านมาพร้อมแล้ว ขอให้พระจุนทะช่วย
พยุงกายลุกขึ้นนั่งแล้วกล่าวว่า:-

“ดูก่อนอาวุโส ท่านทั้งหลายติดตามข้าพเจ้ามาเป็นเวลา ๔๔ พรรษา แล้ว กายกรรม
และวจีกรรมอันใดของเรา ที่ท่านทั้งหลายมิชอบใจหากจะพึงมีขอท่านทั้งหลาย จงงดอดโทษ
กรรมอันนั้นแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
ภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นศิษย์ ตอบพระเถระว่า:-

**“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ติดตามท่านดุจเงาตามตัว มาตลอดกาลประมาณ
เท่านี้ กรรมอันใดของท่านที่มิชอบใจแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายนั้นไม่มีเลย แต่หากว่าข้าพเจ้าทั้งหลาย
มีความประมาทพลาดพลั้ง ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอท่านจงงดอดโทษานุโทษนั้น
แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเถิด”
เมื่อแสงเงินแสงทอง อันเป็นสัญญาณแห่งรุ่งอรุณปรากฏขึ้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร
ก็ดับขันธปรินิพพาน ในวันปุรณมีขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๑๒**

ครั้นเมื่อสว่างดีแล้ว พระจุนทะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์และหมู่ญาติ ประกอบพิธีคารวะศพ
พระเถระแล้วนำไปสู่เชิงตะกอนทำพิธีฌาปนกิจ เมื่อเพลิงดับแล้วพระจุนทะได้นำอัฐิธาตุ และ
บริขารคือบาตรและจีวรของพระสารีบุตร ไปถวายแด่**พระพุทธองค์ ซึ่งก็รับสั่งให้สร้างเจดีย์
บรรจุอัฐิพระเถระที่ซุ้มประตู แห่งพระเชตะวันมหาวิหารนั้น**

ที่มา
[#พระไตรปิฎก](https://www.facebook.com/hashtag

วิธีฝึกตาทิพย์ แบบง่าย ๆ (ฝึกทิพยจักษุญาณ แบบโบราณ )

เรื่อง      🪬   วิธีฝึกตาทิพย์ แบบง่าย ๆ   
          (ฝึกทิพยจักษุญาณ แบบโบราณ )
โอวาท : หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ~พระราชพรหมยานฯ

..." ท่านวางแบบของท่านไว้ว่า.. 

 ให้จัดธูป ๗ ดอก.. เทียนหนัก ๑ บาท ๗ เล่ม.. ดอกไม้ ๗ กระทง.. ข้าวตอก ๗ กระทง.. บาตรใส่น้ำเต็ม ๑ ใบ..

~ ท่านให้ภาวนาด้วยคาถานี้ ตามแต่จะสบาย..

💠️  คาถาภาวนา..

" นะมะพะธะ  พุทโธ  โลกทีปัง  อาโลกกสิณัง  วิโสธายิ

  ธัมโม โลกทีปัง  อาโลกกสิณัง  วิโสธายิ

  สังโฆ โลกทีปัง  อาโลกกสิณัง  วิโสธายิ "

* เมื่อภาวนา จนจุใจแล้ว ท่านให้เอาน้ำมนต์ในบาตรนั้น อาบทุก ๆ วัน  ตามตำราท่านว่า.. ทำอย่างนี้ ๗ วัน ของท่านได้ทิพยจักษุญาณ จงรักษาสมาธิให้ดี..

  ดูของท่านแล้ว ก็ อาโลกกสิณ ดี ๆ นั่นเอง  ถ้าว่าคาถาเป็นนกแก้วนกขุนทอง ไม่มีหวังแน่..  ต้องตั้งอารมณ์ตามแบบกสิณ  มีหวังแน่ตามที่ท่านบอกไว้..."

( จากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดย พระมหาวีระ ถาวโร  ของวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี )

🚩 ขอเชิญฝึกปฏิบัติธรรมในกลุ่ม 
"นิพพานชาตินี้" ทางออนไลน์
💎 เพื่อก้าวเข้าสู่พระอริยบุคคล 
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป 
📝 ฝึกให้ฟรีไม่มีการเก็บเงินเก็บทอง ค่าสอน 
ค่าฝึก ค่าปฏิบัติแม้แต่บาทเดียวครับ 
(#สอนธรรมะออนไลน์ฟรี)
ช่องทางสมัคร เข้าร่วมฝึกปฏิบัติธรรม 
👉 https://lin.ee/gWKFjQE 

#องค์หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ    #กลุ่มนิพพานชาตินี้

ทางเดินของจิต

นักปฏิบัติหลายท่าน เมื่อเจริญกรรมฐานจนจิตสงบ เมื่อปีติ สุข ลมหายใจ กายและความคิดดับสนิท เหลือแต่ ผู้รู้และจิตตั้งมั่น เกิดสภาวะ จิตหดเล็กลงแล้วพุ่งออกไปผ่านรู สว่างไสวเป็นสายยาวดังรูป ลักษณะคล้าย “รูหนอน” (ที่เรียก “รูหนอน” เพราะไม่รู้จะเอาสมมุติบัญญัติใดมาอธิบายสภาวะธรรมนั้น)
บางท่านจิตพุ่งไปไม่สุด “รูหนอน” ก็ถอนจิตกลับมาแต่เมื่อท่านไปจนสุด “รูหนอน” จะพบความว่างที่ไร้สมมุติบัญญัติ ความว่างที่สว่างไสวเกิดจากจิตผสมผสานไปความว่างนั้น เหมือนร่องรอยกลางอวกาศความว่าง ไร้ทิศ ไร้ทาง ไร้กาลเวลา ไม่สัมผัสถึงความรู้สึกทางกาย ลมหายใจ ความคิดใดๆ มีแต่สภาวะรู้และปัญญาสว่างไสวเกิดขึ้นเท่านั้น

ที่มา สมาธิแบบพระพุทธเจ้า